ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ

ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ

769
0
แบ่งปัน

 ดร.สุรเชต น้อยฤทธิ์: สาธุ สาธุ สาธุ มีหนังท่านโพธิธรรมมาฝากด้วยขอรับ

พระอาจารย์ : เข้าท่าๆๆ ท่าน ดร. สุรเชต นำหนังตั๊กม้อ มาให้ดู

แต่น่าเสียดาย ที่นี่ ไม่มีสัญญานดู

เลยไม่รู้ท่านตั๊กม้อหน้าตาเป็นยังไง

ไหนๆ ก็กล่าวถึง…. ท่านปรมาจารย์ตั๊กหม้อ เราก็น่าสืบเรื่องราวลงไปถึงท่านปรมาจารย์แห่งเขาเหลียงซานกันซักหน่อย

ท่านเป็นจอมยุทธ ปรมาจารย์เจ้าอาวาสแห่งวัดเส้าหลินองค์แรกน่ะ เคยดฟูหนังตอนเด็กๆ

ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อนี่ ตำรากล่าวว่า เป็นชื่อของท่าน พระโพธิธรรม ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งเซน

พระโพธิธรรมนี่ นับได้ว่าเป็นสังฆราชแห่งนักบวชเซน เป็นนักบวชแรกเริ่มในนิกายแห่งนี้

ท่านเกิดประมาณปีพุทธศักราช 440 ในเมืองกันจิ (Kanchi )

อันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรปัลลวะ ( Pallava ) ทางอินเดียตอนใต้

ท่านนับถือศาสนาพราหมณ์โดยกำเนิด และเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิงหวรมัน(Simhavarman)

ต่อมาท่านได้หันมานับถือพุทธศาสนา และได้รับการสอนธรรมะจากท่านปรัชญาตาระ (Prajnatara )

และท่านปรัชญาตาระนี้เองที่แนะนำพระโพธิธรรมให้เดินทางไปประเทศจีน

ท่านมาถึงจีนภาคใต้ ประมาณ พ.ศ. 520 และได้แสดงธรรมตามคำนิมนต์ของพระจักรพรรดิหวู (Wu) แห่งราชวงศ์เหลียง

ในการพบปะกันครั้งนี้ พระจักรพรรดิได้ตรัสถาม ถึงอานิสงส์ของการบำเพ็ญทานในพุทธศาสนา

พระโพธิธรรมได้ตอบตามหลักคำสอนว่าด้วยความว่าง

ประมาณ พ.ศ. 496 มีการสร้างวัดเส้าหลินขึ้นติดกับภูเขา ซ่ง (Sung) ที่จังหวัด โหหนาน (Honan)

ที่ยอดเขาเฉาฉือ (Shaoshih) ด้านตะวันตกของภูเขาซ่ง ( Shung) ใกล้วัดเส้าหลิน พระโพธิธรรมได้นั่งบำเพ็ญกรรมฐานถึง 9 ปี ที่จริงท่านอยู่อย่างสงบที่นี่ 9 ปี ไม่ใช่นั่งนิ่งๆ 9 ปี

แม้ว่าพุทธศาสนิกในประเทศจีนจะแพร่หลายอย่างรวดเร็ว แต่พระโพธิธรรมก็มีสานุศิษย์เพียงไม่กี่คน

เรื่องพระธรรมวินัยและพระอภิธรรม ท่านไม่ได้ใส่ใจ ตามสายแห่งพระผู้อยู่ป่า ปรัชญาของท่านคือ นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว

ในหนังสือ “การถ่ายทอดประทีปธรรม” ของท่านเต้าหยวน ระบุว่า ไม่นาน หลังจากท่านได้มอบตำแหน่งสังฆปรินายก แก่ทายาทของท่านคือฮุ้ยค้อ พระโพธิธรรมก็มรณภาพ ในปี พ.ศ. 528

เหตุที่พระโพธิธรรมมีชื่อเสียงมากที่สุด ในบรรดาพระที่สอนธรรมะในประเทศจีน

เป็นพราะ ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำเซนมาสู่ประเทศจีน

คำสอนเรื่องเซนของพระโพธิธรรมต่างจากผู้อื่น ท่านเน้นความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และคัมภีร์ต่างๆ

สาวกสำคัญ…

ท่านฮุ่ยเล้งหรือเวยหล่าง ในยุค ราชวงศ์ถัง เป็นปรมาจารย์องค์ที่ 6 มีชื่อเสียงด้วย โศลกของท่านที่เขียนตอบ โศลกของเพื่อนศิษย์อาวุโสที่เขียนไว้ว่า

“กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงา

จงหมั่นเช็ดถูมันทุกๆ เวลา อย่าให้ฝุ่นละอองจับคลุมได้”

ท่านเวยหล่างได้เขียนต่อไว้ว่า

“ต้นโพธิ์นี้เดิมมิใช่ต้นโพธิ์ ไม่มีกระจกเงาอันใสบริสุทธิ์ด้วย

แต่เดิมไม่มีอะไรสักอย่าง แล้วฝุ่นละอองจะจับที่ตรงไหน”

นี่ความเป็นเซน เขาว่ากันมากันแบบวิถีและแนวนี้ แค่โต้ตอบด้วยคำแห่งวลีเป็นที่พอใจจิงเหล่าจอมยุทธ

ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีปัญา เป็นผู้เข้าถึงและบรรลุธรรม

ท่าน โพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อนี่ เกิดที่เมืองคันธารราช (Kanchi) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของดินแดนปัลลวะ

อันเป็นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย

ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ โดยเป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิงหวรมัน ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินของแคว้นคันธารราช

ครั้งเมื่อพระองค์มีพระชนมายุวัยเยาว์ ท่านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านมีความแตกฉานในคัมภีร์ไตรเภท ของศาสนาพราหมณ์ ที่ท่านเคยนับถือมาแต่เดิม

พระบิดาได้ส่งท่านไปเรียนในสำนักตักศิลา ในฐานะราชบุตรที่จะได้ขึ้นปกครองมีอำนาจสืบต่อความเป็นกษัตริย์ แทนพระบิดาท่านต่อไปในภายภาคหน้า

แต่เมื่อท่านเติบโตเป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์ ท่านได้มีความศรัทธาหันมานับถือพระพุทธศาสนา

เหตุเพราะในครั้งนั้นพระบิดาของท่าน ได้อาราธนาท่านพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระ (Prajnatara)

ซึ่งเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ผู้มีความแตกฉานในคัมภีร์ต่างๆ และมีลูกศิษย์มากมาย และเป็นภิกษุที่อาศัยอยู่ในแคว้นมคธ ดินแดนแห่งพุทธธรรมที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ที่นั่นในเวลานั้น

ให้ท่านเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองคันธารราช เพื่อที่จะให้คำสอนอันคือธรรมชาตินี้ ได้เผยแผ่ไปทั่วดินแดนแห่งปัลลวะของท่าน

ก็เพราะด้วยคำสอนที่ตรงต่อ ความเป็นจริงตามธรรมชาติ จึงเป็นเหตุให้ท่านโพธิธรรมซึ่งเป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ ที่นับถือศาสนาพราหมณ์มาโดยเคร่งครัด

ได้ละทิ้งทิฐิเดิมของตนหันหน้ามานับถือศาสนาพุทธอย่างจริงจัง

ด้วยความมีศรัทธาอันแรงกล้าต่อ คำสอนที่แท้จริงของตถาคตเจ้า

ครั้งเมื่อพระบิดาของท่านได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ก็เกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างรัชทายาท เพื่อขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์

ท่านโพธิธรรม ท่านหามีความปรารถนาต้องการ จะยื้อแย่งชิงมายาแห่งสมบัติเลือดนั้นไม่

ท่านจึงตัดสินใจหลบหนีภยันตรายอันใหญ่หลวงนี้ ไปหลบลี้ภัย และฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาธรรมอย่างแท้จริง

กับพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระผู้ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระบิดาท่าน

และพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระนี้เอง เป็นภิกษุ ผู้รับสืบทอดวิถีธรรมอันคือธรรมชาติ ซึ่งเป็นธรรมอันแท้จริง มาจากสังฆปรินายกองค์ก่อนๆ แห่งนิกายเซน

ซึ่งเป็นการสืบทอดด้วยการถ่ายทอดธรรมแก่กันและกันเป็นรุ่นๆ สืบต่อกันมาตลอดโดยไม่ขาดสาย

ซึ่งท่านพระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระนั้น นับว่าท่านเป็นสังฆปรินายก องค์ที่ 27

นี่เป็นประวัตคร่าวๆ ที่ลอกเขามาเพื่อเป็นแนวทาง

ต่อมาเมื่อท่านโพธิธรรมได้ บรรลุธรรมอันคือ ธรรมชาติ ที่มันมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น

ด้วยอุบายการคุ้ยเขี่ยธรรมให้ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากการชี้แนะสั่งสอนของพระอาจารย์ปรัชญาตาระ

เมื่อท่านรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นี้แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจอุปสมบทเป็นภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

เป็นการบวชที่ถึงพร้อมไปด้วยการตระหนักชัดแจ้ง และรู้แจ้งในความเป็นจริง

และท่านก็ได้สำเร็จลุล่วงในความเป็นธรรมแห่งอภิญญา ตามบุญวาสนาของท่านในธรรมชาติแห่งฌานชั้นสูงนั่นเอง

ท่านจึงเป็นพระภิกษุผู้บรรลุอรหันต์ และสำเร็จอภิญญามีฤทธิ์นานาประการ ตั้งแต่ครั้งก่อนที่ท่านจะเดินทางมาสู่ประเทศจีนแล้ว

ด้วยเส้นทางบุญ บารมีของท่านโพธิธรรม ที่ลงมาทำหน้าที่แห่งตนในฐานะโพธิสัตว์

ผู้ที่ผูกใจซึ่งเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาของตนไว้ต่อตถาคตเจ้า และได้อธิษฐานต่อหน้าองค์พระพักตร์แห่งพระศาสดาเจ้า

ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ใต้ต้นสาละคู่นั้นแห่งเมืองกุสินารา

ว่าตนจะลงมาทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมคำสั่งสอนอันแท้จริงนี้ ตามวาระกรรมแห่งบุญวาสนาที่เคยได้สั่งสมมาไว้

เมื่อกิจคือ หน้าที่ที่ตนต้องชำระความมัวหมองแห่งใจตน ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว พระอาจารย์ปรัชญาตาระเถระจึงได้ทำการ “มอบบาตรและจีวรของตถาคตเจ้า”

ที่ได้สืบทอดรับมอบต่อกันมาเป็นช่วงๆ มาตั้งแต่รุ่นที่หนึ่งคือ พระมหากัสสปะเถระ ที่ท่านได้รับมอบบาตรและจีวรนี้ “มาโดยตรง” จากองค์พระศาสดาตถาคต

พระโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงถูกนับเข้าเป็น พระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 แห่งนิกายเซน และท่านเองก็ได้รับหน้าที่

ให้เผยแผ่พระธรรมคำสอนที่แท้จริงตามธรรมชาตินี้ ให้คงอยู่ต่อสืบไปอย่างไม่มีวันที่ขาดสายลงไปได้

นี่…ปรมาจารย์แห่งนิกายเซนเริ่มมาปักหลักเผยแพร่ลงในจีน เริ่มมาจากท่านพระโพธิธรรม

เมื่อท่านโพธิธรรม ได้เดินทางมาเมืองจีนแล้ว ชาวจีนได้เรียกท่านด้วยความเคารพว่า “ปรมาจารย์ตั๊กม้อ”

และถึงแม้ว่าคำสอนของท่าน ยังไม่เป็นที่เข้าใจแพร่หลาย และท่านก็มีลูกศิษย์เป็นจำนวนน้อยมาก

แต่การสืบทอดคำสอนของท่าน ก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยอยู่ภายใต้ “เงื่อนไข” ในกรรมวิสัย แห่งโพธิสัตว์รุ่นหลังทั้งหลาย

ที่จะลงมาเกิดและเข้ามารับธรรม เพื่อสืบต่อไปเป็นรุ่นๆ จนถึงรุ่นที่หก

ก็ในคราวนั้น ท่านเว่ยหล่างหรือฮุ่ยเหนิง ซึ่งเป็นโพธิสัตว์ผู้ที่มีปัญญามากและมีบริวารมากเช่นเดียวกัน

ก็จะลงมาเกิดเพื่อทำหน้าที่แห่งตน และในคราวนั้น คำสอนอันคือหลักธรรมชาติแห่งนิกายเซนนี้

จะถูกแพร่ขยายสืบต่อไปตามสายธารธรรมแห่งลูกศิษย์ท่าน และจะเป็นที่ยอมรับนับถือกันไปอย่างกว้างขวาง ทั่วทุกหนทุกแห่งในผืนแผ่นดินจีน

และก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบต่อกันไป จนเป็นศาสนาประจำชาติ หยั่งรากลึกลงถึงอย่างมั่นคง แผ่ไปในประเทศญี่ปุ่นสืบต่อไปใน ภายภาคหน้า

เมื่อคำสอนแห่งนิกายเซนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ด้วยบุญบารมีแห่งท่านเว่ยหล่าง จึงมีการจัดลำดับ “คณาจารย์”

ผู้ที่ได้รับสืบทอดคำสอนที่แท้จริงอันคือธรรมชาตินี้ และได้รับบาตรและจีวรแห่งตถาคตเจ้าสืบมา

โดยที่ท่านโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อ เป็นผู้ที่ได้รับสืบทอดเป็นองค์ที่ 28

และทางคณาจารย์ทั้งหลายแห่งเซนในประเทศจีน ได้ยกย่องให้ท่านเป็น สังฆปรินายก องค์ที่ 1 แห่งนิกายเซนประเทศจีน

นี่ เป็นเส้นทางคร่าวๆ ของท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ

เรื่องวิถีแห่งเซนนี่ มันอาจจะเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไป

เพราะมันเป็นการตีความความหมายด้วยความเข้าใจ ของตนเอง

มันเหมือนกับการใช้วาทะแห่งศีลปิน เป็นความหมายแห่งพันธะในนิยามของเจ้าของ ที่ผู้อื่นต้องแปลเอา

บางแห่งก็ใช้วิธีรุนแรงตอบโต้ พฤติกรรมและความคิด

แต่กระทำด้วยความมีจิตที่ไม่มีความคิดอะไร ทั้งกุศลและอกุศล

การตีด้วยไม้ ด้วยกระบอง หรือฝ่ามือ เพื่อกระตุ้นให้เข้าถึงธรรม บรรลุธรรมในฉับพลัน

คนไม่เข้าใจก็คงหวั่นไหวและหาคำตอบไม่ได้

ว่านี่มึงเป็นอะไรของมึงนี่ ไอ้อาจารย์..!

พระธรรมเทศนาจากบทธรรม เรื่อง ” วิถีเซ็น ท่อนสี่ ” ท่อนที่ 1 ณ วันที่ 16 เมษายน 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง