เอะอะก็พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน

เอะอะก็พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน

869
0
แบ่งปัน

ลูกศิษย์ : นมัสการพระอาจารย์ คำภาวนา ที่ใช่ในการบริกรรม เข้าใจถูกหรือป่าว ไว้เป็นที่ตั้งแห่งสติ สงสัยว่าพระพุทธเจ้าท่านได้บัญญัติเป็นมาตรฐานไว้หรือป่าว

พุทธ พุทโธ เป็น พุทธะวจน เป็นคำของครูบาอาจารย์ ครับ กรรมฐาน 40 กอง เป็นของ พราหม โยคี ฤาษี หรือ นักบวช อื่นๆ เพราะพระพุทธเจ้าท่านคงไม่ได้ให้สาวกเพ็งกสิน นะครับ

กลับมาที่ คำภาวนา หรือ องค์บริกรรม ครับ ดูเหมือนคาถา หรือ พาสเพริด ที่แต่ละสำนัก คิดขึ้นเอง ใช่ไหมครับ อาจารย์

ผมเคยไปในสำนักที่บอกเป็นร่างทรงของพุทธเจ้า หลายพระองค์ด้วย และมีลูกศิษย์เยอะมาก คับ และใช้องค์บริกรรมที่แปลก มีอาการแปลกเกิดขึ้นด้วย เช่น แสดงออกมาเป็นบุคคลอีกคน

พระอาจารย์ : อ้อรู้มาจากไหน ว่า พระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้เพ่งกสิน นี่เราคิดเอาเองแล้ว กรรมฐาน 40 กองนี้ หากว่าจะเรียกว่าของพราหมณ์ ก็ไม่ถูกอีก

คือสรุปว่า ยังเข้าใจไม่ถูก ในเรื่อง ของ ภาวนา กสิณ และกองกรรมฐาน และ ชาวพุทธเรา ก็เข้าใจผิดกันมากๆ

ด้วยเหตุแห่งการเข้าใจผิด ปฏิบัติยังไง มันก็ไม่เกิดมรรผล เพราะความเข้าใจผิดเป็นเหตุ เหมือนคนที่หลง ต่อให้รู้ชำนาญทางยังไง แม้หลง ก็จะคิดว่าไม่หลง

ครั้งหนึ่ง สมัยก่อน ข้าเองก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน คิดเอา แล้วตัดสิน และไม่ได้รู้ลึก ไปกว่าที่เข้าใจเลย มันไปตันตรงความที่คิดว่าเอาและคิดเอา มันเป็นหลักกูไปซะ

และขาดปัญญา พิจารณาไม่ออก เหตุเพราะ ไปคิดเรื่องไกลเกินตัว เกินปัญญา และทึกทักเอา โดยคิดว่า เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้

สมัยก่อน ข้าเองไม่รู้จะไปถามใคร เพราะผู้โดนถาม ก็รู้มาจากตำรา แล้วคิดเอา ตามเหตุตามผล ที่ตัวตนตัดสิน รู้มา ก็ไม่เกิดประโยชน์

เพราะเป็นเรื่อง ที่ต่างคนต่างไม่รู้จริง มันขาดผู้รู้ชัด มาอธิบาย สิ่งที่พวกเราเข้าใจ เกิดจากใจของเราเข้าใจกันเอง

เพราะฟังตามโลกเขาว่า หากเราได้พิจารณา วิเคราะห์ ตามหลักเหตุหลักผล แห่งผลที่ปรากฏ ก็จะรู้ชัด แต่มันก็เกินปัญญาเราอีก

เพราะเราขาด การปฏิบัติ อะไรคือการปฏิบัติอีก เราก็มั่วของเราไปอีก ถึงตอนนี้ ข้าไม่แปลกใจเลย ที่ว่า ทำไม พระพุทธองค์ จึงได้สาธยาย อะไรไว้มากมาย

นี้เพราะว่า ผู้เดินตาม เอาตัวตนเข้าไปสงสัย ในแต่ละขั้นตอน ในแต่ละความหมาย ที่พระพุทธองค์ได้แสดงมา

ว่างแล้วจะมาอธิบายเรื่อง อะไรคือการ ภาวนา อะไรคือกสิณ อะไรคือกรรมฐาน จะบอกว่าเป็นของพราหมณ์ ก็ไม่ได้ จะบอกว่านี้เป็นของพุทธบัญญัติขึ้นมา ก็ไม่ได้ ทั้งกสิณ กรรมฐาน และการภาวนา

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรวงกล่าวกับเหล่าสาวกว่า ทุกคนต่างรู้ว่า อักขระแห่งคำโบราณ เป็นของดี เป็นของเลิศ มีประโยชน์ ต่อการปฏิบัติ ต่อการเป็นอยู่

แต่น่าสียดาย ที่สมณะพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้จัก ความหมายแห่งอักขระ แห่งคำโบราณเหล่านั้น ตรงกับความเป็นจริง ตามความหมายแห่งอักขระเหล่านั้นเลย

อนาคตต่อไป เหล่าสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ก็จะยังคงเป็นเช่นนี้ นี่…ท่านได้กล่าวเอาไว้ ซึ่งพวกเราก็เป็นกัน ข้าก็เป็น นี่เพราะ ขาดผู้รู้จริงมาอธิบาย

แต่ความหมายแห่งอักขระเหล่านี้ เป็นเรื่องง่ายมาก สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรม เพราะความหมายที่โลกเขาแปลๆ กัน บางครั้งมาห่างจากความจริงโข

ยิ่งแปลก็ยิ่งพอกพูนเปลือกให้หนาขึ้น แกะเนื้อเยื้ออันหวานฉ่ำมากิน มันก็แสนยาก มันติดเปลือกซะหมด และพวกเรา มักชอบแดกเปลือกกันซะด้วย

นี่..กล่าวเหตุให้ฟังก่อน ในเที่ยงนี้ ของสวัสดี และเจริญในธรรมตรงตามความเป็นจริงเถิด

ข้าจะขอกล่าวเพิ่มเติมอีกหน่อย แม้พระไตรปิฏกเอง ที่เราศึกษากันเรียนรู้กัน ก็เป็นการแปลกันออกมา เพื่อความพอเข้าใจ เพื่อพอเป็นแนวทาง

ผู้ศึกษายังคงต้องตีความและค้นคว้าความหมายคำแห่งบาลี ให้ใกล้เคียงที่สุด

ไม่ใช่พออ่านคำจากพระไตรปิฏกฉบับภาษาไทยแล้ว เป็นอันว่า นี่เป็นการรู้ข้อความที่สุดแห่งธรรม มันไม่ใช่อย่างนั้น

อย่างคำแห่งพุทธวจนะ ที่ยึดและแสดงตัวเป็นเจ้าหลักการหลักกูกัน นี่ลอกคำแห่งคนแปลเขามาเป็นพระพุทธเจ้าพูด

หากสิบคนแปล ก็ต้องให้นิยามความหมายเทียบเคียงธรรมกัน ด้วยภาษาสมมุติอย่างไทยๆ สิบอย่างล่ะ

แล้วเราจะเอาของใครมาเป็นคำถูกต้องของพระพุทธเจ้าได้ ที่ตรงความหมายที่สุด และอ้างได้อย่างเจ้าหลักกูมันบอกว่า นี่คำของพระพุทธเจ้า

คำแปลที่เป็นธรรมเดิมๆนั้น เป็นภาษาบาลี ท่านมหาเปรียญธรรมที่ชำนาญ ท่านยังให้ความหมายแห่งธรรมยังลึกซึ้งไม่ได้

ต้องหลายๆท่านช่วยกันแปลและออกความเห็นยืนยัน คำบาลีอันเป็นคำโบราณออกมาให้ใกล้เคียงที่สุด

นี่พวกบ้าพุทธวจนะ มาอ้างว่า คัดลอกและเอามาจากฉบับ สยามรัฐ ไอ้บ้า..!! โกหกและด้อยความรู้ของเจ้าสำนักเป็นที่สุด

ฉบับสยามรัฐนี่ มันเป็นภาษาบาลี ที่ใช้อักษรไทยเพื่อสะดวกในการอ่านแบบไทยๆ
เหมือนคำที่เราใช้ท่องสวดมนต์ มันไม่ได้มีคำแปล

ส่วนที่แปลมาอีกทีจากสยามรัฐ ก็เป็นเหล่าอรรถาจารย์รุ่นใหม่นี่แหละ เทียบเคียงและให้ธรรมคำแปล จากประโยคบาลีเป็นภาษาไทย เพื่อให้พอเข้าใจและเป็นแนวทางความหมาย

แต่ถึงกระนั้น ก็ให้ความหมายแห่งคำไม่ถูก เป็นแค่เทียบเคียงธรรม ไม่ใช่หลักการและชี้ชัดได้ ว่าคำแปลออกมานี่ ถูกต้องตามพุทธประสงค์ของพระบรมครู

เราจะหามหาเปรียญธรรมมาแปลธรรมให้ถูกต้องตามหลักสัจธรรมนี่ ยากมาก

ที่ยากเพราะเป็นการแปลจากตำราสู่ตำรา ใช้วิธีเทียบเคียงคำแบบความหมายคำอย่างเราแปลคำจาก ดิกชั่นนารี่ ซึ่งแปลประโยคยังไงมันก็ไม่ตรงสัจธรรม

ความหมายแห่งสัจธรรมมันลึกซึ้ง กว้างแต่ตรงสำหรับผู้เข้าถึงธรรมอธิบาย

แต่ความหมายจากตำรา ตีบตันและคับแคบ ยึดหลักการ คลุมเคลือไม่ตรงกับความหมายแห่งความเป็นจริง และที่สำคัญ มันเป็นท่อนๆไม่ต่อเนื่องยากแก่การเข้าใจ

ยิ่งเสาหินอโศก ยิ่งบ้ากันไปกันใหญ่ อ้างกันได้ว่าได้บันทึกธรรมคำแห่งพุทธวจนะ

คำสลักนั้นที่สมบรูณก็แทบไม่มี ที่มีก็เป็นหลักธรรมมาภิบาลของหลักการปกครอง จริยธรรม ความเป็นอยู่

ที่เกี่ยวกับหมู่สงฆ์ ก็กล่าวถึงสงฆ์นอกรีต ที่มีมากมายให้หมั่นศึกษาและอยู่ในกรอบแห่งคำสอนคำชี้ ขององค์พระศาสดา

ไม่ได้เป็นคำของพระศาสดา ที่จะมาอ้างได้ว่า นี่เป็นคำแห่งพระพุทธวจนะ

นี่..พวกสำนักพุทธวจนะ ไปเอาคำแปลที่เขาแปลกันออกมา ซึ่งยังต้องศึกษาค้นคว้าและเทียบเคียงธรรมจากผู้รู้ยิ่งๆขึ้นไปอีก ไม่ใช่เป็นธรรมเป็นบทตายตัวที่พากันมายึดๆกัน

แล้วเอาคำแปลเหล่านี้ มาอ้างว่า พระพุทธเจ้าพูด เพื่อยกตนว่าเป็นผู้เดินตรง เป็นศิษย์ตถาคตแท้ แล้วฟาดฟันผู้อื่นด้วยวาทะแห่งอัตตา ที่ตนยึดมั่นอย่างแข็งขัน

ผู้อื่นที่ไม่เอาคำแปลเหล่านี้ ผิดหมด เป็นพวกนอกคอก เป็นผู้ไม่เดินตรง

นี่..ในฐานะข้าปฏิบัติโดยตรงจากป่า ไม่ได้เป็นขี้ข้าแห่งอาริยะอักษร ตรงนี้มองออกไปเห็นชัดว่า มั่ว..

ความตั้งใจเผยแพร่ศาสนานั้นดี เจตนาดี แต่เฮงซวยเพราะเอาหลักกูเข้าไปใส่ในเจตนา

หลักกูมันก็เลยคับแคบตีบตันและไม่เป็นธรรม เหล่าสาวกที่สมองตีบตัน จึงยกคำแห่งพุทธวจนะ มาสวมหัว เพื่ออวดอ้างตนว่าเป็นผู้รู้ธรรมเป็นเจ้าของธรรมคำที่ถูกตรงตามพระพุทธเจ้าพูด

ว่าหัวโขนที่กูสวม ที่แปลมาด้วยหลักกูตามตำราที่ลอกเขามานี้ ผงกหัวขึ้นลงเป็น นกหรรม ร้องแต่ถ้อยคำว่าจุ๊กกรู๊ กูถูกๆๆๆๆ

ว่ากันเป็นกระสัย อย่ามาถือสานะอ้อ

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง