พุทธวจน… ท่อน สาม

พุทธวจน… ท่อน สาม

649
0
แบ่งปัน
>>  คำถาม  :  ..สาธุภันเต….. พระอาจารย์ ฟังข้อความนี้แล้วเป็นไฉน แล้วพระอาจารย์จะเข้าใจ ว่าทำไม พวกเราจึงจำเป็นต้องเชื่อฟัง คำแห่ง พระพุทธวจน และไม่เอาธรรมทั้งหลาย อันเกิดจากเหล่าสาวก แม้ได้ชื่อว่า เป็นครูบาอาจารย์พุทธวจน... ท่อน สามภิกษุทั้งหลาย…….!! บริษัทชื่อ….ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่าภิกษุทั้งหลาย…….!! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด…เมื่อสุนตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์ กลอน

มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะ อันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว ” เป็นคำกล่าวของสาวก ” อันบุคคลนำมากล่าวอยู่

ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญ ว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศักษาเล่าเรียน…..!!!

ส่วนสุนตันตะเหล่าใด ” อันเป็นตถาตคภาษิต ” เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ๊ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุนตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่

” พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญ ว่าเป็นเรื่องที่ควร ศึกษาเล่าเรียน ”

” พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ” ก็สอบถามซึ่งกันและกัน

ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ” ข้อนี้ พยัญชนะเป็นอย่างไร ..?? อรรถะเป็นอย่างไร….?? ดังนี้

เธอเหล่านั้น เปิดเผยในสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ ให้หงายขึ้นมาได้

บรรเทาความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ  ได้

ภิกษุทั้งหลาย…!! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา..!!

พระอาจารย์ มีความคิดเห็น อย่างไรขอรับ.. โปรดอธิบายให้แก่ผู้ที่ยังโง่ ยึดถือคำ ธรรมแห่งพุทธวจน ด้วยเถิดขอรับ…..

<<  พระอาจารย์  :  อ้อ….ได้ซิ.. พ่อหนุ่ม ..!! จะเป็นไรไป แต่ขอประกาศออกไป ให้รู้ทั่วถึงกันเลยนะ หากข้ากล่าวผิด ก็จะได้รุมกระซวกเข้ามาได้

อันธรรมะข้อความนี้ มันตื้นนัก สำหรับปราชญ์ แต่กับเปรตนี่ มันลึกหลายๆ  จะบอกให้

เหล่าเปรต มันไม่มีปฏิภาณธรรมพอ ที่จะพิจารณาธรรม ว่าอะไรคืออะไรเป็นอะไร มันมักจะยึดไว้แบบเข้าใจกันรวมๆ ตามใจเปรตๆ ที่มันสมมุติ

เมื่อจนแต้ม ก็จะไปยกตำรา มากล่าวอ้าง มาฟาดฟัน ยกธรรมตำราอันรสจนา มาเทใส่ถ้วย ราดน้ำร้อน พอเคี้ยวได้ แล้วแดกเลย

นี่… เราคุยมาตั้งนาน ข้ายังไม่เห็นว่าท่านจะมีธรรมอันใด มาแย้งธรรมที่ออกจากใจดวงนี้ได้เลย

มีแต่ไปก๊อบธรรม ขึ้นมา แล้วมาวาง ว่าท่านว่าอย่างนั้น ท่านว่าอย่างนี้ ท่านที่ไหนมันมาว่าเล่า พ่อบัณฑิต

มันเป็นคำอักษรวิจิตร ที่ท่านแปลๆ กันมา มันเป็นธรรมปรารภโลก และปรารภตนเอง ยังไม่เห็นว่า จะปรารภธรรมตรงไหน

ธรรมเหล่านี้ ท่านชี้ให้เห็น ไม่ได้บอกว่าให้ท่านเป็น ท่านชี้ให้เห็น ว่ามันเป็น อย่างงี้ๆๆๆ

ธรรมบทที่ท่านยกมานี้ ท่านแปลออกมา จากขอมบาลี จากขอมบาลี ก็แปลมาจากภาษาอะไรโน้น ที่สืบๆ  ต่อกันมาอีกที

คำแปล แปลมาครบหรือเปล่า ก็ไม่รู้ ท่านรู้แค่ ว่านี่เป็นพุทธวจน เป็นธรรมอันเป็นคำ จากพระโอษฐ์ จึงยกคำเหล่านี้ มาเพ่งโทษ ผู้ที่ไม่กระทำตามตำรา ที่ท่านยึดๆ  กันมา

ประโยคแรกนั้น ท่านก็กล่าวไว้แล้วว่า คำแห่งอักษรวิจิตร ที่มีมาจากกวี จากกาพย์ กลอน เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของ ” สาวก ”

ความหมายนั้น หมายถึง สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ตั้งแต่ จริยาธรรมทั้งหลาย ไปจนถึงธรรมแห่งความพ้นทุกข

เป็นธรรมของโลก เป็นธรรมอันเป็นวิสัยปุถุชนยึดถือ เป็นอุปาทานอยู่

ส่วนคำที่ว่า เป็นคำกล่าวของสาวกนี้ หมายถึง สาวกนอกแนว สาวกที่ยังไม่กล่าวตามธรรม สาวกที่ยังไม่เป็นผู้มีศีล ไม่ใช่ผู้นำทางธรรม

ยังเป็นผู้ที่เดินตาม แต่กล่าวธรรม อันเกินปัญญาตัว กล่าวตู่ธรรม และเข้าใจว่าตนเข้าถึงธรรม ทั้งๆ  ที่ยัง เป็นวิสัยสาวก ผู้ไร้ภูมิธรรม

และในที่นี้ ท่านกล่าวถึงกาลที่มีความหมายว่า ทุกๆ  ศาสนา ไม่ใช่เฉพาะ ศาสนาแห่งพุทธเรานี้ อย่างที่เราเข้าใจกัน

ท่านกล่าวถึง ทั่วๆไป ที่โลกเขาเป็น อันเป็นธรรมของความเป็นธรรมดา ของผู้ที่ยัง ไม่ฉลาดในธรรม เป็นธรรมอันไม่พ้นโลก

ส่วนสุนตันตะเหล่าใด ที่เป็นประโยคหลัง ท่านหมายถึง ธรรม อันผู้เข้าถึง ตถาคต คือ ผู้รู้แจ้งในธรรม ได้ภาษิตธรรม คือให้ความหมายและนิยามแห่งธรรม

เป็นธรรมอันมีธารไหลออกมา จากทุกข์ เป็นธรรมชาติที่ ไม่เวียนวนอยู่กับโลก ทวนกระแสโลก เข้าไปสู่ความเป็นจริง

ประกอบคำแห่งธรรม ชี้มาตามแนวทางธรรม แห่งมุตโตทัย เวียนว่ายมาทางฟากดับ

ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริง อันว่างเปล่า และไร้สาระความหมาย ในสรรพสิ่ง ที่เราหลงเข้าไปยึดไปหลงกัน เพื่อเข้าไปถึง ความเป็นจริง ที่เรียกว่า “สุญญตา”

ธรรมเหล่านี้ เมื่อมีผู้นำมากล่าวอยู่ มาศึกษาอยู่ ก็ย่อมประจักษ์แจ้งแทงธรรม ธรรมอันผู้รู้ธรรม ธรรมอันแสดงจากผู้เข้าถึงธรรม ธรรมอันธรรม ที่ดำเนินมาทางพ้นทุกข์ อันเป็นอริยะสัจธรรม

ผู้เรียนรู้ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไถ่ถามธรรม ในธรรมที่ตนยังเข้าไม่ถึงภูมิแห่งธรรม

ผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่า มีกำลังแห่งปัญญาธรรมละเอียดกว่า ย่อมเปิดเผยธรรม อันเป็นธรรม ที่ผู้เรียนรู้ธรรมยังเข้าไม่ถึง

ให้เข้าถึง ให้รู้ถึง ดุจเปิดของที่คว่ำอยู่ ให้หงายขึ้น คลายความมืดมิด บรรเทาความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย ให้ข้ามพ้นไปเสียได้

ในที่นี้ หมายถึงอุปาทาน ความยึดมั่นในใดๆ  ทั้งหลาย ที่เรายังก้าวเข้าไป ไม่เห็นความเป็นจริง นี่..เป็นความหมายพอสังเขป

คำว่า ตถาคตภาษิต เป็นคำกล่าวในความหมายของผู้รู้แจ้ง ตถาคต แปลว่า ผู้แจ้ง ในที่นี้ หมายถึงผู้รู้แจ้งในธรรม

เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม อันเป็นความจริงที่มวลมนุษย์ ผู้มีปัญญา จะเข้าไปเห็น

การเห็นและความสิ้นสงสัย ในธรรม ต่างมีกำลังทะลุรู้แจ้ง ไม่เท่ากัน มันมีภูมิวิสัย แบ่งขั้นตามกำลังของบารมี ที่สะสมมา

ภูมิวิสัย พระพุทธเจ้า ก็อย่างหนึ่ง ภูมิวิสัยพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ก็อย่างหนึ่ง ภูมิสาวก ก็อย่างหนึ่ง ภูมิปุถุชน ก็อย่างหนึ่ง

การเข้าถึง ท่านยังแบ่ง เป็น สุขวิปัสโก ก็อย่างหนึ่ง

การเข้าถึง เตวิชโช หรือวิชาสาม ก็อย่างหนึ่ง

การเข้าถึง ฉฬภิญโญ หรือ อภิญญา ก็อย่างหนึ่ง

การเข้าถึง ปฏิสัมภิทา ก็อย่างหนึ่ง

ธรรมทั้งหลายที่เข้าถึง เราเรียกท่านทั้งหลายเหล่านี้ ว่า ผู้รู้แจ้งทั้งสิ้น เป็นผู้ที่เข้าถึง ความเป็น ตถาตา

เป็นผู้เข้าถึงความเป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั่งหลาย มันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง

และท่านทั้งหลายเหล่านี้ ท่านเจริญรอยตามเบื้องบาทแห่งวิสัยภูมิ จากพระพุทธองค์ ท่านทั้งหลาย จึงได้บรรลุธรรม

เมื่อสิ้นพระพุทธองค์ ธรรมทั้งหลาย ที่ท่านได้จำแนกแจกจ่ายไว้ เหล่าสาวก เป็นผู้รวบรวม เราเรียกธรรมทั้งหลายนี้ว่า ธรรมอันเป็นคำ จากพระโอษฐ์

ซึ่งเหล่าสาวก ก็ได้ยึดถือเป็นธรรมปฏิบัติสืบๆ  ต่อๆ  กันมา

กาลเวลาที่ผ่านเนิ่นนานมา ภาษาที่ใช้ ย่อมแปลเปลี่ยน นี่เป็นธรรมดา จึงเกิดร้อยเรียงธรรม คำอันรสจนาขึ้นมาใหม่ เพื่อความเข้าใจ

ในที่นี่ ก็ย่อมโยงใยความหมาย แต่ดั้งเดิมมา และแปลสัญญาเพื่อให้เหล่าอนุชน ได้เข้าใจ กันง่ายขึ้น

แต่ยังมีธรรมที่ครูบาอาจารย์ ที่ท่านเข้าถึงธรรม และเป็นธรรมตัวเดียวกัน ในความหมายแห่งธรรมที่ได้ร้อยเรียงกันมา แต่โบราณ

ธรรมเหล่านี้ เป็นอกาลิโก ต่างเป็นธรรมที่อยู่เหนือกาล เป็นธรรมอันเป็นสาวก ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีธรรม อันประจักษ์ใจ และแทงตลอดแห่งธรรม

ธรรมเหล่านี้ มีภาษาง่ายต่อการ เปิดของคว่ำให้หงายได้ ฟังแล้วสดับแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นธรรม

ธรรมของเหล่าสาวกเช่นนี้ ที่เป็นคำกล่าว ของหัวข้อ ที่พระพุทธองค์ท่าน ให้ความหมายและนิยามมา

หลวงปู่ชา หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว หลวงปู่ฤษีลิงดำ หลวงปู่พุทธทาส หลวงปู่ ทั้งหลาย ที่ท่านได้ร้อยเรียงภาษาธรรม อันเป็นอักษรวิจิตรมา

แม้แต่ในตำราแห่งคำพุทธวจน ต่างก็เป็นคำที่เหล่าสาวก รวบรวมร้อยเรียงขึ้นมาทั้งนั้น ตามภูมิและตามกาล ตามเหตุปัจจัย

ธรรมเหล่านี้ เป็นธรรมที่เราปฏิบัตตาม และเทิดทูลได้ทั้งนั้น เรานอบน้อมต่อธรรมของผู้ที่เข้าถึงธรรม

แม้ธรรมของผู้เห็นธรรม เข้าถึงธรรม จะได้ชื่อว่าเป็นสาวก แต่เหล่าสาวกเหล่านี้ ท่านได้หล่อเลี้ยงธรรมอันเป็นสัจธรรม ส่งต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนมีกำลังเกิดปัญญาธรรม

และธรรมเหล่านี้ พระพุทธองค์ ก็ทรงสรรเสริญ ว่าเป็นผู้กล่าวธรรม มีวาทะธรรม ดั่งที่พระพุทธองค์ ทรงสาธุโมทนา กล่าวแก่ ชาวบ้านที่มาไถ่ถามธรรมซ๊ำกับพระพุทธองค์ว่า..

” แม้เรา ก็พึงกล่าวธรรมเช่นนั้น ตามที่ท่านทั้งหลาย ได้ฟังมา “

ธรรมอันผู้เข้าถึงแล้ว เห็นแล้ว ประจักษ์แล้ว จะเป็นสาวก หรือ พระพุทธองค์ ต่างเป็นธรรม ที่เห็นในสิ่งเดียวกัน ดั่งคำว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเรา

คำๆ นี้ คนโง่ ย่อมคิดว่า เห็นสังขารของพระพุทธเองค์ นี่คือ ผู้ที่เห็นธรรม นี่เป็นความเห็นที่โง่หลาย

ความหมายแห่งคำนี้ หมายถึง ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง เห็นธรรมตรงตามความเป็นจริง

นี่…คำว่าเรานี้ ก็คือ ตถาตา คือเป็นผู้มีปัญญาเกิดดวงตาเห็นว่า มันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง อย่าไป ” เสือก ” อะไรกับมันมากนักเลย

เราจึงไม่ควรไปแยกว่า นี่..เป็นคำจากพระโอษฐ์ กูเอา

นี่..เป็นคำจาก สาวก กูไม่เอา

ความคิดเช่นนี้ มันโต่งหลาย มันกำลังทำลายพุทธศาสนา สาวกผู้เจ้าถึงธรรม มันเลวนักหรือไง กูจึงไม่เอา ไม่ยอมรับ

ธรรมชาติแห่งธรรมที่เข้าถึง ที่เป็นพระธาตุ ก็ยืนยันอยู่ ท่านเหล่านี้ชี้ธรรมให้ใจมันเป็นไปในฟาก อับปรีย์ธรรมหรือไง

เราแยกธรรมสาวกที่จัญไร ที่ไม่ใช่ซิออกไป อย่าพึงไปเหมารวมธรรมทั้งหลาย ว่าไม่ใช่ ไม่มีในตำรา ไม่ปรากฏในพระสูตร ไม่ถูกใจ ไม่ใช่คำแห่งพระโอษฐ์

นี่..มันยึดตำรา ใจมันเข้าไม่ถึงธรรม อ้างคำจากพระโอษฐ์ มาเป็นมานะทิฏฐิ ว่าของกูถูก ใครผิดไปจากที่กู ลอกตำรามา เป็นผิดหมด

คำกล่าวธรรมของหลวงปู่หลวงพ่อ ที่ท่านเข้าถึงธรรม ผู้คนต่างยกย่องให้เป็น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เป็นธรรมอย่างง่ายๆ และลูกศิษย์ ต่างพากันบรรลุธรรมได้ ผลมันก็แสดงตัวอยู่

หลายท่านกระดูกเป็นพระธาตุ ไม่เห็นว่าท่านจะฟังแค่พุทธวจน จากตำราอะไรเลยนี่ ท่านก็บรรลุธรรมกัน

หากเราไปกล่าวตู่ ธรรมที่ท่านบรรยายแสดง ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่เป็นธรรมที่มีในตำรา ในพระสูตร ไม่เอา ไม่ยอมรับ เพราะว่ามันบิดเบือน ตามท่านคิด

ท่านยึดมั่นในธรรม อันเป็นคำจากพระโอษฐ์ ก็ขอกราบสาธุโมทนา แต่ถ้าไปเพ่งโทษ และกล่าวว่าผู้อื่น ว่าเป็นพวกนอกตำรา นอกพระสูตร ของตนถูก นอกนั้นผิด ไม่เห็นด้วย ต่างชักชวนบริวารสาวก ให้ว่าตาม

ยิ่งท่านเหล่านั้นเป็นครูบาอาจารย์ ที่ทรงคุณตามธรรม เรายิ่งไม่ควร เพราะท่านเหล่านั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรม อันเป็นตถาตา เป็นสาวกผู้ได้ชื่อว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

หากเรายังแบ่งแยก ว่าธรรมของท่านเหล่านี้ เป็นแค่สาวก เชื่อตามไม่ได้ ความคิดอย่างนี้..แม้จะเป็นฆราวาส หรือถากหัวห่มฝาด มันก็ไม่ต่างจากสัตว์ ที่เราเรียกว่า เหี้ย…ดีๆนี่เอง….!!!