วิมุตติ

วิมุตติ

1059
0
แบ่งปัน

ธรรมเรื่องนี้ น้องๆได้ถกเถียงกันในไลน์ ท่านผู้เฒ่าจึงได้มีโอกาศลงไปโม้ จึงได้นำมาลงให้อ่านกันในเฟส…เขาเถียงกันเรื่องกินช๊อกโกแล๊ต

พวกเรายังไม่เข้าใจ อะไรคือวิมุตติ อะไรคือสมมุติ ที่เข้าใจนั้น เข้าใจในมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ได้เข้าใจโดยรอบ เพราะคำว่า วิมุตตินี้

เป็นตัวรู้ในสมมุติ ว่าจริงๆ แล้ว มันไม่มีอะไรเลย ที่มี เกิดจากเราสมมุติขึ้นมาทั้งสิ้น ไอ้ตัวสมมุตินี้นี่แหละ ที่เราไม่รู้จักมัน

ที่ไม่รู้จักเพราะมันมีเราเสมอ ในสมมุตินั้น เหตุเพราะปัญญาเราน้อย เราแยกกาลไม่ออก การเห็นช็อกโกแล็ต แล้วอยากกิน

แล้วเราไปหักห้ามใจ ไม่ยอมไปซื้อกิน เพราะนี่คือไม่อยากตามใจกิเลส อย่างนี้ ยังไม่ถูก ยังหลงอยู่ในความคิด ว่านี่คือการลด ละ ไม่ตามใจกิเลส

คือความอยากหากยึดอย่างนี้ ผิดทาง เหตุการเดียวกัน เมื่อเห็นช็อกโกแล็ต แล้วมีอาการอยากกิน เราต้องตรองพิจารณาในกาลนั้นว่าความพอดีอยู่ตรงไหน นั้นเราเรียกว่าการ โยนิโส

การโยนิโส เป็นการพิจารณา อย่างมีสติ ให้ตรงกับความเป็นจริง และขึ้นอยู่กับกาลนั่นๆ เรียกว่าเป็นผู้อยู่กับ ปัจจุบัน

เราโยนิโสกับใจเราเองว่า มีตังค์พอจะซื้อไหมซื้อแล้วเดือดร้อนตัวเอง และผู้อื่นที่ใกล้ชิดหรือห่างไกลไหม สมควรซื้อไหม

หากเราเป็นภิกษุ หรือในเวลางาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ดูอย่างรอบครอบ ว่าสมควรไหม มันมีกาลเทศะเป็นตัวชี้อยู่

เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่สมควร เราพึง ละไว้ก่อน หากพิจารณาแล้วสมควร เราพึงทำตามใจประสงค์

หากเป็นนักบวช แม้เรื่องเล็กน้อย ก็พึงไถ่ถามพระพี่เลี้ยง การตัดสินใจตัวลำพังตัวเอง เพราะคิดว่าเล็กน้อย หรือเพราะว่าเขาว่ามา

หากเป็นภิกษุ เรียกว่า ทุศีล เพราะหากพระพี่เลี้ยง เข้าไม่ถึงธรรม ก็จะพากันทุศีลไปทั้งกลุ่ม การเข้าถึงมรรคผล จะไม่เกิด

ส่วนชนทั่วไป ก็ให้ตรองสติคิดว่า สิ่งที่เราจะกระทำนั้น สมควรแก่เราหรือไม่ เพราะการกระทำ มันมีเงื่อนไขและปัจจัยอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

บางอย่างเราต้านได้ จึงไม่รู้สึกอะไร จึงดูว่า ไม่เห็นจะเป็นไร แต่หากเราอยู่ในกลุ่ม บางอย่างที่สมควรกับเรา แต่อาจทำให้ทั้งกลุ่มเสียหายได้

แต่หากทั้งกลุ่มยอมรับได้ และทำอะไรตามๆ กัน เสียหายก็เสียหายทั้งกลุ่ม กลุ่มเราอาจถูก แต่อาจผิดกับกลุ่มอื่นได้อีก

ขนาดของถูกผิด มันมีเหตุปัจจัยที่ใหญขึ้น กว้างขึ้น มากขึ้น ประเทศเราอาจถูก แต่มันอาจผิดในสายตาชาวโลก

นี่..ธรรมมันเป็นอย่างนี้ มันมีกาล และกาลเทศะ ซ้อนแทรกซึมอยู่ในเหตุอยู่เสมอ ท่านที่รู้เท่าทันนั้น คือผู้ที่มีสติ

แม้รู้เท่าทันว่าไม่ควร แต่ทั้งกลุ่มเห็นว่าควร ก็คือควร แม้สิ่งนั้นๆ จะสมควร แต่หากทั้งกลุ่มและสังคมนั้น

คิดว่าความเห็นและการกระทำนั้นไม่ควร ก็คือไม่สมควร เราก็พึงละเสีย หากจะกระทำ ก็ควรกระทำแต่เพียงผู้เดียวในที่ลับ เนื่องเพราะเราเห็นว่าควร

ฉะนั้น การกระทำใดๆ ที่เป็นไป ทั้งหลาย จะถูก จะผิด จะควร หรือไม่ควร ล้วนเป็นสมมุติ ผู้ที่มีสติ เข้าใจกาล กาละเทศะ และเหตุปัจจัย

ว่าแท้จริงนั้น สรรพสิ่งทั้งหลายคืออะไร และโยนิโสก่อนที่จะกระทำใดๆ ลงไป อันเนื่องมาจากเหตุแห่งผัสสะ ตรึงไปตามสติ ที่ปัญญาจะพึงมี

หากมีผู้รู้ที่จะคอยชี้ ก็พึงไถ่ถามก่อน แล้วจึงลงมือตัดสินใจ หากเห็นสมควร และตรองดูดีแล้ว เราก็ทำ เราก็ไม่พึงกระทำ

เราฝึกอยู่เช่นนี้ นี่คือวิถีจิตของผู้มีศีล คือเป็นผู้ที่ ระลึกตรึกตรอง ก่อนที่จะกระทำ และตัดสินใจอะไร แรกๆ ก็ต้องสร้างภาชนะไปอย่างนี้

นี่คือการปฏิบัติ ตามหลักแห่งอริยสัจ คือมีสติ ตรึกตรอง รู้เท่าทัน ใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบ จากโปรแกรมจิตแห่งสังขารนี้

การมีสติ แม้จะไม่ได้ลด ละ เลิก ตัณหาที่ผุดขึ้นมาจากใจก็ตามที่ แต่หากเหตุปัจจัยมันสมควร เราก็เอื้อไปตามสมมุติ ที่โลกเขาว่ากัน

นี่เป็นการ เดินทางแห่งมรรค เพราะใจดวงนี้ มันรู้จักและเท่าทัน เป็นผู้มีสติไหลต่อเนื่องระลึกได้อยู่ตลอดเวลา การ ลด ละ เลิก นี่คือมรรค

ผลคือ นิโรธ การที่ไม่ลด ละ เลิก แต่อยู่ในเหตุและปัจจัยแห่งสติ รู้กาลและ กาละเทศะตามเหตุปัจจัย แม้อยากกินช๊อกโกแล็ต

เราก็ซื้อกินได้ หากมันพร้อม และสมควร ไม่ใช่ ไปลด ละ เลิก ไปซะทุกเรื่อง แล้วมาคิดเอาว่า ความอยากนั้น….เป็นกิเลส

นี่…ยึดธรรมแบบโง่ๆ และไม่รู้ว่าเรานั่นโง่ โง่เพราะรู้ธรรมมากไป มีกันเยอะแยะ นี่..เรียกว่า พวกอุปาทานทางธรรมจัด

หากเราเข้าใจ ว่าอะไร เป็นอะไร เข้าใจกาล และกาละเทศะ มีสติ เป็นผู้ละอายชั่วกลัวบาป นี่คือ…มนุษย์ขั้นศีล นี่คืออริยชน นี่คือพระ เราเรียกว่า พระโสดาบัน

มนุษย์ขั้นนี้แหละ เป็นผู้มีศีลอันเป็น วิมุตติศีล แม้จะเอาสมมุติศีลมาเป็นเครื่องอยู่ก็ตาม สมมุติคือเครื่องอยู่ เพื่อก้าวขึ้นไปสู่การเรียนรู้

เมื่อรู้แล้ว ว่าแท้จริงมันเป็นสมมุติอย่างนี้ ๆ ใจมันประจักษ์ชัดแจ้งด้วยตัวเองแล้ว ศีลสมมุติที่ท่านถือ ก็คือศีลสมมุติ แต่ใจมันคือ ผู้มีศีลอันเป็นวิมุตติ

สมมุติคือ ไม่รู้ ไม่รู้นี้ คือ อวิชา จึงต้องปรุงสมมุติขึ้นมาเป็นตัวแทน วิมุตติคือ รู้ในสิ่งที่ไม่รู้นั้นๆ อย่างประจักษ์แจ้งแทงใจ นี่คือ วิชชา วิชชาคือ รู้แจ้งแทงใจในสมมุตินั้นๆ

ใจจึงอยู่อาศัยอยู่ในสมมุติ เพราะเป็นเครื่องอยู่ แต่ใจ ไม่ได้ติดในสมมุตินั้น เพราะมันแจ้งแล้ว นี่เรียกว่าใจ อันเป็นวิมุตติ

แม้นชีวิตยังดำเนินไป ตามสังขารสมมุติก็ตามที เที่ยงนี้…สวัสดี และขอให้ถกธรรมกันเถิด ผู้เฒ่าจะมาแจงแก้ไขให้…

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 31 มกราคม 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง