ถาม, ตอบ เรื่อง จิตว่างกับตัวรู้

ถาม, ตอบ เรื่อง จิตว่างกับตัวรู้

281
0
แบ่งปัน

******* “ถาม, ตอบ เรื่อง จิตว่างกับตัวรู้” *******

<<<< พระฉันข้าวเย็นนี่ บ้านผมมีเยอะ แต่เขาบอกว่าไม่ผิดพระธรรมวินัยนี่ครับอาจารย์

>>>> ….เรื่องฉันข้าวเย็นนี่ เป็นเรื่องน่าอายสำหรับภิกษุเลยทีเดียว

บวชแล้วยังมักมากในอาการ อ้างนู่นนี่นั่น เพื่อกายเพื่อกิเลสตนเอง

ความกินอยู่หลับนอนไม่แตกต่างจากชาวบ้าน

แต่อยากให้ชาวบ้านทำบุญ และนับถือตนฟังตน

เรื่องอาหารนี่เป็นเรื่องลด ละ เลิก อย่างแรกๆเลยสำหรับผู้ปฏิบัติ

มื้อเดียวนี่ เหลือเฟือสำหรับภิกษุผู้บวช

นักรบที่เราพอจะพึ่งพาในสงครามที่เขาทำการรบเพื่อนำความผาสุขมาสู่พวกเรา

ควรแข็งแกร่งและไว้ใจเขาได้

ไม่ใช่พวกคนป่วยเหยาะแหยะ ไร้เรี่ยวแรงแต่ทำมาแผลงฤทธิ์โม้ว่าเป็นนักรบ

พวกอาศัยชุดนักรบหาแดก หาลาภ หาสรรเสริญ หาความสุขแห่งกิเลสตน

บนผืนแผ่นดิน มีมากมายมหาศาล เอาที่ใจเราว่าไปตามเหตุปัจจัยก็เราก็พอ..

>> คำถาม : พระอาจารย์ครับ จิตว่างจิตต้องสงบ
จำเป็นไหมครับต้องเป็นเช่นนี้
หากจิตว่างจิตสงบ
แล้วเราจะมีปัญญาไตรตรองเช่นไร
เพราะปฏิบัติธรรมต้องอาศัยจิต
จิตสติสัมปชัณญะต้องคู่กันไป
หากมัวมาแต่งปรุงให้จิตว่างจิตสงบ
แล้วจะพบธรรมแท้ได้เช่นไรครับ
สาธุนมัสการครับ

>>พระอาจารย์ : จิตว่างจิตสงบนี่…มันต้องข่มด้วยอำนาจสติและสมาธิ

เพื่อที่จะข่มเวทนาที่มาจากอำนาจการปรุง

นี่…มันก็อย่างหนึ่ง..!!

ส่วนการไตร่ตรอง วินิจฉัย นี่…ก็อีกอย่างหนึ่ง..!!

การทำจิตให้ว่างให้สงบนี่ มันเป็นการฝึกอบรมย้อมใจตน ไม่ให้ใหลไปตามกระแสแห่งเวทนา ที่มีเหตุมาจากผัสสะ

เหมือนนักกล้ามซ้อมยกน้ำหนัก เพื่อให้กล้ามมันแข็งแรง

กล้ามแข็งแรง เพราะการซ้อมมาอย่างหนัก

แต่ไม่เคยเอาความแข็งแรงแห่งกล้ามไปใช้ยกอะไร

มันก็ไม่ต่างจากคนแขนลีบง่อยเปลี้ย ที่ยกอะไรไม่ได้ดุจเช่นเดียวกัน

การทำจิตให้ว่าง ให้สงบนี่ เป็นการปรุงแต่งอย่างหนึ่ง นี่..ถูกต้อง

การว่างและสงบในพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่างสงบอย่างพุทธนิกายต่างๆ อย่าง เซน เป็นต้น

ที่เอาผลมาใช้ โดยไม่ทำการสาวไปถึงเหตุปัจจัย

ความว่างแบบให้นิยามความเห็น กับเข้าใจ ว่าธรรมชาติทั้งหลาย มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง ด้วยเหตุปัจจัย ที่เกิดปัญญาสว่างประจักษ์แจ้งนี่ มันคนละสภาวะกัน

ความว่างและสงบในทางพุทธศาสนา หมายถึง

มีปัญญารู้แจ้งถึงความเป็นจริงในสรรพสิ่ง ด้วยการสอดส่องสาวผลทั้งหลายแคบเข้าไปหาเหตุ

ว่ามันเป็นของมันเช่นนั้นเอง ไม่ต้องไปเสือกเป็นเจ้าของการวางและว่าง ด้วยเจ้าของเล็งผลและคิดเอา

ที่ท่านว่างและสงบ ท่านว่างและสงบด้วยความเข้าใจในสรรพสิ่ง

ว่าธรรมชาติทั้งหลาย มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดทั้งสิ้น

จะเสือกหรือไม่เสือก จะเดือดร้อนหรือเย็นสงบ

มันก็เป็นของมันเช่นนั้นแล..

ผลแห่งธรรมที่โคตรปราชญ์อธิบาย ใครๆก็รู้ได้ทั้งนั้น

สำคัญตรงที่ ปราชญ์บอกว่าผลนี้มันหวาน

เราแค่เชื่อว่าหวานตามปราชญ์

แต่ในความเป็นจริง เราไม่เคยเรียนรู้ที่จะไขว่คว้ามาชิม ว่าหวานเช่นไร..

นี่…คือปัญหาของคนทั้งหลาย ที่ไม่สามารถเข้าถึงธรรมอันมีความเป็นจริงด้วยตัวเขาเอง..!!

>>> หนูนั่งสมาธิจนเกิดตัวรู้ค่ะพระอาจารย์ รู้ชัดว่ามันเป็นแค่การปรุงแต่งขั้นมาด้วยขันธ์ห้า ไม่ใช่เราเป็นผู้ปรุงแต่ง…… ไม่มีเราเป็นเจ้าของกายนี้….มันเป็นรู้ในรู้อย่างไม่เคยรู้มาก่อนเลยเจ้าค่ะ..

<<<< รู้แบบนี้ มันรู้แบบปรุงแต่งขึ้นมาน่ะหนู เป็นอัตตาเป็นเราอาการหนึ่ง

รู้นี่ ไม่ใช่รู้นั่นรู้นี่ขึ้นมา แล้วจะเรียกว่าเป็นตัวรู้

ตัวรู้นี่หมายถึงญานตัวหนึ่ง ที่มันเห็นชัดว่า กายนี้ มันประกอบด้วย กายส่วนหนึ่ง เวทนาส่วนหนึ่ง ผู้ดูส่วนหนึ่ง และผู้รู้ส่วนหนึ่ง

รู้นี่ เป็นเวทนาที่เป็นอาการของวิญญานในจิตที่ปรุงแต่งมาจากอวิชา

มันไม่มีใครเข้าไปเห็นด้วยความหมายอย่างที่เราๆเข้าใจกัน

มันเป็นแค่นิยามความหมายหนึ่ง ที่เราปรุงขึ้นมาใช้เรียก อาการหนึ่ง ที่มันเกาะรวมกันเป็นก้อน ให้เห็นชัดถึงสภาวะที่แยกออกมาจากก้อน ก้อนนั้น ที่เราหลงยึดกันด้วยความหลงที่ไม่เข้าใจ…

พระธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์ ธรรมกะ บุญญพลัง วันที่ 18 สิงหาคม 2559