รู้จักขันธ์ห้าอย่างลึกซึ้งและตรงตามความเป็นจริง ท่อน 2

รู้จักขันธ์ห้าอย่างลึกซึ้งและตรงตามความเป็นจริง ท่อน 2

371
0
แบ่งปัน

***** “รู้จักขันธ์ห้าอย่างลึกซึ้งและตรงตามความเป็นจริง ท่อน 2” *****

หวัดดียามเช้า

หวัดดีอีกครั้ง

ข้าจะมาขยายธรรมต่อจากเรื่องเมื่อวานเกี่ยวกับขันธ์ห้า

เมื่อวานนี้ ข้าได้อธิบายเวทนา ในปฏิจจสมุปบาทว่า

มันไม่ใช่เวทนาในกองขันธ์ห้า

ขันธ์ห้านี่ มันอาศัยในนามรูป

อาศัยวิญญาณที่ก่อนามรูปขึ้นมาเป็นเหตุ

ส่วนเวทนาในปฏิจจสมุปบาท

มันเป็นอาการของนามรูป ที่มีเหตุมาจาก ผัสสะผ่านอายตนะในนามรูป

มันผ่านการปรุงแต่งออกมาเรียบร้อยแล้ว

จนเกิดเป็นตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

ทีนี้..

ขันธ์ที่เราเคยเข้าใจนั้น มันอยู่ตรงไหนของปฏิจจสมุปบาท

ขันธ์ห้าที่เรารู้จักนั้น เราเรียกว่านามรูป

นามรูปนี่เป็นกองขันธ์ห้า

ในนามรูปนี่ มี รูปหนึ่ง นามสี่

รูปนี่ มันปรุงแต่งมาจากอาหาร

อาหารปรุงแต่งมาจากกรรม

กรรมปรุงแต่งมาจากตัณหา

ตัณหาปรุงแต่งมาจากอวิชา

นี่ รูปเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุนี้

รูปนี่ มันเป็นวิบากของวิญญาณ

ที่ก่อตัวขึ้นมาจากจิตสังขารอันมีเหตุมาจากอวิชา

รูปนั้น เป็นเครื่องมือให้นามอีกสี่ตัว ได้อาศัยทำงาน

นามนี้ เป็นอาการแห่งอวิชา ที่โดนปรุงแต่งแห่งจิต จนเรียกว่าวิญญาณ

วิญญาณนี่ เป็นกองสังขารอันเป็นผลมาจากจิต ที่ปรุงแต่งจนมีเครื่องหมายในด้านพลังงาน

พลังงานแห่งวิญญาณ ปรุงแต่งสสารและพลังงานนอก คือดิน น้ำ ลม ไฟ

แสดงเหตุปัจจัยจนมาเป็นรูป

ในวิญญาณแห่งกองสังขารจิต มันมี เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ทำหน้าที่ปรุงแต่งผัสสะที่ผ่านอายตนะทางรูป

ออกมาเป็นเวทนา

เวทนาตัวนี้ เป็นเวทนาในปฏิจจสมุปบาท

ไม่ใช่เวทนาในนามขันธ์ ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง

เมื่อวิญญาณสร้างรูปตามกลไกแห่งวิบาก

วิบากก็คือผลที่มีเหตุอันหลากหลายทำให้เกิด

รูปนี่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ เป็นช่องต่อให้วิญญาณสร้างภพขึ้นมา

ภพก็คือเหตุ

เหตุแห่งภพนี่ จะเป็นตัวหมุนเวียนทำให้เกิดวัฎฏะ

ช่องต่อแห่งรูปเข้าสู่วิญญาณที่ปรุงแต่งจากจิตสังขารอันมีอำนาจมาจากอวิชานี่

เรียกว่า อายตนะ

อายตนะก็คือ ตา หู ลิ้น จมูก กาย และอารมณ์

อาศัยการผัสสะทางช่องทางนี้ เพื่อปรุงแต่ง เรียกว่าเจตสิก

เจตสิก ที่ปรุงแต่งแล้วเสร็จ จากผัสสะ

เรียกว่าเวทนา

เวทนาที่ปรุงแต่งเรียบร้อยนี้

เป็นเวทนาที่อาศัยเรียงตัวอยู่ในปฏิจจสมุปบาท

ส่วนเจตสิกนั้น

เป็นชื่อเรียกกระบวนการปรุงแต่งที่อาศัยผัสสะเกิด

ผัสสะที่เกิด อาศัยนามปรุงแต่ง ที่เรียกว่า

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวปรุง

การปรุงด้วยนามทั้งสี่ตัวนี่ จนแล้วเสร็จเป็นเวทนาในปฏิจจสมุปบาท เรียกว่ากระบวนการแห่งเจตสิก

เจตสิกอาศัยผัสสะทางช่องต่อที่เรียกว่าอายตนะ

เมื่ออายตนะเกิดผัสสะ

คือผัสสะทางตา หู ลิ้น จมูก กาย เจตสิกก็จะเกิดการปรุง

เช่นช่องทางตา

เมื่อวิญญาณผัสสะทางตา ที่มีมาในนามรูป

ตัวแรกที่เกิดคือ เวทนา..

เวทนานี้ เป็นตัวอวิชา ที่เป็นผัสสะแรก คือไม่รู้ว่าอะไรผัสสะ

สัญญาที่บันทึกไว้ในจิตสังขาร จะนำภาพทางจักษุมาเทียบเคียง

การเทียบเคียงภาพผ่านทางช่องจักษุหรือตานี่

เรียกว่าสังขาร

สังขารตัวนี้ เป็นตัวปรุงแต่งภาพจากสัญญา เพื่อเทียบเคียงเจตนาให้ตรงกับภาพที่ผัสสะทางจักษุ

เมื่อประมวลได้ชัดเจน ตรงตามความเป็นจริงตามภาพที่ผัสสะทางช่องต่อ

เจตนาที่สำเร็จนั้น เรียกว่าวิญญาณ

เมื่อครบกระบวนการ

การสร้างรูปสมมุติและนามสมมุติเพื่อเป็นเครื่องหมายในผัสสะที่ปรุงแต่ง ก็ครบสมบรูณ์เป็นเวทนา

วิญญาณในนามรูปก็จะรู้ชัดว่าสิ่งที่ได้ผัสสะนั้นคืออะไร

สิ่งที่รู้นั้น มันมีเราเข้าไปรู้อาการที่มันปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว

รู้ก็เป็นเวทนา

ไม่รู้ก็เป็นเวทนา

เวทนานี้ เป็นเวทนาในปฏิจจสมุปบาท

ไม่ใช่เวทนา ในนามขันธ์ ที่เริ่มปรุงเมื่อมีการผัสสะ

กระบวนการทั้งหมดนี้จากเริ่มผัสสะมาปรุงแต่งแล้วเสร็จ

เรียกว่าเจตสิก

เจตสิกเป็นเจตนาแห่งการปรุงด้วยกระบวนการแห่ง เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณที่อาศัยอยู่ในรูป

นี่..ขบวนการในนามรูปตรงนี้ จึงจะเรียกว่า ขันธ์ห้า

อาศัยรูปและนามในการปรุงแต่งขึ้นมา

การปรุงแต่งนี้ มันรวดเร็ว

เรามองปุ๊บรู้ปั๊บว่าอะไรเป็นอะไรนั้น

หรือไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเมื่อเรามอง

รู้และไม่รู้นั้นมันปรุงแต่งสำเร็จเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ขบวนการปรุงนี้

ไม่มีเราเข้าไปเป็นเจ้าของ

เมื่อไม่มีเราเข้าไปเป็นเจ้าของ

เราจะมากล่าวว่า ขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ไม่ได้

ตัวทุกข์และสุขอยู่ที่เวทนา

เป็นเวทนาที่ปรุงแต่งเรียบร้อยไปแล้ว

ทางหู ลิ้น จมูกอะไรๆก็เหมือนกัน

วิญญาณใช้กระบวนการเช่นนี้ ในการปรุงแต่ง

เหมือนเราปรุงก๋วยเตี๋ยว

ขณะที่ปรุงใส่นั่นใส่นี่ เราย่อมไม่รู้รส

เมื่อปรุงเสร็จ เราจึงเป็นเจ้าของการรู้รสได้โดยการชิม

กระบวนการณ์ เจตสิกในขันธ์ห้าก็เหมือนกัน

ผัสสะปุ๊บทางตา หู ลิ้น มันปรุงปั๊บ

ขั้นตอนนี้ ไม่มีเจ้าของรู้รสอะไร

ปรุงเสร็จจึงจะมีความเป็นเจ้าของในสมมุตินั้น

สมมุติที่ปรุงเสร็จแล้วนี่ เรียกว่าอัตตา

อัตตานี่เป็นสมมุติที่เราให้ความหมายว่าอะไรเป็นอะไร

การยึดในอัตตาสมมุติที่ขันธ์ห้าปรุงเสร็จนี่แหละ

คือตัวทุกข์ตัวสุข

จะมาบอกว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์นี่

ดูเหมือนเป็นนักยิงปืนที่ยิงไม่แม่นตรงเป้าอะไรได้เลย

และเราก็ยิงเป้าผิดๆกันมาแบบนี้มาแต่โบราณ

มรรคผลที่ตรงตามความเป็นจริง จึงขาดผู้มีปัญญามาอธิบาย

ดูว่าพวกแกจะหลับกันหมดแล้ว

ข้าจึงขออธิบายแต่เพียงคร่าวๆให้พวกแกได้รู้เหตุและผลว่ามันมีร่องของมันมาในแนวนี้

ขันธ์ห้าจะเป็นแบบไหนอย่างไรก็ช่างแม่งมันเหอะ

ขอให้เป็นคนดี มีความละอายชั่วกลัวบาปกันก็พอ

ธรรมที่ข้าแสดง

มันละเอียดละออเกินกว่า ภาชนะเราจะเข้าไปดักกรองออกมาเป็นอาหารได้

ก็ฟังๆกันไป

พอเป็นกำลังว่า

อุปาทานในคำภีร์ที่แจงๆจำๆกันมา

บางทีมันอาจไม่ตรงตามความเป็นจริงอย่างที่เราเข้าใจกัน

เช้าวันนี้ สวัสดี..

ไปรู้กันทำไมเรื่องพวกนี้

ผู้แจ้งในธรรมนั่นแหละ มันจึงอธิบายออกมาได้

อธิบายด้วยความเข้าใจ

อธิบายกันสดๆ โดยไม่ต้องอิงอะไร

นี่เป็นปาฏิหาริย์แห่งธรรม ที่ผลมันแสดง

เวลาพวกแกเจอพวกแอบแฝงรึเข้าใจว่าตนบรรลุธรรม

พวกแกฟังความก็จะได้เทียบเคียงได้

ว่าเป็นจอมโม้ หรือเข้าใจผิดไปเอง เพื่อต้องการสรรเสริญ

ผู้แจ้ง

ย่อมอธิบายธรรมทุกสรรพสิ่งได้ โดยไม่ติดขัด หรือนั่งนึกเอาจากคำภีร์

เราก็จะไม่หลงไปกับท่าทาง อาการ คำพูด ที่เขาแสดงออก

เราตามได้ก็เฉพาะท่านที่ทรงคุณธรรมทางธรรมจริงๆ

เส้นชัยแห่งแสงสว่างที่ตรงตามความเป็นจริง มันจึงจะทอแสงขึ้นมาให้เราได้เห็น

คำพูดนั้น

โจรมันก็พูดได้

พูดให้ตัวเองดูดี

แต่เชื่อเหอะ

โจรย่อมไม่มีปัญญาแสดงธรรมที่ออกมาจากใจได้เลย

ขอให้ทุกคนมีดวงตาเห็นธรรม

พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง วันที่ 22 เมษายน 2560