คุยกันเรื่องเดินจงกลม

คุยกันเรื่องเดินจงกลม

360
0
แบ่งปัน

***** คุยกันเรื่องเดินจงกลม ****

ขอสาธุคุณยามเช้า ….

ขอให้ท่านทั้งหลาย ร่ำรวยๆๆๆๆ สถิตย์ลงไปใน
โปรแกรมจิตเถิด

<<ลูกศิษย์: กราบนมัสการและขอสาธุธรรม
เจ้าคะ การเดินจงกรมที่หนูปฎิบัติ หากเพ่งที่การเดิน
มากไป มันจะประคองกายไม่อยู่ มันจะเซ

หากเดินแบบไม่มีสติมันจะเดินได้ แต่จิตไม่ปักอยู่ที่เท้า
มันจะเข้าไปฟุ้งในมโน ไม่เข้าใจว่า ทำไมการตั้งใจที่จะ
เดินจงกรมมีสติในการเดิน แต่มันจะต้องเดินเซทุกรอบ

>>พระอาจารย์: หนูตั้งใจเกินไป แล้วเดินย่องเป็นนกกระยาง มันก็เซเป็นธรรมดา

การตั้งสติไม่ใช่ตั้งอย่างนั้น อย่างนั้นมันตั้งจนเกร็ง เดินธรรมดาก็มีสติ

เดินธรรมดา วางใจระลึกอยู่กับการเดินสบายๆ

เราฝึกสติ เฝ้าด้วยความรู้สึกตัวสบายๆ


<<ลูกศิษย์: กราบนมัสการพระคุณเจ้าและ
ขออนุโมทนาในธรรม ครับ…กราบสาธุๆๆ…

ในส่วนตัวผมแล้วจิตช่วงเดินจงกรมจะอยู่กับตัวเรามาก
กว่านั่งครับ ขณะที่เดินจิตมันก็อยู่แค่นั้นครับ..

อยู่กับกายขณะเดิน..และยืน…บางช่วงก็มีธรรมะโผล่
เข้ามาให้เราพิจารณา..

ผมก็จะหยุดเดินแล้วกำหนด
รู้หนอ..รู้หนอ..ที่ลิ้นปี่…เคยเกิดอาการปิติครั้งเดียว..
มันสะท้านไปทั้งตัว น้ำหูน้ำตาไหล..จากอาการนั้น..

แบบว่ามีความสุขมากครับในช่วงนั้น..ผมก็กำหนดรู้..
สุขหนอ..สุขหนอ…แล้วอาการนั้นก็หายไป

ผมอยากเรียนถามท่านพระอาจารย์ว่า ที่ผมปฏิบัติ
ถูกต้องหรือเปล่าครับ….กราบขอบพระคุณครับ…

<<พระอาจารย์: ก็ไม่ผิดหรอกครับ

การสร้างสติรู้ตัว มันต้องมีปัญญาประกอบ คำว่ารู้หนอนี่ เป็นการระลึกรู้ เแนตัวเตือนสติ เป็นตัวบริกรรม

บางอย่างมันก็รู้อยู่แล้ว เป็นเรื่องง่ายๆเบบี๋ ไม่ต้องสอนไม่ต้องชี้มันก็ได้ มันจะกลายเป็นยึดไป

คำว่ารู้หนอ เราใช้ในขณะที่ใจเรามันเริ่มไหลไปใน
กระแส แบ้วมีสติระลึกขึ้นมาให้ได้

แล้วลด ละ เลิกกระแสที่เป็นภัยและอกุศลนั้นเสีย เป็นการเจริญอิริยาบทในสติปัฏฐานสี่

รู้หนอนี่ เป็นคำบริกรรม เพื่อระลึกเตือนสติของใจตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในสติที่เป็นสัมปชัญญะ

ไม่ใช่งูจงอางเลื้อยขึ้นมา จะมาบอกว่างูจงอางหนอ มันชูคอแล้วหนอ มันจะฉกแล้วหนอ กูจะทำไงดีหนอ มันฉกแล้วหนอ จ๊ากกก … หนอ

แล้วก็ตายห่าไปด้วยความโง่ในหนอ มันไม่ใช่รู้อย่างนั้น รู้อย่างนั้นมันขาดปัญญา

การตั้งต้นบริกรรมกำกับด้วย ทำด้วยมันเป็นเบื้องต้น
ของการฝึกฝน เมื่อชำนาญแล้ว ไม่จำเป็นก็ได้

ให้มีสติและปัญญาสอดส่องลงไป เห็นงูก็เห็นหนอน่ะดี มันเข้ามาแล้วหนอ นี่ก็ดี มันจะฉกกูไม๊หนอ นี่เริ่มโง่แล้ว

เผ่นออกไปก่อนดีกว่าโว๊ย นี่ฉลาดกว่า คำว่าหนอนี้เป็น
การเริ่มต้นที่จะมีการพิจารณาต่อไป เมื่อกระทบกับผัสสะ

เป็นอุบายการเริ่มต้นในการที่จะได้พิจารณา
ไม่ใช่หนอกันไปตลอดชีวิต
หนอตลอดชีวิต เป็นหนอแบบโง่ๆได้


<<ลูกศิษย์: สาธุธรรมเจ้าค่ะ กราบเรียนพระอาจารย์
อธิบายการวางจิตในขณะเดิน เราควรจะเอาจิตไว้ที่
เท้าขณะก้าว สติต้องไปจับอยู่ที่เท้าที่จะก้าวใช่ไหมเจ้าค่ะ

แล้วจะต้องมีองค์บริกรรมหรือไม่ การวางมืือควรจะอยู่
ในท่าอะไร เห็นในรูปพระอาจารย์วางมือไว้ด้านหน้า แต่ที่หนูทำมาจะวางมือไว้ที่ด้านหลัง

ลักษณะมือไขว้หลังวางไว้ตรงกระเบนเหน็บเจ้าค่ะ ผิดถูกอย่างไร กราบเรียนถามเจ้าค่ะ สาธุ

>>พระอาจารย์: การเดินจงกรมโดยเอามือไขว้หลัง ถือเป็นการไม่ให้
เกียรติสถานที่ เขาว่างั้น

การเดินจงกรม เราเดินสบายๆนี่แหละ ไม่ต้องวาง
ท่ามากหรอก มันฝืนธรรมชาติ

เราเดินสบายๆ เดินไปเดินมาพอรู้อารมณ์ในขณะนั้นก็พอ

ฝึกทำความรู้ตัวทั่วพร้อมในการที่จะก้าว จะเดิน
จะหยุด จะหมุน และอิริยาบทขณะเคลื่อนไหว เราทำความรู้สึกแค่นี้

ส่วนการบริกรรม จะพุทธโธ จะสัมมาอรหัง จะก้าวหนอ หรืออะไร นี่เขาเอาคำมากำกับใจ ไม่ให้มันฟุ้งซ่าน

เมื่อใจมันอยู่กับอารมณ์เดียว มันก็ไม่รำคาญและ
วอกแวกกับสิ่งภายนอก

ใจที่มันสงบในเวลาเดิน เมื่อทำการวิปัสนาญาน
มันจะพิจารณาได้ดีกว่าการนั่ง

เพราะการนั่ง เวลาสงบ มันจะสร้างมโนจิตวิปลาศฟุ้ง
ไปเรื่อย

การเดินจงกรม มันก็มีผู้ชี้การวางจิตไปทีละขั้น มันไม่ได้ย่ำอยู่กับที่

แรกๆก็ก้าวอย่างสบายๆ พอจิตสงบ เดี๋ยวมันก็ปรับ
สมดุลย์ของมันเอง

เมื่อสงบ แม้ไม่ได้พิจารณาอะไร แค่เป็นผู้เฝ้ามอง
อาการเคลื่อนแห่งกาย มันก็จะเห็นเวทนา คือ การผัสสะ

มันจะเห็นชัดหมด ทั้งผัสสะทางตา หู กลิ่น
ความรู้สึกกับเรือนกาย และมโนใจ

นี่..อาการเวทนาที่เกิด เราก็จะเห็นและเห็นได้ชัด

คนที่เห็นเวทนาชัด เมื่อทำจนชำนาญ มันก็จะเห็นชัดว่า
เวทนาทั้งหลายที่ผัสสะ มันเกิดจากจิตที่มีผลเป็นเวทนา

เวทนาไม่ได้เกิดจากกาย แต่เวทนาอาศัยกายเพื่อให้
เกิดเวทนา อันเป็นอาการแห่งจิต

นี่..เมื่อรู้จิตจนชำนาญ ปัญญามันก็จะเกิด มันจะเห็นชัด
อีกว่า อาการแห่งจิตที่เป็นโปรแกรมแห่งเวทนา

มันก็อาศัยธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัยเกิดอีก ไม่ใช่จิต
มันเป็น เรียกว่า เห็นธรรมชาติที่มันมีที่มันเป็น
ว่ามันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดเป็นธรรมดาของมัน

นี่..เรียกว่ามองเห็นธรรม

ภาวะธรรมเช่นนี้ อาศัยการเดินจงกรม ตั้งมั่นในหลักแห่งสติปัสฐานสี่

กรรมฐานทั้ง 40 กอง ก็ยกเข้ามาใช้กับการเดินจงกรมได้
ไม่ได้แยกกัน ที่ท่านแยกว่า กรรมฐาน 40 กอง
ใช้สำหรับนั่งทำกรรมฐาน อย่างนี้ไม่ถูก

การเดินก็นำมาใช้ได้ พูดง่ายๆว่า เป็นกองกรรมฐานใน
อิริยาบทสี่ คือ เดิน ยืน นอน นั่ง เอาอิริยาบทใดก็ได้ ตามแต่ถนัดและตามเหตุปัจจัยของสถานการณ์

เพียงแต่เรามันติดการนั่ง เข้าใจว่าการนั่งเป็น
การเจริญสมาธิ เลยพากันนั่งเป็นพวกฤษีที่นั่งไม่รู้
ไม่ชี้กันไป และเสือกมีปัญหาทางด้านความคิดกัน

สติเป็นตัวสอดส่อง ทำให้เกิดองค์ตรัสรู้ ที่เรียกกันว่า โพชฌงค์ จะนั่ง ยืน นอน เดิน เข้าโพชฌงค์ได้ทั้งนั้น ไม่ได้แยก เพียงแค่เริ่มแรกฝึกสร้างสติให้ดีไว้ก่อน..


<<ลูกศิษย์: กราบเรียนถามพระอาจารย์เจ้าค่ะ ว่าเวลาบางทีนั่งอยู่เฉยๆ หรือบางทีตื่นแล้ว แต่ยังไม่ได้ลุกจากเตียง ก็เกิดใจเป็นทุกข์ไม่สบายใจซะงั้นโดยไม่มีสาเหตุ

และเราก็เห็นใจที่เป็นทุกข์ด้วยสติว่า
ใจเป็นทุกข์ แล้วความทุกข์นั้นก็จางหายไป เป็นแบบนี้
เรียกว่าสะภาวะอะไรเจ้าค่ะ กราบสาธุค่ะ

>>พระอาจารย์: ทุกข์นั้นต้องมีสาเหตุ หากไม่รู้เหตุแสดงว่า จิตจับแต่
เรื่องเศร้าหมอง หรือไม่เราก็หยาบเกินไปกว่าจะรู้เหตุ

ธรรมชาติของจิต เมื่อตื่นขึ้นมา หากเอาสติลงไปสอดส่องยามเช้า เรื่องราวทั้งหลายที่ค้างคาใจ มันจะอุบัติขึ้น เราจะรู้เรื่องได้ชัด และแก้ไขลงได้ด้วยกำลังแห่งปัญญา

แต่จู่ๆบอกว่าทุกข์ มันต้องมีเหตุ หากไม่ค้างคาเหตุ ใจมันทุกข์ไม่ได้ มันไม่ใช่วิสัยในธรรมชาติแห่งจิต


<<ลูกศิษย์: พระอาจารย์ หนูขอสอบถามเรื่องปฏิบัติการเดินจงกลมหน่อยคะ

เช้านี้ที่หนูปฏิบัติ ช่วงแรกสติจะจับอยู่ที่เท้าและการเดิน แต่ในมโนมันฟุ้งไปยังเรื่องที่ค้างคา

หนูพยายามดึงสติกลับมาให้อยู่ที่เท้าและการเดิน พอเดินได้ซักพักรู้สึกว่าพื้นมันมีความสูงต่ำ นุ่มนิ่ม ทั้งๆที่ก็เป็นพื้นเรียบๆเช่นเดิม

แต่หนูไม่สนใจเพราะคิดว่า เรามีหน้าที่เดิน นี่คงเป็นอาการหนึ่งของจิต

พอเดินได้สักพักได้ยินท้องมันร้อง เพราะว่าได้เวลาอาหารเช้า

หนูเลยมาพิจารณาถึงอาการหิวว่าเราหิวจริงหรือ เพ่งดูผล สาวไปหาเหตุเรื่อยๆ พระอาจารย์ หนูเลยสงสัยว่านี่เรียกว่าวิปัญสนาญาณ หรือเรียกว่าอาการฟุ้งซ่านกันแน่เจ้าคะ โปรดช่วยชี้แนะด้วยเจ้าคะ

>>พระอาจารย์: ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเลยหนูเอ๋ย อาการของหนูมันเป็นอาการเข้าสู่ปิติจิต มันปรุงแต่งไปอย่างนั้น

เราทำความรู้สึกมาอยู่กับกายที่เดินนี่แหละ อย่างอื่นที่
สัญจรเข้ามากระทบ ถึงรู้ก็ให้มันรู้ไป ไม่ต้องไปกังวลใจ

เอาแค่ทำความรู้ตัวอยู่กับกายที่เดินก็พอ มันจะรู้อื่นด้วย
ก็ช่างมัน เพราะเวลาใจมันสงบ ใจมันก็ยิ่งรู้นี่เป็นธรรมดา

ใจที่มันมีสมาธิ มันจรดจ่ออยู่กับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นก็คือสติ

ที่รู้สึกว่าหิวเพราะใกล้เวลาอาหารเช้านั่น เป็นความฟุ้งซ่าน ที่มันเคยชิน ทางกายวิญญาน

ย่อมแสดงว่า สมาธิยังไม่เกิดเต็มที่เท่าไหร เป็นแค่เอาใจข่มให้มันเป็นสมาธิ มันจึงเป็นอัตตาตัวหนึ่ง แต่ก็ต้องเริ่มจากข่มใจนี่เป็นธรรมดา

การวินิจฉัยผัสสะน่ะเป็นสิ่งดี เพียงแต่กำลังของสมาธิมันน้อย

วันที่ 19 กันยายน 2557