ดับรูป – นาม

ดับรูป – นาม

1333
0
แบ่งปัน

ธรรมบทนี้ พระอาจารย์ได้เทศน์สดๆ เมื่อวานนี้ ประโยคต่อประโยค ให้กับเหล่าศิษย์ เป็นธรรมที่หาฟังยาก เพราะเป็นธรรมที่ลุ่มลึก ตามรู้ยาก แต่ท่านก็ได้นำออกมาคลี่คลายด้วยภาษาง่ายๆ นี่คือธรรมแห่ง มุตโตทัย ขอเชิญทัศนา.!!

>> ลูกศิษย์ : กราบนมัสการครับ
>> ลูกศิษย์ : ลต.นิมนต์เทศน์ค่ะ

<< พระอาจารย์ : วันนี้ จะคุยเรื่องอะไรดี เห็นถกเถียงกันอยู่เรื่อง รูป งั้น…. อย่ามัวเสียเวลา เอาเรื่องรูปนาม เอาเรื่องเสียง

การจะคุยธรรมกัน เราจะไปตอบธรรมลอยๆไม่ได้หรอก การพูดธรรม ต้องมีองค์ประกอบธรรมให้พร้อม ไม่เช่นนั้น เขาจะทิ่มเอา เถียงกันไม่จบ เพราะโดยปกติ คนทั้งหลาย เขาขยำธรรมเป็นก้อนๆอยู่แล้ว เขามั่วกว้างๆ หากตอบไปลอยๆ เสียเวลาเปล่า เพราะมันจะเถียงไปเรื่อย เพราะธรรมทั้งหลาย มีกาลซ้อนกันมากมาย

>> ลูกศิษย์ : กราบนมัสการค่ะ พอจ.

<< พระอาจารย์ : เออ..หวัดดี อ้อ.!! แต่ละคน รู้ไม่เท่ากัน กาลของใคร กาลของมันซะด้วย มันจึงพูดกันไม่รู้เรื่อง แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน

เสียงเป็นได้ทั้งรูปและนาม เสียง มองไม่เห็น เราเรียกว่า นาม แต่การได้ยินเสียง ทำให้ยืนยันในเสียงได้ ว่า ที่แท้ เสียงก็คือรูป

เพราะเอาเครื่องมือ ที่ประกอบกันเป็นหู เข้าไปเห็น อะไรที่เห็น สิ่งนั้นย่อมเป็นรูป เหมือนเราเห็นด้วยตา ตา ใช้สำหรับเห็นรูป หูใช้สำหรับเห็นเสียง ลิ้นใช้สำหรับเห็นรส จมูกใช้สำหรับเห็นกลิ่น กายใช้สำหรับเห็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจ สำหรับใช้เห็นอารมณ์

อะไรที่โดนเห็น สิ่งนั้น ย่อมเป็นรูป แต่สิ่งที่โดนเห็น เราดันมาใช้กับคำว่าตา มันเลยไปบดบังความจริง ของสิ่งที่ตามองไม่เห็น ว่า เป็นนาม อย่างเช่น เสียง

เมื่อตามองไม่เห็น เราเรียกว่านาม นี่ เขาสอนกันมา ว่ากันมาอย่างนี้ ที่จริง เขาก็ชี้กันมาลึกกว่านี้ แต่โดนตัดทิ้งหมด

เมื่อเราเข้าใจความจริง เราจะรู้เลยว่า ชี้กันมาไม่ถูก เพราะการเห็นแต่ละอย่าง มันใช้เครื่องมือ ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป กลิ่นมองไม่เห็น เราก็คิดว่าเป็นนาม รสมองไม่เห็น เราก็คิดว่าเป็นนามอีก นี่เข้าใจผิดกันมาโดยตลอด

แต่มันก็ถูกในอีกความหมายหนึ่ง ที่ให้เหตุ ผล เฉพาะอย่าง สิ่งที่ตามองไม่เห็น มันสามารถเห็นด้วย ช่องทางอื่น ฉะนั้น ทุกช่องที่มีหน้าที่ เห็นกันไปตามหน้าที่ สิ่งที่ผ่านมากระทบ ย่อมเป็นรูป รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ เป็นรูปหมด คือเป็นสิ่งที่สำผัสได้ แต่รู้การเห็น นี่ซิ เป็นนาม เสียง เป็นรูป การได้ยิน เป็นนาม

>> ลูกศิษย์ : อะฮ้า. เข้าใจแล้วคะ

<< พระอาจารย์ : รส เป็นรูป การได้รู้รส เป็นนาม กลิ่น เป็นรูป การได้กลิ่น เป็นนาม ความร้อนเป็นรูป รู้สึกร้อน เป็นนาม รูปนามนี้ก็คือ เหตุ กับผล โลกนี้มีอยู่แค่นี้ คือ เหตุ ผล เป็นกฏ อิธทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

ทำไมเราจึงเรียกสิ่งที่มากระทบเรา อย่างเช่น เสียง กลิ่น รส ที่เรามองด้วยตาไม่เห็น ว่าเป็นรูป เหตุเพราะว่า สิ่งเหล่านี้ อย่างเช่น เสียง เมื่อมากระทบเป็นรูป การได้ยินทำไมเป็นนาม

เพราะการได้ยิน มันผ่านกระบวนการแห่งนามทั้ง 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาญ เป็นตัวชี้ อย่างเช่น เสียงเกิดขึ้น การได้ยิน คือผัสสะ ตัวแรกที่เกิดคือ เวทนาที่เป็นอวิชา ทำหน้าที่ การพิจารณา คือสัญญาก็เกิด เมื่อโยนิโสเกิด การปรุงแต่งทางเจตนา คือสังขารก็เกิด การปรุงแต่งเกิด ความรู้ในสิ่งที่ปรุงก็เกิด

ทั้งหมด เป็นกระบวนการของนามขันธ์ ที่จะเกิดเป็น เวทนา ทั้งหมด ส่งไปแปลรวมรู้กันที่สมอง เป็นรู้ที่มีสมมุติประกอบไว้เสร็จ ในอัตภาพที่เป็น วิถีวิญญาณ คือเป็นเราเป็นสัตว์ มีเลือดเนื้อ ประสาทเส้นเอ็นสัมผัส นี่แหละ

เวทนาตัวนี้ เป็นเวทนา ที่ผ่านกระบวนการแห่งนามขันธ์ เป็นเวทนาที่วิญญาณได้รับรู้แล้วว่า เป็นเสียงอะไร

เพราะมันมีสมมุติ เป็นตัวยืนยันอยู่ ถ้าไม่รู้จัก มันก็จะดำเนินไปอีกรูปแบบหนึ่ง ถ้ารู้จัก มันก็ดำเนินการต่อไปในรูปแบบหนึ่ง

เวทนาตัวแรก ที่โดนผัสสะ เป็น อวิชา เกิดการปรุงแต่งโดยโปรแกรมแห่งนามขันธ์ เป็น จิตสังขาร กระบวนการปรุงแต่งครบ เป็นวิญญาณ

สมมุติแห่งวิญญาณ เพื่อการรับรู้ คือ นาม รูป นาม รูปนี้ เป็นเครื่องมือให้วิญญาณได้รับรู้ อาการแห่งผัสสะ คือเวทนา… (ต่อท่อน 2)