วิถีเซ็น ท่อนสี่

วิถีเซ็น ท่อนสี่

705
0
แบ่งปัน

ตามคติของนิกายเซน นี่ว่ากันตามต้นตำหรับทางจีนเขาเลย ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า ภาษาจีนเขียนว่า (釋迦牟尼佛) ไปแปลกันเอาเองเด้อ

ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นพระผู้ทรงคุณทางสายป่า ที่เป็นเอกตทัคคะ

โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะ ด้วยวิถีแห่ง “จิตสู่จิต” และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง

นี่ เขาว่าของเขาเอาเอง ผ้าสังฆาฏินี่ ท่านได้รับสองครั้ง แต่บาตรและไตรจีวรนี่ ท่านได้เพราะกุศลสิบากของท่าน ไม่ได้เกี่ยวกับพระพุทธองค์

แต่ทางนิกายเซนเขาถือว่า นี่เป็นพระประสงค์แห่งนิกายแห่งศากยมุนี ที่ได้รับสืบทอดโดยตรง จากพระพุทธองค์เจ้า นี่คือความภูมิใจที่เซนเขาคิดกันเอา

ไม่ใช่พุทธอย่างเรา ที่ยึดมั่นและหลงไปตามตำรา เซนเขาไม่เอาตำรา เขาว่ากันตรงๆตามเหตุปัจจัย

องค์ที่สอง เป็นพุทธนิกายแห่งเซนคือ พระอานนท์ ผู้เป็นพระผู้สืบเนื่องโดยตรง จากพระผู้เป็นเจ้า

และมีพระผู้สืบเนื่องเรียงชื่อสืบๆ กันมาอันเป็นพระในวิถีเซน

จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้

พระมหากัสสปะ ทางภาษาจีนเขียนว่า 摩訶迦葉

พระอานนท์ ทางจีนเขียนว่า 阿難陀

พระศาณวาสะ ทางจีนเขียนว่า 商那和修 เห่ย..ขี้เกียจเขียนจีนแล้วโว้ย เอาเป็นว่ามาจากเซนของจีนก็แล้วกัน

พระอุปคุต นี่ในยุคของพระเจ้าอโศก

พระธฤตก

พระมิจกะ

พระวสุมิตร

พระพุทธานันทิ

พระพุทธมิตร

พระปารศวะ

พระปุณยยศัส

พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)

พระกปิมละ

พระนาคารชุนะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)

พระอารยเทวะ

พระราหุลตะ

พระสังฆนันทิ

พระสังฆยศัส

พระกุมารตะ

พระศยต

พระวสุพันธุ

พระมโนรหิตะ เหลืออีกเท่าไหร่วะนี่ ขีเกียจจิ้มชิบหาย

พระหเกฺลนยศัส

พระสิงหโพธิ

พระวสิอสิต

พระปุณยมิตร

พระปรัชญาตาระ

พระโพธิธรรม Pútídámó 菩提達磨 นี่ องค์นี้ ที่เป็นปรมาจารย์ตั๊กม้อ จอมยุทธแห่งเขาเหลียงซาน ที่จริงต้องมาเจอจอมมารบูลอย่างข้า จึงจะปะมือเชิงวิทยานุทธกันมันส์

หลังจากพระโพธิธรรมนำศาสนาพุทธนิกายเซนจากอินเดียเข้ามาสู่ประเทศจีนแล้ว จึงมีการสืบทอดธรรมและตำแหน่งพระสังฆนายกในจีนต่อมาอีก 6 องค์ หนังสือบางแห่งนับว่ามี 7 องค์

นี่ เซนเขาว่าของเขามากันอย่างนี้

ส่วนข้านี่ ไม่ค่อยเซน ข้าชอบชักดาบ ไม่จ่ายอย่างเดียว วรยุทธแห่งจอมมารบูลของเกาะดอกท้อบุญญพลัง เป็นวรยุทธแห่งความเป็นสันดานที่น่าหวงแหน ดุดันกว่าเซนเยอะ

นิกายเซน(Zen) คือนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา อยู่ในฝ่ายมหายาน แต่มีความคล้ายคลึงกับเถรวาทในสายพระป่า

เซนไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เพราะเขาเห็นว่า

สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดจากการดลบันดาลของใคร นี่..เป็นวิถีพุทธแท้

เซนจะเน้นการฝึกปฏิบัติ ฝึกการใช้ปัญญา และสมาธิ เพื่อให้ เกิดพุทธิปัญญาจนเข้าใจหลักธรรมด้วยตนเอง นี่เป็นหลักปรัญญา แต่เซนไม่เอาปรัญญา

จุดมุ่งหมายของเซน คือการตระหนักรู้ในพุทธภาวะ ตามความเป็นจริง การบรรลุธรรมในแบบเซนจะเรียกว่า “ซาโตริ” หรือภาวะรู้แจ้ง นี่ทางญี่ปุ่นเขา

ซึ่งเป็นภาวะที่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน มลายหายไปสิ้น เมื่อบรรลุแล้วก็จะเข้าสู่ความหลุดพ้น

ทุกสิ่งกลายเป็นสุญญตา หรือ “ความว่าง” ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น แม้แต่พระนิพพาน นี่ …เซนเขาว่าอย่างนี้

จุดเด่น..อีกประการหนึ่งของเซนคือ การไม่ยึดติดในรูปแบบพิธีกรรม หรือแม้แต่พระไตรปิฎก

เซนถือว่า การบรรลุมรรคผลนั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ด้วยปริยัติ เพราะตัวอักษรหรือภาษามีข้อจำกัด
ไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงทั้งหมดได้

และการหลุดพ้นในแบบเซน ก็ไม่ต้องมีขั้นตอน ไม่จำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาตามลำดับมาเลย ตามตำราที่เขาเขียนๆกัน

ใครก็ตามที่ตระหนักรู้แก่นแท้ข้องจิตใจตน ก็บรรลุเป็นอรหันต์ได้เลย

ด้วยความที่ เซน เป็นนิกายที่ส่งผ่านปรัชญาการดำเนินชีวิต ที่นำไปใช้ได้จริง สู่ผู้ปฏิบัติอย่างถึงแก่นและเป็นธรรมชาติ

ไม่ได้อิงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคัมภีร์ แต่เน้นให้ใช้ปัญญา เพื่อให้เห็นสัจจธรรมด้วยตนเอง

เซนจึงเป็น พุทธวิถีธรรมแห่งธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ผู้ศึกษาเซนจึงไม่จำกัดว่าจะเป็นคนศาสนาไหน ใครๆก็เข้าถึงความเป็นเซนได้

ทำให้มีการศึกษาเซนอย่างกว้างขวาง ทั้งในหมู่ชาวพุทธ คริสต์ และ อิสลาม

ปัจจุบันเซนได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป อเมริกา

สำหรับในประเทศไทยของเรา ก็มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงให้ความสนใจเซน เช่น ท่าน พุทธทาสภิกขุ ท่าน ว. วชิระเมธี เป็นต้น

ส่วนธรรมกะนี้ ไม่นิยมเซน ธรรมกะนิยมชักดาบเป็นสันดาน

เพราะฉะนั้น ใครจะเซนก็เซนไป ข้าขอชักดาบฟันที่เดียวจอด ง่ายกว่ากันเยอะ

การสืบสานเรื่องราวแห่งเซนนี้ มันก็เป็นวิถีและแนวคิด ที่เป็นพุทธศาสนากิ่งหนึ่ง

พุทธศาสนาฝ่ายเซน กำเนิดจากคำสอนของพุทธศาสนาของอินเดีย และปรัชญาเต๋าของจีน

หลักสำคัญของพุทธศาสนาของเซน คือการไม่มีตัวตน และวิธีมองโลกแบบไม่แบ่งแยกไม่ประเมินค่า

ปรัชญาเต๋าก็มองโลกแบบไม่แบ่งแยกเช่นกัน ทั้งยังเน้นญานปัญญามากกว่าความรู้เชิงเหตุผล

เพราะความรู้เชิงเหตุผล มีข้อจำกัดและเป็นสิ่งสัมพัทธ์ ทางความหมาย

ปรัชญาเต๋าเน้นความรักธรรมชาติ และการปล่อยให้วิถีชีวิตเป็นไปตามธรรมชาติ

เซ็นรับมรดกทางปัญญาข้างต้นมาผสมผสานกัน เกิดเป็นวิถีการดำเนินชีวิต ที่ให้ความสำคัญกับการอยู่กับปัจจุบันและชีวิตในโลกนี้

โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขัดเกลาจิตใจให้บรรลุพุทธภาวะ

พุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น มีอยู่แล้วในคนทุกคน เป็นธรรมชาติดั้งเดิมของสรรพสัตว์

สิ่งที่บดบังพุทธภาวะ คือ ความคิดปรุงแต่งซึ่งก่อให้เกิดตัวตน และความยึดมั่นถือมั่น

หมกมุ่นอยู่ในความคิดที่ก่อให้เกิดการจำแนกสิ่งต่างๆ ออกเป็น 2 ฝ่าย เช่น ดี-ชั่ว ถูก-ผิด

เมื่อเราขจัดความคิดปรุงแต่งออกไป ก็จะไม่มีตัวตนและความยึดติดทั้งหลาย มองเห็นเอกภาพของสรรพสิ่ง

ในฐานะที่เซนเป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา จึงยึดถือแนวคำสอนหลักเหมือนกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

โดยเฉพาะหลักอริยสัจ 4 และ อริยมรรคมีองค์ 8 เซนถือว่าสรรพสิ่งล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน

ธรรมะคือธรรมชาติ และธรรมชาติคือตถตา หรือความเป็นเช่นนั้นเอง

เซนไม่ให้ความสำคัญแก่ตรรกะหรือเหตุผล แต่เน้นประสบการณ์ตรง คือเข้าถึงโดยไม่ผ่านสื่อกลางใดๆ

เซนไม่มีการแย้งกันในเรื่องถูกหรือผิด ความสมบูรณ์หรือความไม่สมบูรณ์ ความมีหรือไม่มี เพราะถือเป็นการเรื่องของการยึดมั่นถือมั่น

ขณะเดียวกัน เซนก็เป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ คือไม่เน้นหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ แต่มุ่งที่จะขัดเกลาจิตใจ

เซนอาจนิยามได้ด้วยโศลกอันมีชื่อเสียงที่มีเนื้อความว่า

“การถ่ายทอดพิเศษนอกคัมภีร์

ไม่อาศัยถ้อยคำหรือตัวอักษร

ชี้ตรงไปยังจิตมนุษย์

เพ่งมองให้เห็นถึงธรรมชาติของตนเอง และบรรลุพุทธภาวะ”

นี่เป็นถ้อยคำแห่งเซนที่เห็นตรงตามความเป็นจริง ในธรรมชาติแห่งพุทธศาสนา เป็นเนื้อความที่เป็นแนวคิด แต่ยากที่จะปฏิบัตจริง เพื่อความเข้าถึงความหลุดพ้น

แนวคิดทั้งหลาย เป็นวิถีแนวแห่งความเป็นพุทธิ เป็นพุทธะตามธรรมชาติ

แต่ที่ลึกลงไปจากที่เห็นตรงตามธรรมชาติที่ตนเห็น เซนไม่รู้ว่า

นิยามทั้งหลายที่เห็นตรง มันเป็นอัตตาและตัวตนที่ตน ยังมองไม่เห็นความเป็นเจ้าของ ในอัตตา ที่เข้าถึง

ว่าสิ่งทั้งหลายที่เห็นตรงตามธรรมชาตินั้น เรายังเป็นเจ้าของความเป็นตถาตา

ที่มันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง

นี่เป็นความจริงที่ห่างไกล ที่เซนทั้งหลายไม่รู้ว่า ความเป็นธรรมชาตินั้น เราล้วนเป็นเจ้าของ

และความเป็นเจ้าของนี้ มันให้นิยามให้มีความเป็นธรรมชาติทั้งหลายมันเกิดขึ้น

และที่สำคัญลึกลงไปกว่านั้น

จะมีเจ้าของหรือไม่มีเจ้าของ มันก็เป็นอาการแห่งธรรมชาติที่เป็นธรรมดาของจิต

เซนเข้าใจธรรมชาติ แต่เซนเข้าไม่ถึงธรรมชาติที่เป็นธรรมดาของจิต ที่มันเห็นธรรมชาติและความเป็นไปแห่งธรรมชาติของมันที่เป็นธรรมดาของมัน ที่เราเรียกว่า “จิต”

แนวคิดทั้งหลายนี่ เป็นความรู้ มันวางแนวคิดในร่องแห่งธรรมชาติตามความรู้ได้

แต่ธรรมชาติแห่งพุทธิ มันเป็นการแจ้งในธรรมชาติ ไม่ได้ว่ากันถึงเรื่องการเป็นไปตามธรรมชาติ

การเป็นไปตามธรรมชาติ มันเป็นพุทธที่มีภูมิอยู่ในระดับ ไตรลักษณ์ ที่มันเป็นธรรมดาของมัน เช่นนั้นเอง

พุทธิจิตนี้ อยู่เหนือไตรลักษณ์ อยู่เหนือธรรมชาติทั้งหลาย

ไม่ใช่ความว่าง ไม่ใช่นิยามความหมายใดๆ

แต่จะมีใครเข้าถึงความเป็นไปแห่งพุทธิภาวะ ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกายและลัทธิใดๆ

ธรรมชาติความหมายแห่งเซน ก็เป็นนิยามหนึ่งในกิ่งก้าน ของลำต้นของพุทธศาสนา

ที่เป็นสาขากิ่งก้านเจริญงอกงามออกไปตามความคิดเห็น

พุทธะนี้เป็นเรื่องของปัญญา มีปัญญาแค่ไหนพอใจแค่นั้น ก็เข้าถึงธรรม ที่เป็นธรรมดาของความเป็นพุทธ

เซนนี้ ยังเกรงใจมาจ่ายกันได้ตอนมีตังค์ แต่ข้า ไม่ค่อยเซน ชักดาบเป็นประจำนี่เป็นสันดานแห่งจอมมารบูรพา

เช้านี้ คงต้องพอกันแค่นี้ วันนี้ชดเชยที่เมื่อวานไม่มีสัญญาณ

ขอบุญนี้ให้ทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม

พระธรรมเทศนาจากบทธรรม เรื่อง ” วิถีเซน ตอนสอง ” ท่อนที่ 2 ณ วันที่ 15 เมษายน 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง