หวัดดียามดึก นอนกันรึยังฟังนิทานไม๊
ข้าจะเล่าเรื่องจิตให้ฟัง
โดยธรรมดานี่ ข้ามักจะหนักมาทางด้าน นั่งสมาธิ นี่ เมื่อก่อนข้าจะหนักมาทางนี้มากกว่าการเดินจงกลม
ที่นี่ เมื่อนั่งๆ ไป ความเคยชินแห่งจิตที่มันทำอยู่บ่อยๆ มันก็เกิดการรวมจิต
สมัยก่อน ข้าเข้าใจว่า จิตที่กำลังจะเข้าไปสู่ความแปลกประหลาดนี่ มันกำลังก่อตัว คืออาการมันเหมือนกับจะล่องลอย ตัวหวิวๆ เคริ้มๆ ยังไงๆ แปลกๆ บอกยากเหมือนกัน
ใจมันคล้ายจะสั่นๆ มีภาวะเหมือนกำลังจะดิ่งเข้าไปสู่อะไรซักอย่าง ที่กำลังจะก่อตัวเกิดขึ้นมา แต่มันก็วูบออกมาคลายตัวออกมาซะก่อนทุกที
กลายเป็นรู้สึกตัวในสภาวะเดิม
ข้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นปีๆ เลยถามรุ่นพี่ รุ่นพี่เขาบอกว่า สงสัยฌานมันไม่ติด จิตถึงเข้าไม่ได้ นี่ข้าเป็นอยู่นาน ใครก็แก้ให้ไม่ได้
ต่อเมื่อได้มาฝึกอยู่ในป่า ข้าถึงได้รู้ว่า ภาวะที่กำลังจะเข้าฌาน อย่างที่ข้าเข้าใจนั้น ที่แท้ จิตมันถอยออกจากฌานต่างหาก ไม่ใช่กำลังจะเข้า แล้วเข้าไม่ได้
นี่การฝึกสมาธิจิต หากไม่มีผู้รู้เรื่องจิตมาชี้แนะ รับรอง ได้โง่ตลอดชาติจนตายได้ หากไม่มีปัญญา
เมื่อมันเข้าใจกลับกัน ใจมันก็เข้าร่องของมัน ถึงได้รู้ความจริงว่า ขณะที่เป็นสมาธิจิตนั้น ใจมันไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นอะไรหรอก มันมีแต่สติที่ลอยเด่นเป็นเอก
วางตัวเป็นอุเบกขาอยู่เช่นนั้นแหละ ไร้การปรุงแต่ง
นี่เป็นภาวะแห่งรูปฌานสูงสุด ที่เรียกกันว่าฌาน สี่
หากทำจนคล่อง หายใจไม่กี่พรืด มันก็เข้าฌานสี่ได้ ที่นี่ หากเราสอดส่องลงไปด้วยสติ เพื่อจับภาวะแห่งอาการจิต
เราจะเห็นชัดตั้งแต่ การตั้งจิตเพื่อทำสมาธิ ที่เรียกว่า วิตก
มันจะเห็นชัดถึงการประคองจิต นี่เรียกว่า วิจารณ์
มันจะเห็นชัด ถึงอาการแห่งจิตที่เริ่มปรุงแต่ง นี่เรียกว่า ปีติ
มันจะเห็นชัดถึงความอิ่มเอิบในภาวะที่ไม่รำคาญต่อสิ่งใดๆ นี่เรียกว่า สุข
มันจะเห็นชัดถึงความเป็นอารมณ์เดียว ที่รู้ตัวทั่วพร้อมถึง วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข นี่ สมาธิแห่งเอตคตารมณ์ อันเรียกว่า ใจมันหยั่งถึงแห่งปฐมฌาน
เมื่อตั้งมั่นแห่งสติสอดส่งลงไปในอาการทั้งหลาย เราก็สามารถแยกแยะออกมาตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้รสจนาเอาไว้
ว่ามันเป็นของมันอย่างนี่ ด้วยใจเราเองอย่างประจักษ์ใจ
มันยืนยันด้วยตัวของมันเองได้ อย่างไม่สงสัยในอาการที่เป็น นี่เมื่อเข้าใจ เข้าร่องของมัน ปัญญามันก็เกิด
เมื่อเคยชินมากเข้ากับอารมณ์เดียวที่รู้ตัวแห่งองค์ประกอบฌาน ใจมันก็จะไปเพ่งแต่อาการปีติ เพราะปีติมันปรุงแต่งของมันไปเรื่อย
มันเกิดไม่ค่อยเหมือนกันซะด้วย ใจมันจึงมุ่งไปตรงจุดนั้น
แต่ทุกอาการ ที่สติระลึกได้ เรียกว่าปีติหมด
ปีตินี่ เกิดทางกายก็มี
ทางเสียง ทางกลิ่น ทางมโน ก็มี
มันก็แยกแยะกันออกไปอีก ทางมโนนี่จะหนักหน่อย มักเห็นนู่น โน่น นั่น ด้วยการปรุงขึ้นมา
บางทีก็เกิดพร้อมกัน ทั้งทาง เสียง กลิ่น กายและทางมโน นี่มันเกิดขึ้นได้
ถ้าทางกาย สติมันจะระลึกได้ถึง ตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวลอย ขนลุกขนพอง น้ำตาไหล ขนหัวตั้ง หนาวเหน็บ อะไรอย่างนี้ เกิดขึ้นเยอะแยะ ไม่เหมือนกันในแต่ละคน
ทางเสียงก็จะได้ยิน นู่น นี่ นั่น อย่างข้านี่ นั่งๆ ได้ยินทั้งเสียงฟ้าร้อง น้ำตก นกร้อง อะไรป่าๆ หรือถ้ำเช่นเสียงร้องของค้างคาว อะไรอย่างนี้
ถ้าคืนสติลืมตา เสียงเหล่านี้จะหายไป เมื่อมันเข้าใจอาการอย่างนี้ ใจมันก็เลยไม่ค่อยจะสนใจอะไรเท่าไหร่
ถ้าทางกลิ่น นั่งๆ อยู่ดีๆ อาจหอมหรือเหม็นซากศพอะไรอย่างนี้ ข้านี่แผ่เมตตาชิบหาย ได้กลิ่นไม่ได้ แผ่ทันที
จริงๆแล้ว บ้าไปเอง มันไม่ได้มีใครอะไรที่ไหนมาขอหรอก มันเป็นอาการปีติ ที่ปรุงแต่งขึ้นมาเอง ทางผัสสะ มันปรุงเป็นธรรมชาติของมัน มันเป็นแค่อาการทางจิตที่ปรุงมาทางกลิ่น
ถ้าทางรูป มันก็จะเห็นนั่น เห็นนี่ เห็นไปเรื่อย นี่ก็เป็นอาการแห่งปีติจิต ที่ภายในมันปรุงขึ้นมา มันปรุงเป็นธรรมดาของมันเช่นนั้น
ในระหว่างที่ใจมันเพ่งและขลุกอยู่กับอาการแห่งปีติ
วิตก กะวิจารณ์ มันก็เบาบางจางคลายหายไป ใจมันมีสติรับรู้ในส่วนที่ละเอียดที่มันกำลังเพ่งอยู่ วิตกวิจารณ์ มันเป็นของหยาบที่ไม่มีความน่าสนใจไป
เหมือนเรามองดูเหรียญที่วางไว้สองเหรียญ เมื่อเพ่งเหรียญหนึ่ง อีกเหรียญหนึ่ง มันก็เริ่มเลือนรางจางหายไป แต่จริงๆ มันก็ไม่ได้หายไปไหน
เป็นแต่ใจ มันตัดสิ่งที่ไม่ได้เพ่งไม่ได้สนใจออกไปก็เท่านั้น
ตรงนี้ก็เหมือนกัน เมื่อใจมันมาเพ่งอาการแห่งจิต คือ ปีติ วิตก วิจารณ์ มันก็เลยเจือจางหายไป
มันเหลือเหลือแต่ ใจที่มันเพ่งรับรู้อยู่แต่ ปีติ สุข และเอตคตารมณ์ ท่านให้นิยามอาการเช่นนี้ว่า จิตมันอยู่ในภาวะแห่งฌานสอง
มีปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นวิหารเครื่องอยู่แห่งใจ
นี่จิตมันหดตัวลงมา เหลือองค์ประกอบแค่ สาม เรียกว่าฌานสอง
อาการอย่างนี้มันจะรู้เห็นเด่นชัด อธิบายได้โดยไม่ต้องไปทำความเข้าใจอะไรจากตำรา
แต่เมื่อเห็นตำราที่เขาให้นิยามมา เราก็จะเข้าใจ เมื่อใจเราสอดส่งลงไปในอาการที่มีที่เป็น มันจะประจักษ์ใจว่าทั้งหลาย มันเป็นของมันเช่นนี้เอง
เรียกว่าฌานสอง เป็นอาการในขั้น ปีติจิต เราบังคับให้เกิดำม่ได้ มันเป็นของมันเองตามแต่ที่หด้บันทึกและสะสมมา ซึ่งแต่ละคน ไม่เหมือนกัน
แบตจะหมดแล้วว่ะ คือนี้ พอแค่นี้ก่อน ข้าง่วงแล้ว ค่อยมาต่อ ฌานสาม ฌานสี่ และอรูปฌานกัน
คืนนี้ หวัดดี
พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 26 มกราคม 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง