สงสัยเรื่องปิติ ปฐมฌาน กับฌานสอง ตัวเดียวกันหรือไม่

สงสัยเรื่องปิติ ปฐมฌาน กับฌานสอง ตัวเดียวกันหรือไม่

325
0
แบ่งปัน

**** “สงสัยเรื่องปิติ ปฐมฌาน กับฌานสอง ตัวเดียวกันหรือไม่” ****

<<<< สงสัยครับพระอาจารย์ ปิติในฌานสองกับปิติในปฐมฌานตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่านี่ฌานสอง นี่ปฐมฌาน ขอโอกาศรบกวนพระอาจารย์ครับ

ผมตอบคำถามศิษย์ไม่ได้ ตรงตามความเป็นจริง มันคาใจมานานตั้งแต่บวชพรรษาแรกๆแล้ว

ขอขมาครับพระอาจารย์

>>>> พระอาจารย์…

ท่านต้องทำความเข้าใจเรื่องจิตก่อนนะครับ

พุทธนั้นการทำสมาธิ แตกต่างไปจากการทำสมาธิของเหล่าศาสนาอื่น

ส่วนใหญ่ที่เราสอนๆทำๆกันนี่ เป็นสมาธินอกศาสนา ที่เขาทำกัน

ผมไม่ได้กล่าวว่าพระอาจารย์ที่สอนๆกันมาน่ะครับ

เริ่มต้นนั่นน่ะถูก แต่พออาการจิตเคลื่อนแล้วเราให้นิยามกันไม่ถูก

เมื่อให้นิยามไม่ถูก เราก็จะใช้วิธีคิดเอาเอง

โดยเอาหัวข้อธรรมในตำรา มาสวมมาต่อเข้ากับคำอธิบาย ในการทำสมาธิ

พูดง่ายๆว่านึกกันไป

ทำให้การทำสมาธินั้นไม่เกิดมรรคผล ตรงตามพระพุทธองค์กล่าว

ปิติที่เราเป็นๆกันนี้ ไม่ว่าจะมีอาการอะไร ที่ปรากฏที่เกิดขึ้นกับกาย

เป็นปิติในปฐมฌานน่ะครับ ไม่ใช่ปิติในฌานสองตามที่เราเข้าใจกัน

รู้ได้ไงว่าเป็นปฐมฌาน รู้ได้ไงว่าเป็นฌานสอง..

ปิติในปฐมฌานนี่ เป็นการทำสมาธิอยู่ในอารมณ์ของ วิถีจิต

ส่วนปิติในฌานสองนั้น เป็นการหดของจิตเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของ ภวังค์จิต

วิถีจิตก็หมายความว่า

จิตอาศัยอายตนะ ปรุงแต่งขึ้นมาในขณะที่เราตื่นอยู่

เอาผัสสะที่ปรากฏทางประสาท กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางกาย

เช่น ตา หู ลิ้น จมูก กาย อารมณ์ เป็นเครื่องปรุง

เช่นนี้เรียกวิถีจิต

ปฐมฌานนี่ เป็นอารมณ์สมาธิอยู่ในวิถี

ประกอบองค์ฌานครบด้วย วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกคตารมณ์

เช่นนี้เรียกว่าปฐมฌาน ก็ต้องไปขยายกันอีก ในอาการของแต่ละองค์ประกอบ

ส่วนภวังค์จิต ก็หมายความว่า

จิตหดตัวเข้าไปสู่การปิดโหมดแห่งอายตนะภายนอก

ไม่ทำการปรุงด้วยประสาท กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ทางตา ทางหู ลิ้น จมูก และกาย

แต่นำเอาสัญญาทางมโนจิตขึ้นมาปรุงแทน

พูดง่ายๆก็คืออยู่ในภาวะหลับ ที่ไม่ได้หลับ

เพราะมีอำนาจแห่งสติและสัมปชัญญะ ประกอบหล่อเลี้ยงภังค์อยู่

ขอให้ท่านทราบสิ่งเหล่านี้ประกอบปัญญาเถิด

แล้วท่านจะเข้าใจถึงวิธีทำสมาธิแนวพุทธะอย่างได้มรรคผล

พุทธเราทุกวันนี้ทำสมาธิกันโดยขาดการโยนิโส

เป็นภาวะเด็กน้อยที่เข้าใจกันไปเอง ว่าได้ฌานนั้นได้ฌานนี้

สมาธิแบบฤษี คือการเข้าสู่ภวังค์โดยขาดสติ เรียกว่าไร้รูป

เอาอากาศมาเป็นอารมณ์ พอจิตเริ่มปรุง ก็จะทึกทักว่าเป็นนั่นเป็นนี่

ยิ่งถ้าเกิดเข้าไปสู่ภวังค์จิตด้วย ก็จะเข้าใจว่าได้อภิญญา

ปิติก็คือการปรุง สมาธิทางด้านฤษีเรียกว่า
วิญญาน

ที่บาลีเรียกว่า วิญญาณัญจายตนะญาน ก็คืออารมณ์ตัวนี้

ส่วนฌานสามที่เรียกว่าสุข ทางอรูปฌานก็คือความว่าง เอาความว่างมาเป็นอารมณ์

บาลีเรียก อากิญจัญญายตนะญาน

นี่..มันมีแนวทางมาในร่องอย่างนี้ ว่าไปเรื่อยจนถึงญานสี่ ที่เป็นเอกคตารมณ์

มีสติและอุเบกขาเป็นเครื่องอยู่

ทางอรูปฌานก็เรียกว่า เนวสัญญานา สัญญายตนะ อะไรไปโน่นแหละ

หากเราเข้าใจ การทำสมาธิก็สามารถไปได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน

ฌานก็คือ อารมณ์แห่งความเคยชินในสิ่งที่เป็น

การทำสมาธิ ที่ขาดผู้รู้ชี้ มันก็ไปได้แค่ระดับต้นๆของปฐมฌาน

เพราะไม่เข้าใจว่าอะไรคือ ปิติ ไม่เข้าใจว่าอะไรคือสุข ไม่เข้าใจว่าอะไรคือ เอกคตารมณ์

เรามักอ่านมาจำมา แล้วมาตีความตามความเข้าใจภาษาไทย

พอเริ่มปฏิบัติตามตำราที่เขาบอก ก็เลยเข้าใจว่า ตนได้ฌานนั่นฌานนี่

ทั้งๆที่ยิ่งทำก็ยิ่งรู้สึกแย้งในใจตนเองทั้งนั้นแหละ

พวกครูบาอาจารย์จึงมักใช้เพลงดาบสูตรเดียวกันให้แก่เหล่าศิษย์ ที่ก้าวหน้าว่า

” เออๆๆ ดีแล้วๆ ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็รู้เอง ”

ท่านเคยบอกกับศิษย์แบบนี้บ้างไหม ท่านพระครู..

พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง

วันที่ 6 มกราคม 2561