หลากเรื่อง …. ที่ยังสงสัย

หลากเรื่อง …. ที่ยังสงสัย

990
0
แบ่งปัน

…ในทางธรรม แม้เก่งแค่ไหน ของปุถุชน มันก็เหมือนเด็กน้อย สงสัยยังมีอะไรซ่อนอยู่ในทะเล
หลากเรื่อง .... ที่ยังสงสัย
>> ลูกศิษย์ : ไก่…ฟังธรรมเป็น   ครั้งหนึ่งที่เขาสูงใหญ่ ชาวเขาเผ่าทาคาซาน รับรองผู้มาเยือนด้วยไก่สองตัว มันถูกมัดขาอย่างแน่นหนา นอนตะแคงตั้งแต่เที่ยงถึงเช้าอีกวัน…

เราเห็นสงสารมากดึงมันไปที่ร่มๆให้อาหารเย็นจากส่วนของเรา และน้ำ คิดวางแผนกับเพื่อนจะปล่อยมันในตอนดึกๆ แต่ความแตก จึงไม่ได้ปล่อย

เช้าตรู่ปฏิบัติธรรมในส่วนตัวเสร็จก็มา สนทนาธรรมกับไก่ทั้งสอง ประมาณสิบนาที ว่าด้วยเรื่องกรรมและพระบารมีของพระศาสดา ถึงเวลาที่ออกเดินทางแล้วจึงบอกสรุปสั้นๆว่า


” ท่านทั้งสองจงฟังเรา ความตายทุกชีวิตต้องประสบ เพราะกรรมท่านจึงมีสภาพเช่นนี้ ดังนั้นจงภาวนาพร้อมเราด้วยพระนามของพระศาสดา..ประมาณสิบนาที

หลังจากนั้นเราก็บอกว่าในชาตินี้ที่เราสร้างความดี ขอบุญส่งให้ทุกภพชาติของท่านทั้งสองให้พบพระพุทธศาสนา และมีวาสนาบำเพ็ญธรรม..

แล้วเราก็ลุกขึ้นยืนเตรียมเดินจากไป เชื่อหรือไม่ ไก่ทั้งสองลุกขึ้นยืนแหงนหน้ามองเราจนคอตั้งตรง

เรายืนอย่างสงบแล้วมองดูเค้าอย่างเข้าใจแล้วเดินจากไป...กลับมาในตอนหัวค่ำ เค้าทั้งสองอยู่ในหม้อแล้วล่ะ..เราตักชิ้นเนื้อมาเป็นอาหารค่ำส่วนหนึ่ง เพื่อนถามว่า

เคยคิดจะปล่อยแต่ตอนนี้กินเนื้อมัน …เราเฉยไม่จำเป็นต้องตอบ...เพราะเรากินมันเพื่อบำรุงสังขารนี้ให้อยู่ได้เพื่อเรียนธรรมต่อๆ   ไป..จากสังขารของเค้าทั้งสอง(สังขารไก่มีประโยชน์

 

แต่สังขารเราๆท่านๆ  เวลาตายไม่มีประโยชน์..สำคัญตอนเป็น ว่าได้สร้างความดีเพื่อความดี แล้วบ้างหรือยัง)..กราบนมัสการขอบพระคุณ เจ้าค่ะ…กราบ

<< พระอาจารย์ : การได้คุยกับไก่ มันฟังไม่รู้เรื่องหรอก สิริภรณ์

แต่รังสีแห่งความเมตตานี่ซิ มันทำให้ไก่สุขใจ ผู้เฒ่าเอง คุยกับต้นไม้ คุยกับไก่ คุยกับอะไรหลายๆ อย่าง ใช่ว่า เพื่อให้เขาเข้าใจที่เราพูด

แต่การคุยไป มันเป็นสื่อความหมายถึงความเป็นมิตรต่อกัน เราเป็นมิตรกับสรรพสิ่งทั้งโลก เมื่อความเป็นมิตรเกิด การเบียดเบียนกันโดนเจตนา ก็ย่อมไม่มี

เมื่อเจตนาเบียดเบียนกันไม่มี โลกนี้ ต่างก็อยู่กันอย่างผาสุข ความผาสุขแห่งโลก เริ่มที่ใจเรา ใจเราผาสุข มองไปรอบๆ ซิ…โลกนี้ก็ผาสุขเช่นกัน

โลกแห่งความสุข ในความหมาย ที่ท่านกล่าวในยุคของพระศรีอาริย์ คือโลกที่เป็นใจเรา ที่เข้าถึงความเป็นศีล ไม่ใช่โลกภายนอก ที่เป็นสรรพสิ่ง การมองเห็นธรรมรอบๆ ตัว อย่างตรงไปตรงมา มันง่ายสำหรับเรา ผู้อยู่ครองเรือน

ส่วนการฝึกปฏิบัติ เราก็ทำเท่าที่ปัญญาเราจะอำนวย การที่เราเอาธรรมแห่งอริยเจ้ามาเป็นของเรา กำลังเราไม่พอที่จะไปรับธรรมเหล่านั้น

หากเรายอมรับความจริงเช่นนี้้ได้ เราก็รับฟังธรรมแห่งอริยเจ้าได้ เมื่อถึงเวลารอบของมัน จะฝึกหรือไม่ฝึก มันก็เข้าถึงความมีใจเป็นอริยชนได้เช่นกัน สำคัญ มีสติและหัดยอมรับความจริงไว้..

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง มองเห็น สัจธรรม…ท่อนที่ 1 ณ วันที่ 27 เมษายน 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง

>>  ลูกศิษย์  :  การทำสมาธินั้น คือการสร้างเกราะกันกิเลส ยิ่งได้ฌาน จิตจะยิ่งละเอียดและลึกมาก จนกิเลสหรืออารมณ์ใดๆ ไม่สามารถเจาะผ่านหรือเข้าถึงจิตได้…แต่ถ้าโดนกระทบแล้วเกิดอารมณ์ แสดงว่าไม่ได้ทรง….

แต่โดยปรกติของผู้ที่เข้าฌานหรือทำสมาธินั้น แม้ออกจากสมาธิมา จิตก็ยังแช่อยู่กับอารมณ์นั้นอยู่………อิๆ  ผมมั่ว ฮ่าๆๆ

<< พระอาจารย์  :    ฮ่าๆๆๆ สุเทพ..อ่านมารึไง นี่..ไม่เข้าใจกาล ที่พูดมันสมาธิตอนช่วงไหน พูดถูก แต่ไม่ถูกกาล จิตที่มันถอนมาแล้ว จากองค์อารมณ์ ทรงยังไงก็เหอะ ถึงทิฏฐิ แตกทั้งนั้น

ที่เขาโม้ๆ  กัน มันคิดเอา ยังไม่เข้าใจเรื่องลักษณะ อาการแห่งจิตเลย ยังไม่เข้าใจเรื่องจิต เขาก็ว่ากันไปงั้นๆ  แหละ เดาสุ่มเอา

ท่านอาจารย์ที่มาฝึกที่แพกลางน้ำคราวนั้น เป็นอาจารย์ สอนกรรมฐาน ที่มีชื่อเสียง และฝึกกรรมฐานมาก่อน พระอาจารย์ เป็นสิบปี

จิตของ ท่าน ทรงฌาณ ชำนาญทั้งรูปฌาณและอรูปฌาณ เรียกว่า ได้สมาบัติแปด สามารถถอยการระลึกชาติได้ หลายๆ  ร้อยชาติทีเดียว

ได้ทิพย์จักษุญาณ และมีมโนแจ่มใส ที่พระอาจารย์พูดไปนั้น เพราะท่านรู้ว่า ท่านอาจารย์ผู้นี้ ยึดติดดี ยึดปฏิบัติ

มีอารมณ์แข็งแกร่ง และแช่อยู่กับสมาธิ ที่เขาภูมิใน มากว่า 30 ปี ท่านขาดปัญญาในการพิจารณา

และสมาธิหนักเช่นนี้ พิจารณาไม่ออกจริงๆ จิตมันไม่มีปัญญา จิตมันยึด สมาธิ ยึดความดีที่ได้ จากสมาธิ

คงเหมือนเทวทัต ท่านเทวทัต ก็ได้อภิญญาห้า นี่..สมาธิหนัก จิตสามารถ แปลงมายาธาตุได้

อารมณ์ขนาดนี้ ไม่ต้องเรียกว่าทรงฌาณหรอก มันเป็นความเคยชินของมันอยู่แล้ว ความเคยชินนี่แหละ เรียกว่าฌาณ

 

เทวทัตได้ฌาณแห่งสมาธิจิต แต่ใจก็เต็มไปด้วยกิเลส ขาดปัญญาเช่นกัน ฉะนั้น การแช่อารมณ์ แห่งฌาณ กับที่เราเข้าใจนั้น คนละอย่างกัน

กิเลสนี้ คือตัณหาที่ผุดขึ้นมาจากใจไม่รู้จบ มันอาศัย ผัสสะ มันอยู่ที่ว่า ผู้ฝึกจะมีปัญญาพิจารณา ทันรึเปล่า


ท่านอาจารย์ผู้นี้ หากผู้อื่นด่าท่าน ท่านจะนิ่งและสงบ เพราะความเป็นครูบาอาจารย์ มันคุมเป็นทิฏฐิมานะอยู่ มันหลุดยาก

แต่กับพระอาจารย์นั้น มันใกล้ชิด มันไม่ต้องคุมจิต มันรู้เห็นกันอยู่ จิตที่วางใจ มันเลยหลุดง่าย

หากพูดถึงทิฏฐิคน คนใกล้ชิด เช่น ลูก เมีย ญาติ เพื่อน ทิฏฐิ จะหลุดง่าย เพราะมันไม่มีอะไรต้องปกปิด เพื่อให้เขาเห็นว่า เราเป็นคนดี มันรู้ใส้รู้พุงกัน

พอเจอวาทะเข้าไป ไม่ทันตั้งตัว อาการน้อยใจ และอับอายลูกศิษย์ มันเลยแสดงออก เป็นใครก็แสดงออก มันเหมือนกินของร้อน ด้วยความไม่รู้ แล้วคายทิ้ง

คน..ย่อมมีผัสสะ และปรุงเป็นธรรมดา แต่การกระทำครั้งนั้น มันมีนัยยะ ระหว่างการเป็นเพื่อนที่ฝึกสมาธิ กันมา อย่างยาวนาน

คนมีทิฏฐิ มันจะหนาเหมือนหนังเหี้ย เอาผ้าแพรลูบไล้ มันไม่สะดุ้ง มันต้องเจอ อีโต้ถากๆๆๆ มันจึงจะหันมามองบ้าง ไม่งั้น คุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ธรรม

ฮ่าๆๆๆ ไว้อ่านท่อนสองต่อละกัน พวกน้องๆ  เขารอโม้…

ถามตอบ-ปัญหาธรรม ณ วันที่ 30/4/57  จากบทความบทที่ 19  ตอนภาคพระโสดาบัน  พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง

>>…. ว่ากันถึง ปิติในฌาณกับปิติในโพชฌงค์ แตกต่างกันอย่างไร

<< พระอาจารย์  :  ตรงนี้ เขาถกธรรมกันเข้าท่า ว่ากันตามตำราดี  ขอแสดงความเห็นหน่อย..เผื่อถูกกะเขามั่ง

ปิติในฌาณ เป็นอาการแห่งจิตที่ปรุงขึ้นมา เหนือการควบคุมโดยเจตนา แห่งเจ้าของ อาการเหล่านี้ ในแต่ละคน มีไม่เหมือนกัน แต่รวมกัน เรียกว่า อาการแห่ง ปิติ …

ส่วนในโพชฌงค์ เป็นอาการแจ้งและเข้าใจ จากสิ่งหนึ่ง สาวผลไปหาเหตุอีกสิ่งหนึ่ง ด้วยสติ ที่เกิดการวินิจฉัยธรรม อาการแห่งจิตที่แจ้งไปโดยลำดับนั้น เรียกว่า ปิติ ทำให้เกิด วิริยะ สงบจางคลาย สมาธิ และอุเบกขา

แต่อาการเหล่านี้ ท่านแยกองค์ประกอบออกมา ความจริงมันเป็นแค่ส้มผลเดียว ที่ทุกอย่าง รวมอยู่ในผลนั้น เรามันดันแยกออกมา ทำความเข้าใจกันเอาเอง

คุคุ หนุกๆดี..
ตอบปัญหาธรรมในเพจ นักรบธรรม 28/5/57  โดย  พระอาจารย์ ธรรมกะ  บุญญพลัง

 

….สงสัย ทำไมไม่เหมือนที่อ่านมา…

 

>> ….อ่านๆ  มา นี่ ไม่เห็นว่าจะมีในหนังสือในตำรา ฟังแล้วนี่ก็ยังไม่เข้าใจไม่รู้เรื่อง เอาที่ผมเข้าใจหน่อยใด้ไหมพระอาจารย์..

<<  พระอาจารย์  :   ธรรมที่แสดงนี้ ได้แสดงให้แก่ผู้มีปัญญาฟัง คนยึดธรรมฉลาดมากไป ฟังกันไม่รู้รื่องหรอกครับ

คนที่ยึดตำรา โดยไม่วาง และไม่เคยวินิจฉัยธรรม ในตำราที่ยึด ย่อมเกิดแรงต้าน เป็นธรรมดา

เขาย่อมไม่เข้าใจ ว่าผู้แสดง ก็รู้เห็นในมุมมองตามตำราไม่แตกต่างไปจากผู้ยึดตามตำรา

แค่เรายอมวางความยึดที่มั่นหมาย ใช้ปัญญาวินิจฉัยธรรมอีกมุมมองอื่นบ้าง ภาชนะแห่งการรองรับธรรมก็จะกว้างขึ้น

แต่ผู้ฉลาดมากไป กลับปัดและผลักใส ไม่วินิจฉัยในเหตุและผล ที่แสดงอยู่ให้เห็นในปัจจุบัน จะเอาแต่อดีตบันทึกแต่ตำรา

นี่มันดึงดัน และไม่รับฟังเหตุ ฟังผล ก็พากันตัดสินกันซะแล้ว ธรรมะย่อมขวางใจตามกระแสโลก นี่เป็นธรรมดา

หากรู้สึกว่า ธรรมนี้มันขวาง ให้รีบมาส่องใจเจ้าของก่อน ว่าเราวินิจฉัยธรรมตามเหตุตามผล เรียบร้อยดีรึยัง ก่อนตัดสินใน ว่าใช่ หรือไม่ใช่

ผู้มีปัญญา ย่อมตรองก่อนที่จะเชื่อ เชื่อแล้วก็ต้องทำ ทำแล้วจึงจะมาวินิจฉัยผล ดูและพิจารณาผลที่ประจักษ์ เท่าที่ปัญญามี ว่าใช่หรือไม่ไช่

และที่สุด จะใช่หรือไม่ใช่ ผู้มีปัญญา ย่อมที่จะวางกองไว้ทั้งคู่ แม้ธรรมทั้งหลาย ก็ยึดไม่ได้ เพราะธรรมทั้งหลาย ต่างล้วนแล้วเป็นสมมุติธรรมที่ใจปรุงแต่งทั้งสิ้น

เรา…ต่างบ้ากันไปเอง ยึดความรู้ในธรรม ว่าเป็นตัวธรรม ธรรมทั้งหลาย เกิดจากใจนี่ ไม่ใช่เกิดจาก ตำรา แหกใจออกมาเห็น เรื่องราวแห่งธรรมกันเป็นรึเปล่า หากเป็น ก็จะมีดวงตาเห็นธรรม

หากไม่เป็น ก็จะมีแต่ดวงตาที่เห็นตำรา ก็จะเป็นดวงตาแบบ

 

นกมองฟ้า แต่มองไม่เห็นฟ้า

ปลามองน้ำ แต่มองไม่เห็นน้ำ

หนอนมองขี้ แต่มองไม่เห็นขี้

นี่…ท่านเรียกว่า ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม..!!

 

พระธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะสัจธรรม ภาคย่อย 28/5/57  พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง