เส้นทางพระโสดาบัน ท่อน 5

เส้นทางพระโสดาบัน ท่อน 5

585
0
แบ่งปัน

ธรรมที่มันประเทืองปัญญา ฟังง่าย ตามรู้ง่าย เข้าใจง่าย

ธรรมที่จำคำเขามา ใครมันก็อ่านก็เห็นกันได้

คุณธรรมไม่ได้วัดจากจำมามาก หรือจำพระสูตรกันได้ แล้วบอกว่านี่คือธรรม

โง่ตายเลย อวดภาษาธรรมที่ไปลอกเขามา แล้วนำมาแปะโชว์

ว่านี่ มันต้องเป็นงั้นงี้ ตามเจ้าของคิด

อย่างนี้ นักธรรมผู้แก่เรียน ก็คงเป็นอริยะสงฆ์กันหมดทุกรูป

ในธรรมจักรกัปปะวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ท่านได้กล่าวเรื่องธรรมอันเป็นส่วนของชาวบ้าน

ที่สมณพราหมณ์ ไม่ควรเข้าไปซ้องเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยโค กับ อัตถกิลมถานุโยโค

อัตถกิลมถานุโยค กับ กามสุขัลนุโยค นี่ เป็นธรรมดาของชาวบ้านที่เขาเป็นกัน

ที่เป็นธรรมของชาวบ้าน หากแปลกันตรงๆก็คือ ความถูกใจกับไม่ถูกใจนี่แหละ เอาภาษาเราเข้าใจง่ายๆ

อะไรที่มันถูกใจ นี่มันก็ไหลไปตามกระแสกาม นี่เป็น กามสุขฯ

อะไรที่มันไม่ถูกใจ มันก็ผลักใส ไม่เอา ไม่ต้องการ นี่เป็น อัตถฯ

มันเป็นสมุทัยทั้งคู่ ผลก็คือทุกข์

เหตุของสมุทัยก็คือ ตัณหาที่ผุดขึ้นมาไม่รู้จบจากใจเจ้าของนั่นแหละ เป็นเหตุ

นี่..ความหมายของคำว่า กามสุขฯ กับ อัตถฯ มันอยู่เบื้องหน้าเราอย่างนี้

หากเรา ลด ละ เลิก ตัณหาที่ผุดขึ้นมาจากใจได้ ทุกข์ทั้งหลายมันก็สงบ

การมีสติ พิจารณา ลด ละ เลิก ตรงตามความเป็นจริง

นี่เป็นการเดินทางแห่งมรรคผลก็คือ ความดับความสงบเย็นแห่งทุกข์ที่เร่าร้อน

ธรรมจักรกัปปะฯ เป็นปฐมเทศนา ว่ากันด้วยหลักเหตุหลักผล

ไม่ใช่มุ่งความหมายว่า อัตถฯ หมายถึงการทรมารกายให้ลำบาก อย่างที่แปลออกมานั่น

ไอ้ความไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจจากเจ้าของนั่นแหละ เป็นเหตุแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจเจ้าของ คือความหมายแห่ง อัตถกิลมถานุโยโค

ส่วนความถูกใจ ชอบใจนี่ มันเป็น กามสุขัลลิกานุโยโค

นี่ สิ่งเหล่านี้ เป็นธรรมดาของชาวบ้านทั่วไป ที่เขาเป็นๆกัน

สมณะพราหมณ์นักบวชไม่ควรจะเข้าไปซ้องเสพ เพราะมันเป็น สมุทัย

มันเป็นธรรมของชาวบ้าน มันเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ต้องแปลขยายออกไปอีกในรายละเอียด

กล่าวบาลีมาลอยๆ ใครมันจะไปรู้เรื่อง

นักบวชควรมีสติ ลด ละ เลิก ธรรมเหล่านี้ ด้วยปัญญาที่ว่าถึงองค์แห่งมรรคทั้งแปด

มรรคทั้งแปดก็คือ ใจที่มีสติดำเนินมาทางกุศล

คือการสำรวม กาย วาจา ใจ

แค่ยกมือท่วมหัวด้วยใจที่เป็นกุศล มรรคทั้งแปด มันก็เข้าหมดแล้ว ไม่ต้องมานั่งแยกเป็นข้อๆ

พุทธไทยเรามันแยกเป็นข้อๆ เขาก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นองค์ องค์ก็คือองค์ประกอบ

เหมือนส้มผลหนึ่ง มันมีองค์ประกอบด้วย ท่านแยกให้เห็นว่า นี่เปลือก นี่ใย นี่เนื้อ นี่เมล็ด อะไรอย่างนี้

แต่จริงคนเข้าใจแล้ว มันก็คือส้มผลเดียวนั่นแหละ หากหิวก็แดกๆๆไปเหอะ ไม่ต้องมานั่งแยกแยะ ผบคืออิ่มเหมือนกัน รู้จักก็ได้ไม่รู้จักก็ได้

กระดุมเม็ดแรกถูก ที่เหลือก็ถูกหมด นี่เป็นทางแห่งสัมมา

กระดุมเม็ดแรกผิด ที่เหลือก็ผิดหมด นี่เป็นทางแห่งมิจฉา

สัมมา ก็มีสติพิจารณา ลด ละ เลิก ในตัณหาที่ผุดขึ้นมาจากใจไม่รู้จบนั่น

มิจฉา ก็ว่าไปตามกระแสแห่งกู ชอบใจไม่ชอบใจ ในตัณหาที่ผุดขึ้นมาจากใจไม่รู้จบนั่น

เหตุแห่งตัณหาก็คือ เวทนาที่มาจากผัสสะ

นี่..ถ้าไม่มีสติ มันก็จะหลงเดินไปตามแนวทางแห่ง สมุทัย ผลก็คือทุกข์

ถ้ามีสติ พิจารณา รู้จักสาวผลไปหาเหตุ ใจมันก็ไม่ไหลไปตามกระแส นี่เรียกว่า เดินตามทางมรรค ผลก็คือ นิโรธะ คือดับ

นี่..ท่านว่าถึงหลักอริยสัจมาตามนัยยะนี้ มันเป็นหลักเหตุหลักผล

แต่การแปลขยายมากความไป คนไทยก็งง

พวกเรามันจำเขามาปรุงแต่งกัน อย่าเพิ่งทำเป็นคนเก่งไปเลยเพื่อนเอ๋ย

พระอัญญาโกณทัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีปัญญามองเห็นเหตุ

มองเห็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายก็คือ ใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จักจบสิ้นนี่แหละ

และเกิดปัญญาตามรู้ตรงตามความเป็นจริงว่า

หากมีสติ ลด ละ เลิก ด้วยปัญญาตรงตามความเป็นจริงตามเหตุปัจจัย ความทุกข์ทั้งหลายย่อมสงบลง นี่เป็นทางเดินที่เรียกว่า มรรค ผลก็คือ นิโรธะ

นิโรธะหรือนิโรธนี่ก็คือดับ มันดับด้วยใจเจ้าของ ที่เข้าใจถึงเหตุ

คำว่า อริยมรรค ก็หมายถึง ทางอันประเสริฐ เป็นเส้นทางคือความเป็นจริงที่จะดับทุกข์ทั้งหลาย

อย่างเช่น สัมมาอาชีโว ไม่ใช่ไปแปลให้ความหมายว่า อาชีพค้าขาย ไอ้ห่า..เกี่ยวไรกะข้าขาย นี่แปลอย่างไร้ภูมิธรรมกันเลยทีเดียว

สัมมาอาชีโว ที่ดันแปลว่า อาชีพชอบนี่ ท่านหมายถึง ” เครื่องหล่อเลี้ยงใจ ที่มันเป็นกุศล ”

ไม่ใช่อาชีพหล่อเลี้ยงกาย ที่ขายนั่นขายนี่

การค้าขายมันเป็นเหตุปัจจัยหล่อเลี้ยงชีพ แต่ใจที่เป็นกุศล อบรมแล้วนี้มันหล่อเลี้ยงจิต

ทุกข์มันเกิดที่ใจ เหตุเพราะพ่ายกระแสแห่งตัณหา เรียกว่าสมุทัย นี่เป็นเส้นทางในการเกิดทุกข์

การ ลด ละ เลิก ตั้งสติข่มใจไม่ให้ไหลไปตามกระแสแห่งตัณหา เรียกว่ามรรค นี่เป็นเส้นทางในการดับทุกข์

ถ้าเข้าใจง่ายๆซะ มันก็เห็นความจริงแห่งสัจธรรมที่ค้านไม่ได้

ถ้ามัวเอาแต่ภาษาตามตำรามาแปลความซ้อนๆลงไป มันก็เป็นความหมายของภาษาไทยที่ยิ่งแปล คนอ่านคนฟังก็ยิ่งงง

ข้าเข้าใจอริยสัจด้วยความประจักษ์ใจ ความจริงแห่งความหมายมันประจักษ์ชัดใจเช่นนี้ จะไปตามคนอื่นที่เขาคิดเอาปรุงเอา ว่าเอาได้ไง

มันก็ต้องว่าไปตามใจที่มันประจักษ์ ใจมันยืนยันประจักษ์อย่างหนึ่ง เสือกพูดและให้ความหมายอีกอย่างหนึ่ง

มันก็บ้าและลวงโลกกันเท่านั้นเอง ให้มาฟังคนตาบอดเล่าเรื่องช้าง ในเมื่อตนเองก็เห็นอยู่ว่าช้างเป็นอย่างไร

ถ้าเชื่อฟังคนตาบอดที่บอกเล่าด้วยจินตนาการ มากกว่าสองตาที่เป็นปัญญาของการมองเห็น
สิ่งที่มองเห็นมันเป็นของปลอม ของจริงต้องตามคำของคนตาบอดเล่าโน่น เจ้าของตาดีมันคงฉลาดตายชัก…ไอ้ห่า