รู้จักเรื่องภพก็จบการเวียนวนในวัฏฏะ

รู้จักเรื่องภพก็จบการเวียนวนในวัฏฏะ

462
0
แบ่งปัน

**** “รู้จักเรื่องภพก็จบการเวียนวนในวัฏฏะ” ****

ขอสาธุคุณสวัสดี

วัฏฏะนี่ อาศัยภพเกิด งั้นเราไปคุยเรื่องเหตุแห่งการเกิดวัฏฏะกัน

นี่ห้าโมงครึ่งแล้ว อากาศชักร้อน

เคยได้พบข้อความว่า

พระท่านบอกว่าให้เราระวังความคิด

จริงๆแล้ว ความคิดมันเป็นธรรมชาติของมัน

เจ้าของย่อมคิดดีและชั่วได้ นี่เป็นธรรมดา

ความคิดนั้น เราห้ามมันไม่ได้หรอก เราจึงไม่จำเป็นต้องไประวัง

สิ่งที่ระวัง ก็คือ การแสดงออก และการกระทำตามกระแสความคิดนั้นมากกว่า

ความคิด..เราห้ามไม่ได้

แต่เรา..ห้ามการแสดงออกและการกระทำของเรา ไม่ให้เป็นโทษได้..!!

พุทธศาสนา ชี้ว่าเจตนาเป็นกรรม

กรรมอาศัยเจตนาเกิด

ทีนี้การเกิดของกรรมนี่ มันแยกออกเป็นองค์ประกอบสามส่วนอีก

คือ..กรรมทางกาย

…กรรมทางวาจา

…กรรมทางใจ

นี่..กรรมมันอาศัยเหตุสามประการนี่เกิด

เราจะมาว่าการเกิดแห่งวิบากของกรรมกัน

กาย วาจา ใจนี่ มันมีเจ้าของแสดง

กรรมทั้งหลาย มันเริ่มที่ใจก่อน

ใจนี่ มันอาศัยผัสสะปรุง

ทีนี้ มันก็ปรุงของมันไปเรื่อย ดีบ้าง ชั่วบ้าง มันก็ทำหน้าที่ของมันไป

จะเจตนาหรือไม่เจตนา มันก็ปรุงของมันล่ะ

ทีนี้ กรรมต่างๆมันอาศัยภพ

ภพนี่ จริงๆแล้วต้องแปลว่าเหตุ

เพราะมีเหตุ ผลจึงมี

ผลที่ปรากฏนี่ บาลีเขาเรียกว่าชาติ

ชาติคือการเกิดกำเนิดออกมา

ชาตินี่ อาศัยภพเป็นเหตุ เป็นแดนเกิด เป็นแดนกำเนิด

ทีนี้ ใจนี่..มันก็มโนเพ้อ ปรุงของมันไปเรื่อยแหละ

เราห้ามมันไม่ได้หรอก

ฉะนั้น ใครที่บอกว่า ห้ามความคิด หยุดความคิด หยุดปรุง อะไรต่ออะไรนี่

มันเป็นธรรมที่บิดเบือนความจริงแห่งธรรมชาติ

เป็นธรรมที่ลงไปสู่ความละเอียดไม่พอ

ขยายความหมายแห่งผลรวมแห่งองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดวิบากกรรมไม่เป็น

พูดง่ายๆก็คือ ยังขาดปฏิภาณทางธรรมอยู่

ยังไม่เข้าใจเรื่องภพ อันเป็นต้นเหตุแห่งวิบากกรรมทั้งหลาย

พอดีมีแขกมา ต้องพอไว้แค่นี้ก่อน ทวงๆกันเอาเองเด้อ..

เรามาต่อกัน…

เรื่องความคิดนี่ เราห้ามคิดไม่ได้ นี่..เราพึงรูไว้

แต่เราห้ามการแสดงออกได้ ห้ามไม่ให้กระทำตามความคิดได้

เมื่อเราห้ามในสองส่วนได้ กรรมต่างๆทั้งหลายมันก็จะไม่เกิด

ที่ไม่เกิด เพราะภพมันไม่ครบกาลแห่งองค์ประกอบ

กาลในที่นี้ ก็คือ กาย วาจา และใจ

ใจนี่..มันคิดดีคิดร้าย ชั่วช้าเลวทรามหรือดีเลิศประเสริฐสะเมนเต็นอย่างไรก็ตาม

มันเป็นอาการของจิตที่ปรุงไปตามวาสนาภูมิ

มันอาศัยผัสสะปรุง เหมือนน้ำที่โดนไฟ มันก็ย่อมร้อน

จะไปห้ามไม่ให้ร้อนนี่ ไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้น

แต่เราห้ามไม่ให้แสดงออกมาได้

แสดงนี่ คือการสื่อออกมาในสิ่งที่ตนคิด

เมื่อใหร่ที่สื่อแสดงออกมา ภพอีกตัวก็เกิด

เมื่อภพสองตัวเกิด มันก็มีกำลังให้เกิดการกระทำ

แต่ถ้าระงับการกระทำในสิ่งที่แสดงออกได้

เจ้าของก็เสวยวิบาก อยู่เพียงแค่นั้น ไม่ลามไปกว่านั้น

คิด แสดงออก มีความเชี่ยวกรากจนเกิดการกระทำขึ้นมา

เช่นนี้ กรรมทางกาย วาจา ใจ มันเกิดครบ เรียกว่าครบทั้งองค์ประกอบสามภพ

กรรมอันเป็นวิบากมันจะเกิดวนเวียนมาสู่เจ้าของจนเป็นวัฏฏะกรรม

ซึ่งก็หมายความว่า เรามีกรรมนั้นเป็นเครื่องอยู่ มีกรรมเป็นทายาท

มีกรรมอันเป็นเผ่าพันธ์ประจำใจเราอันเป็นวิบาก เสวยไม่มีที่สิ้นสุด

กรรมที่เราต้องเผชิญวิบากซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นกรรมที่เกิดจากใจอันมีเจตนามาจาก กาย วาจา ใจ ครบทั้งสามภพ

เช่น..เราเห็นหรือผัสสะกับผู้หญิงคนหนึ่ง เธอสวยและถูกใจเรามาก

นี่..ความถูกใจหรือไม่ถูกใจอะไรใดๆ ภพมันเกิด

ผัสสะแล้วมันก็ปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ

ผู้มีปัญญา ย่อมรู้ว่า นี่เป็นธรรมชาติของมัน ที่เป็นสันดานเดิม

ห้ามไม่ให้ปรุงก็ไม่ได้ ความเป็นจริงแห่งสันดานสัญญามันปรากฏอยู่

ความถูกใจและไม่ถูกใจ มันย่อมมีการปรุง นี่เป็นธรรมดา

ถูกใจ แต่ไม่ได้แสดงออกว่าเราชอบใจ มองเห็นสักแต่ว่าเธอสวย เธอน่าสนใจ

เป็นที่รักที่น่าใคร่ของเราหนอที่ได้พบเจอเธอ

เช่นนี้..ภพเกิดที่เราฝ่ายเดียว คือภพจิต เมื่อผ่านไปมันก็ดับเป็นธรรมดาของมัน

แต่เมื่อใดที่แสดงออกมาให้เขาเห็น เขารู้ความต้องการในใจเราที่ผัสสะต่อเขา

ว่าเราพึงพอใจหรือไม่พอใจ

นี่.กรรมทางวาจามันสร้างภพให้เกิด ความเชี่ยวกรากแห่งอารมณ์ มันจะทวีแรงขึ้น

หากระงับไม่ได้ เกิดการกระทำขึ้นมา จากเหตุแห่งภพทั้งสอง

เช่นสร้างกรรมส่วนเดียว เรากระทำด้วยตัวเราเอง อย่างเช่นสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง

เพราะเหตุแห่งความพ่ายแพ้อารมณ์กำหนัดที่มันถาโถม

เช่นนี้..หากเป็นพระ ก็เรียกว่าต้องสังฆาทิเสท คือต้องอาบัติหนัก

ระงับการกระทำแห่งภพทั้งสองไม่อยู่ คือ ความคิดและการแสดงออก กระทำมันขึ้นมา

เป็นกรรมที่กาย วาจา ใจ เกิดขึ้นครบ วิบากกรรมมันก็เกิด

ถ้าพระก็ต้องไปอยู่กรรมกันเพื่อแก้กรรมที่กระทำ

แต่ถ้า เกิดการกระทำด้วยเหตุทั้งสองฝ่าย คือร่วมเพศกัน

เช่นนี้เป็นกรรมที่เป็นวัฏฏะ เป็นความพ่ายแพ้ของใจเจ้าของ

ทางพระเรียกว่าปาราชิก หมดจากความเป็นพระไป

กรรมมันมีวิบาก วิบากกรรมมันอาศัยร่องการเกิดมาในแนวร่องนี้

คือเริ่มที่ใจ อาศัยกายผัสสะ แสดงออก และกระทำ

เมื่อครบการกระทำทั้ง กาย วาจา ใจ การเวียนไปในกรรมอันเป็นวิบาก ก็จะวนเวียนมาสู่เจ้าของโดยไม่รู้จบ

เมื่อวิบากกรรมมาให้ผล เจ้าของก็ย่อมดิ้นรนไปตามกระแสแห่งใจที่มันผัสสะ

ใจที่ใหลไปตามกระแสแห่งการผัสสะ โดยขาดความยั้งคิดอีก นี่เป็นสมุทัย

ผลก็คือ มันจะเป็นการก่อภพก่อชาติขึ้นมาใหม่ เรียกว่าทุกข์

มันอาศัยใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบ เป็นเสบียงในการดำเนินจิต

แต่หากมีการอบรบ ยับยั้ง กระแสแห่งตัณหาที่ผุดขึ้นมาไม่รู้จบนี้ได้

เช่นนี้เรียกว่ามรรค ผลก็คือ ความทุเลา เบาบาง จางคลายในกรแสแห่งตัณหา

เช่นนี้เรียกว่านิโรธะ

นิโรธะก็คือ ความสงบลง เย็นลง เป็นหนทางดำเนินไปสู่หนทางแห่งการดับภพ

นี่..ว่ากันพอคล่าวๆ ให้เรามีหนทางในการเป็นที่ตั้งแห่งใจ

พระอรหันต์เจ้า ท่านเข้าใจเรื่องภพ แจ้งเรื่องภพ

เมื่อท่านแจ้งธรรมแห่งความเป็นจริงเช่นนี้ การบวชอยู่ในเพศบรรพชิตนี้

จะช่วยให้ท่านดับภพที่จะเกิดต่อไปได้ ท่านจึงไม่เทียวออกไปจากเพศแห่งบรรพชิตนี้

การรู้แจ้งโลก ว่าสรรพสิ่งล้วนสมมุติ แต่ยังออกไปสร้างภพแห่งกระแสสมมุตินั้น

ภพแห่งวิบากภูมิ มันก็จะก่อเกิดขึ้นมาใหม่ และเวียนใหลไปโดยไม่รู้จบ

ไม่ใช่ว่า ตรัสรู้แล้วเป็นอันว่าจบ หมดภพหมดภูมิ เป็นชาติสุดท้าย อย่างที่ตำราโม้ๆกันมา

จะเป็นพระอรหันต์ จะเป็นผู้ที่เรายัดเยียดว่าเป็นผู้พ้นโลก

หมดจรดไปจากกิเสลแล้วทั้งหลาย

นั่นมันเราคิดและยัดเยียดสมมุติลงไปว่า ต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้

ลองพระอรหันต์สร้างภพแห่งการแสดงออก ที่เรียกว่าทางวาจา และการกระทำ ที่เรียกว่าทางกาย ขึ้นมาดูซิ

เสบียงแห่งวิบากกรรม มันก็จะก่อรูปขึ้นมาทันที

เพราะเราไม่ใช่เจ้าของมัน ไปเป็นเจ้าของอาการแห่งธรรมดาของมัน ไม่ได้เลย

ไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ หรือพระพุทธเจ้าก็ตาม ต่างตกอยู่ในธรรมชาติแห่งนิยามนี้หมด

ไม่งั้น พระอรหันต์เจ้า ที่ต่างตรัสรูแล้ว ว่าความจริงมันคืออะไร

สึกออกไปจากความเป็นเพศนี้ ไปอยู่สบายๆกายและในด้วยความรู้แล้ว ในผลแห่งการตรัสรู้ดีกว่า

พระพุทธเจ้าประกาศธรรม ด้วยความเป็นพระราชา มันง่ายกว่า ยิ่งใหญ่กว่า

แต่ต้องประคองรูปให้อยู่อย่างยาจกก็เพราะธรรมชาติแห่งภพนี่เป็นเหตุ

ฉะนั้น..เพศแห่งบรรพชิต สำคัญมากในการตัดภพชาติที่มันจะเกิด

ปราชญ์นักรบ..ย่อมยืนทรนงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสแห่งศาสตร์ตราวุธ

เราฝึกมาเพื่อรบเพื่อเผชิญ ไม่ใช่เพื่อหลบ

รบท่ามกลางศัตราวุธ อย่างไม่พรั่นพรึงในกองกำลังแห่งข้าศึก

ศึกแห่งพรหมจรรย์ที่จะรักษาได้ ก็คือการเผชิญ และรบกับมันด้วยความว่างเปล่าในชัยชนะ

ธรรมชาติแห่งปราชญ์ผู้กำชัยชนะ

ท่านย่อมรู้ว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย มันเป็นของมันเช่นนั้น

มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดประกอบกันขึ้นมา

ไม่ใช่สรรพสิ่งทั้งหลาย..เกิดจากกูเป็น..!!

ขอสาธุคุณ หวัดดียามเช้าวันพุธ

พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง วันที่ 21 มีนาคม 2560