ธรรมแห่งญานผู้เพ่งดูใจ

ธรรมแห่งญานผู้เพ่งดูใจ

390
0
แบ่งปัน

****** “ธรรมแห่งญานผู้เพ่งดูใจ” ******

มีปัญหาสำหรับผู้ปฏิบัตมาถามข้า พวกเราหลายคนก็คงเป็นกัน เขาถามมาว่า

นมัสการค่ะ พระอาจารย์

ขอเรียนถามค่ะ
จิตถูกกดดันจากอารมณ์ปฏิฆะ กลายเป็นคนมักโกรธ ความโกรธพุ่งพล่านในใจเมื่อกระทบกับสิ่งที่เป็นปฏิฆะ อย่าง เสียง บุคคล ฯ

แต่ไม่ได้แสดงออกค่ะ กดข่มอารมณ์ ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ วาดระแวง และฟุ้งซ่านค่ะ

ภาวะปฏิฆะ เกิดจากการถูกเพ่งโทษ การถูกแบ่งแยก คำกล่าวหาให้ร้ายต่างๆ
ที่กระทบและบีบคั้นค่ะ

วางใจอย่างไรดีค่ะ..

ภายนอกนิ่งสงบไม่แสดงอาการอะไร แต่สภ7าวะภายในมันดิ้นรนค่ะ

เกิดดับ เกิดดับถี่ยิบเลยค่ะ กลัวเผลอขาดสติ ทำอะไรที่ไม่ควรค่ะ

เหมือนโดนน้ำท่วมห้องแล้วไม่มีทางออกค่ะ

>>>> นี่เป็นคำถามของน้องเขา ข้าจึงให้ข้อคิดไปว่า

ให้เข้าใจว่า นี่เป็นอาการธรรมดาของจิตที่มันปรุงของมันเป็นธรรมดา

ใครๆก็เป็นกัน

ปัญหาเกิดจากเจ้าของไปเป็นเจ้าของในอาการที่มันแสดง โดยไม่รู้ว่า อาการที่แสดง มันเป็นธรรมดาของอาการปรุงแต่งแห่งจิต

วินิจฉัยโยนิโสตามความเป็นจริงว่า

อาการต่างๆที่ใจเราแสดงอยู่ภายใน

มันเกิดจากเขาทำให้เราเป็น

หรือเกิดจากเรามันเสือกเป็น เมื่อโดนเขาทำ

เขาย่อมเป็นธรรมดาของเขาเช่นนั้น

เป็นแต่เรา ที่มักยอมไม่ได้ จากในสิ่งที่เขาเป็น

เขาว่าเรา เขาทำในสิ่งไม่ถูกใจเรา

ทำไมเราจึงเป็นและเกิดอาการ

นี่…ความเป็นอัตตา ที่หลงยึดเพราะเขาไม่ได้ดั่งใจเรา อย่างที่เราเคยชินในความที่เราเป็น

มันกลับมาเป็นหอกเป็นดาบทิ่มแทงใจเราเอง

ความแหลมคมจากหอกดาบนี้ เกิดจากใจเรา ที่ดันไปเสือกไม่พอใจในความเป็นเขา

ที่การแสดงของเขา มันเสือกมากระทบใจเรา แล้วเรา อ่อนกำลังที่จะต้านได้

นี่..เราขาดกำลังทางด้านปัญญา ที่จะเข้าไปคลี่คลายเหตุที่มันเกิด

เรามีแต่กำลังสมาธิ ที่ใช้ข่มแต่เวทนา ที่เรากระทบเท่านั้น

อาการไม่ถูกใจ อึดอักขัดข้องหม่อนหมองใจ

อาการทั้งหลายเหล่านี้ มันเกิดจากใจเรา ไม่ใช่เกิดจากเขาเป็นหรือเขาทำ

นี่เป็นความจริง ที่เรา มองไม่เห็นความเป็นจริงในข้อนี้

เรามันด้อยปัญญาที่จะคิด เราเป็นเจ้าของแห่งอัตตา ที่คิดว่า ที่เราเป็รและมีอาการ มันเกิดจาก พวกเขาทำให้เรามันเป็นอยู่เสมอ

นี่..เพราะความไม่ชอบใจ ในผัสสะที่มันมากระทบอัตตาแห่งใจตน ที่ตนยึดอัตตาทั้งหลาย ที่เป็นอากาศ มาเป็นหอกทิ่มแทงใจเจ้าของ

คนเรามักจะโทษสิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบ นี่เป็นธรรมดา

ความจริง เขาไม่ได้มากระทบเราหรอก เป็นแต่เรานี่แหละ แหกออกไปรับ รูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ จากเขา

หากเราหูหนวก เสียงที่เขาแหกลั่นแค่ไหน มันก็ไม่มีเสียง

หากเราตาบอด ท่าทาวยียวนแค่ไหน มันก็มองไม่เห็น

หากไร้จมูก กลิ่นเน่าแค่ไหน เราก็ไม่เหม็น

เมื่อเราเข้าใจตรงตามความจริงเช่นนี้ สรรพสิ่งที่เราคิดว่า มันมากระทบ

มันไม่มีอะไรมากระทบ สิ่งที่เราคิดว่ามันมากระทบ

มันเกิดจากเรานี้ วิ่งออกไปกระทบกับสรรพสิ่งด้วยอายตนะของเราเอง

แต่สำหรับคนที่มีกำลังปัญญายังอ่อน สมาธิยังอ่อน

แม้จะอ่าน จะฟัง จะรู้แค่ไหน

รูปมันก็ยังเป็นรูป ที่มันมีกำลังเป็นหอกเป็นดาบ มากระแทกใจอยู่ดี

เสียงมันก็ยังเป็นเสียง ที่มันมีกำลังเป็นหอกเป็นดาบ มากระแทกแทงใจเราอยู่ดี

กลิ่น รส ผัสสะ อารมณ์ ทั้งหลายที่เราเป็น มันก็ยังคงเป็นหอกเป็นดาบมากระทบใจเราอยู่ดี

นี่เพราะเราไร้กำลังญานแห่งวิปัสนา ไร้กำลังปัญญาและสมาธิที่จะต้าน

เนื่องด้วยตกลงไปในกระแส พอใจ ไม่พอใจ ในสิ่งที่มากระทบใจเป็นเหตุ

นี่..เป็นเรื่อง ตัณหาที่เราไม่รู้ว่า มันผุดขึ้นมาจากใจดวงนี้เป็นปกติของมันเป็นเหตุ

นี่…กระแสเช่นนี้ เรียก สมุทัย ผลคือทุกข์

เรารู้ธรรม ฟังธรรม อ่านธรรม จนรู้แล้วว่า มันเป็นธรรมดาของมันเช่นนี้

แต่พอเราผัสสะกับใจเรา ทั้งๆที่เราก็รู้ว่า มันเป็นธรรมดาของมันเช่นนี้

แต่เราก็นังหวั่นไหว และแทบจะต้านหาทางออกไม่ได้

นี่เป็นเพราะ กำลังแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญาของเรา มันยังอ่อนแอ

ที่ดูว่ามันแกร่งด้วยความเป็นเรา

มันเกิดจากอำนาจสมาธิ ที่เราใช้การข่มอาการแห่งการก่อรูปโดยไม่รู้ตัวเท่านั้น

แต่เมื่อถึงทิฏฐิเมื่อใหร่

อาการทั้งหลายที่เราคิดว่ามันต้านได้

มันก็จะพังทะลายเป็นน้ำเขื่อนทะบัก ให้เจ้าของสั่นสะเทือนเลยทีเดียว

นี่…ความเป็นธรรมดาของเหล่าหมู่ปุถุชน ที่ยังอ่อนแอทางด้าน ปัญญาญาน

ฝึกแก้ได้โดยการ โยนิโสอยู่เนืองๆ และย้อนมาดูการปรุงของใจเจ้าของ

ว่าอาการทั้งหลายที่เจ้าของใจแสดง

มันก็เป็นของมันเช่นนี้เป็นธรรมดา

เราผู้เป็นเจ้าของ อย่าได้เข้าไปเสือกกับอาการที่มีที่เป็น อันเป็นธรรมดาของมันมากมายอะไรนักเลย

หัดยอมรับมันและอยู่กับมัน ว่ามันเป็นธรรมดาของมัน

และเราผู้รู้ความเป็นธรรมดา ก็ยังมีความเหี้ยเลวทรามไม่ยิ่งไปกว่า อาการแห่งธรรมดา ของมันที่มันเป็นและมันปรุง

เรา..ก็จะอยู่ร่วมกับอาการที่มันเป็นที่มันปรุงไปตามธรรมดาของมัน ด้วยความเป็นธรรมดา ที่ไม่ใช่เราเป็น…!!

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง