รู้จักการทำสมาธิจะได้ปฏิบัติอย่างไม่โง่

รู้จักการทำสมาธิจะได้ปฏิบัติอย่างไม่โง่

453
0
แบ่งปัน

******** “รู้จักการทำสมาธิจะได้ปฏิบัติอย่างไม่โง่ “*******

มาคุยกันถึงวิถีแห่งการทำสมาธิต่อ

มีคำถามว่า เมื่อเพ่งวัตถุแล้ว ต้องดูลมเข้าออกด้วยไหม

ขอตอบว่า ไม่ต้อง เพ่งวัตถุก็เพ่งไปอย่างเดียว

ดูลมหายใจก็เพ่งลมหายใจอย่างเดียว

ทำสองอย่างรวมกันมันจะกังวลเพิ่มขึ้น

ส่วนการจับลมเข้าออก หรือเพ่งโพรงจมูก เราก็เลือกเอาว่าจะตามลม หรือจะเพ่งแค่ความรู้สึกกับลมที่ผ่านเข้าออกตรงโพรงจมูก

การเจริญสมาธินี่ เราจรดจ่ออยู่เพียงสิ่งเดียว กับอะไรก็ได้

ข้าจะอธิบายให้ฟังถึงการเจริญธรรมเพื่อให้เกิดสมาธิ

ปัญหาของผู้ฝึกนี่ คือผู้ชี้มั่วและไม่เข้าใจในอาการที่เจริญธรรม

อย่างเช่น ตามดูลมหายใจ แล้วยังกำกับด้วยคำบริกรรมอีก

เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง ยุบหนอ พองหนอ อะไรก็แล้วแต่นี่

ครูผู้สอนมักจะสอนชี้ให้ทำหลายอย่างในขณะเดียวกันที่กำลังทำ

เช่นดูลมหายใจ ตามรู้ลมและบริกรรมไปด้วย เช่นนี้ ชี้ไม่ถูก…

หากเราจะเพ่งลมหายใจ เราก็กำหนดเพ่งลมหายใจไป มีสัมปชัญญะอยู่กับลมหายใจ

หากระลึกขึ้นมาได้ว่า หลุดไปจากการเพ่งลมหายใจ เราก็หวลกลับมาเพ่งลมหายใจใหม่ นี่เรียกว่า “สติ”

สตินี่ เป็นตัวระลึกถึงวิตก ส่วนสัมปชัญญะเป็นตัวประคองวิจารณ์

นี่..การทำสมาธิที่ท่านเรียก วิตก วิจารณ์น่ะ มันหมายถึง การตั้งเหตุขึ้นมา แล้วประคองรักษาให้เป็นอารมณ์ จนเป็นหนึ่งเดียว

การบริกรรมที่ใช้คำต่างๆนั้น เป็นการเอาคำมาเพ่ง ไม่ใช่เอาคำมาท่อง เช่น บริกรรมว่า ” พุทโธ ”

เราใช้อารมณ์จิกลงไปในพุทโธ ไม่ใช่ท่องพุทโธด้วยปากไปเรื่อยอย่างที่เข้าใจ

คำบริกรรมนี่ ท่านให้เพ่ง เหมือนที่เราเพ่งวัตถุอะไรนี่แหละ

เพ่งลงไปในคำบริกรรม เอาจิตจับอยู่กับพุทโธ ไม่วอกแวกไปไหน

พวกเรามันชอบท่อง ท่องแม่งไปเรื่อย หลับตาแล้วพุทธโธไปเรื่อย

ไม่ใช่อย่างนั้น..

ใช้คำบริกรรมอะไร ใจเราก็จิกลงไปในคำบริกรรมนั้น อย่าท่องแค่ปากท่องหรือใจท่อง

การบริกรรม ก็เป็นอาการเพ่งกสิณอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดความตั้งมั่น

คำที่ยกขึ้นมาบริกรรม เรียกว่า “วิตก”

การเพ่งประคองในคำบริกรรม เรียกว่า “วิจารณ์”

เรา..ตั้งมั่นกับวิตกวิจารณ์ด้วยอารมณ์และกำลังของเรา

เรามีหน้าที่อยู่เพียงแค่นี้ ในเรื่องการทำสมาธิ

บางคนตั้งมั่นด้วยคำบริกรรมไม่ได้ เช่นใช้คำว่า พุทโธ แล้วสมาธิมันไม่รวมตัวซักที

เลยเข้าใจว่า ตนไม่ถูกจริตกับพุทโธ นี่..ไม่ใช่เช่นนั้น

พุทโธนี่เป็นแค่ตัวสมมุติคำบริกรรม ไม่ใช่ตัวสมาธิอะไร

หรือที่ชี้กันว่า ให้ท่องพุทโธไว้ ท่องพุทโธแล้วจะไม่ลงนรก อะไรอย่างนี้ นี่..พวกนักขู่เขาขู่กันมา

ทำอะไรให้นึกถึงพุทโธไว้ก่อน ให้อยู่กับพุทโธ คนถ้ามันเหี้ยท่องโคตรพ่อโคตรแม่พุทโธมันก็เหี้ยไม่เปลี่ยนแปลง

ไม่เช่นนั้น โจรมันท่องพุทโธเข้าปล้น มันก็คงเป็นโจรไม่จัญไร นรกทำอะไรไม่ได้เช่นกัน

คำบริกรรมก็คือสมมุติอย่างหนึ่ง ไม่ได้ให้คุณให้โทษต่อใคร เป็นคำแค่ไว้เกาะในให้มีที่ตั้ง ยามปฏิบัติธรรมเพื่อตั้งมั่นในสมาธิ

ไม่ใช่เอามาปรุงซะจนคนตามโง่ไปตามๆกัน

บางคนมันชี้กันมาเช่นนั้น นั่นมันชี้มาอย่างโง่หลายๆ

แม่ชีที่วัดอัมพวัน บอกว่า ที่นี่ท่องแต่ยุบหนอพองหนอ ต้อนรับแต่ยุบหนอพองหนอ

ใครท่องพุทโธ ให้ไปฝึกที่อื่น ชิบหายเลย ไหนพระท่านว่าให้ท่องพุทโธ ท่องพุทโธแล้วไม่ลงนรกไง

นี่…ชีโง่เจ้าอารมณ์ ไม่เข้าใจเรื่องการวางจิตให้เป็นสมาธิ แต่เสือกชี้เรื่องสมาธิ ไอ้คนตามก็เลยรู้สึกไม่สุขใจ ทำอะไรก็ผิดที่ผิดทาง

คำบริกรรม เราจะใช้คำอะไรก็ได้ ตามอัธยาศัยของใจเราเอาที่สะดวก

เป้าหมายเรามันคือใช้คำเพื่อเป็นเครื่องเกาะ ให้เกิดความสงบแห่งจิต ไม่ใช่เป้าหมายยึดอยู่กับคำบริกรรม

หากบริกรรมพุทโธแล้ว คุมชักไม่อยู่ นิวรณ์เข้าแทรก

ก็ให้รัวไวๆไปเลย พุทโธๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่าให้มันหายใจ เอาให้สุด ให้มันตื่นขึ้นมา อย่าให้จมลงไปในกระแสนิวรณ์

เพ่งและท่องอย่าให้อารมณ์อื่นเข้าแทรก

นี่..วิธีนี้ ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นท่านมักจะทำกัน

การเจริญบริกรรมแบบหลวงพ่อจรัญนั้น ท่านฝึกเจริญสัมปชัญญะทางกาย

เพื่อเห็นเวทนา จิต ธรรม ในแนวทางแห่งสติปัฏฐานสี่ เป็นการเพ่งอีกอย่างหนึ่งในอิริยาบท

เพื่อให้เกิดสมาธิในการตามรู้ด้วยสัมปชัญญะ

การเจริญกรรมฐาน 40 กอง ก็เป็นช่องทางหนึ่ง

การเจริญกรรมฐานในสติปัฏฐานสี่ ก็เป็นช่องทางหนึ่ง

เหล่านี้ เรียกว่าเพ่ง และพิจารณา รวมเรียกว่าการวิปัสนา

การวิปัสนา คือ การภาวนาในหนทางแห่งการเกิดสมาธิและปัญญา เพื่อความรู้ยิ่งในสิ่งที่ยังมืดมน..!!

ทีนี้การทำสมาธินี่ เมื่อประคองวิจารณ์จนเป็นอารมณ์เดียวได้

ภาวะปรุงแต่งทางจิตมันก็จะเกิดอาการขึ้นมา เช่นตัวโยกคลอน มือไม้ใหญ่

รู้สึกตัวเบา โปร่ง สบาย ขนลุกขนพอง ตัวหมุน น้ำตาไหล เป็นอะไรต่ออะไรเยอะแยะในแต่ละคน

อาการอะไรต่างๆเหล่านี้ มันเป็นอาการปรุงแต่งทางจิต ที่ท่านเรียกกันว่า ปิติ มันเป็นปิติที่เกิดกับทางกายวิญญาน

มันยังมีปิติทางมโนวิญานอีก เช่นเห็นนั่นเห็นนี่ ไปนั่นไปนี่ รู้นั่นรู้นี่ รวมไปถึง

เห็นนรกสวรรค์ นางฟ้า นิพพาน พระพุทธเจ้า เข้าเฝ้าทึกทักเพื่อรอประทานนิพพานกันไปเลย

ไอ้อาการปิตินี่ มันเกิดเป็นธรรมดา อยู่ที่เราจะตั้งวิตกวิจารณ์ปรุงแต่งอะไรขึ้นมาด้วย

ทางโสตวิญญานก็มี ทางฆานะวิญญานก็มี พูดง่ายๆว่าจิตมันปรุงทางอายตนะที่เป็นช่องทางเข้าทุกทาง ที่เราเรียกช่องพวกนี้ว่า อายตนะ

หลับตาแล้วเห็น มันจะเอาลูกกระตาที่ไหนไปเห็น ถ้าไม่ใช่การปรุงทางจิตให้มันรู้สึกว่าเห็น

มันเห็นด้วยการปรุง ถึงได้บอกว่านี่เป็นอาการหนึ่งของปิติ ทางมโนจิตวิญญาน

มันยังมีอีกมากมายที่จะขยายให้ฟัง แต่ไว้คราวหน้าก็แล้วกัน

ขอตัวก่อน มีแขกมาว่ะไอ้น้อง..!!

พระธรรมเทศนา วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง