การฟอกจิต

การฟอกจิต

1913
0
แบ่งปัน

OLYMPUS DIGITAL CAMERAเรามาว่าถึงการฟอกจิตกัน จิตทีฟอกดีแล้วย่อมเป็นจิตที่สะอาด แต่ถ้าฟอกไปตลอดชีวิตมันก็โง่ ไม่มีใครทนฟอกไปอย่างเดียวหรอก 

จิตที่ฟอกดีแล้ว เหมือนผ้าที่ฟอกจนสะอาด เมื่อสะอาดแล้ว ต้องนำไปย้อม 
หาสีที่ถูกตามธรรม ย้อมจิตที่ฟอกดีแล้ว ให้มันสะอาด จิตที่ฟอกดีแล้วคือจิตที่เข้าถึงศีล

ธรรมดาจิตที่ไม่ได้รับการฟอก ย่อมสกปรก จิตที่สกปรกย่อมนำมาย้อมให้เป็นสีใหม่ ไม่เป็นสีที่ถูกต้องได้ เพราะความสกปรกมันมี

เครื่องฟอกจิตให้สะอาดก่อนทำการย้อมก็คือศีล
แต่การมีศีล ก็ต้องฟอกด้วยการมีสติ การมีสติก็ต้องฟอกด้วยการพิจารณา

การพิจารณาก็ต้องฟอกด้วยศรัทธา การมีศรัทธาก็ต้องฟอกด้วย การได้รับฟังธรรมจากสัตบุรุษ ที่เป็นธรรมแห่ง มุโตทัย
เมื่อได้รับฟังธรรมดีแล้ว ซึ่งต้องอาศัยการฟอกด้วการเข้าหาผู้รู้ธรรม

การเข้าหาก็ต้องฟอกตัวตนให้เล็กๆลงก่อน ตัวตนใหญ่ๆเป็นปัญหาในการฟอก ตัวตนในที่นี้คือตัณหา มานะและทิฐิ เก็บพับไว้ก่อน
ความรู้ทั้งหลาย ถอดวางไว้ก่อน ฟังก่อน อย่าเพิ่งไปค้าน ถ้าค้าน ต้องค้านให้อยู่หมัด

จิตที่มันอ่อนลงตามสภาวะ ย่อมเป็นจิตที่เริ่มทยอยฟอกไปทีละขั้นๆ จิตเดิมๆมันพอกพูนหนา ต้องหมั่นฟอก โดยการย้อนกระบวนการที่กล่าวมา

จนถึงจิตเจ้าตัวเป็นจิตที่เป็นปกติจิต ที่มีความสำรวมโดยอาศัยการมีสติ
ผู้มีสติคือผู้ที่มีศีล จิตที่เป็นศีลแล้วนี้แหละ จัดเป็นจิตที่ผ่านการฟอกมาจนขาวสะอาดพอ พอที่จะนำไปย้อมได้

อะไรคือการย้อม อะไรคือสีที่ย้อม การย้อมมันต้องมีเครื่องย้อม จิตที่สะอาดด้วยศีล
ต้องมีเครื่องย้อม เครื่องย้อมจิตที่เป็นศีลก็คือสมาธิ

เมื่อจิตมีสมาธิ ก็เริ่มดำเนินการย้อม ด้วยสติปัฏฐาน 4 อาศัยสติปัฏฐาน 4 เป็นหนทางดำเนินเติมสี ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

นั่นคือการพิจารณา กายนอก กายใน กายในกาย ย่อมเกิดสีขึ้นมาคือปัญญา ย่อมเห็นเวทนานอก เวทนาใน เวทนาในเวทนา

ย่อมเห็นสีย้อมขึ้นมาคือปัญญา เห็นจิตนอก จิตใน จิตในจิต
ย่อมเห็นสีย้อมขึ้นมาคือปัญญา

เห็นธรรมนอก ธรรมใน และเห็นธรรมในธรรม สีแห่งธรรมดาจะชัดเจนขึ้นมา ด้วยอาศัยกระบวนการย้อมที่พิจารณาแล้ว พิจารณาเล่า จนเกิดสีแห่งธรรมดา คือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ว่าสรรพสิ่งล้วนมีเหตุ เหตุนี้คือสมมุติ ดับเหตุเป็นวิมุติ สมมุติคือตัวอวิชา อวิชาเป็นที่มาของอาการแห่งเหตุทั้งปวง

เหตุนี้ก็คือ “สมุทัย” สมุทัยด้านสมมุติก็ได้รับผลคือทุกข์
มรรคคือสมุทัยด้านวิมุติ ได้รับผลก็คือดับ

อริยสัจ เป็นเรื่องของเหตุและผล มีเหตุนอกและเหตุใน เหตุนอกเป็นสมุทัย เหตุในเป็นมรรค เหตุนอกผลก็คือทุกข์ เหตุในผลก็คือนิโรธะ(ดับ)
ทั้งเหตุนอกเหตุใน เรียกว่าสมุทัยทั้งนั้น เพราะอาศัยการเกิด การกำเนิด จากใจดวงนี้ ใจที่มีตัณหาครอบครอง

มรรคก็เจริญด้วยตัณหา เป็นสมุทัยดำเนินมาทางฟากดั
สมุทัยก็เจริญด้วยตัณหา ดำเนินมาทางฟากก่อ

อริยสัจมีแค่สองทางคือ ฟากดับและฟากก่อ ถ้าเลือกก่อ ก็ดำเนินมาทางทุกข์
คือสมุทัย ถ้าเลือกดับ ก็ดำเนินมาทางมรรค ผลคือนิโรธ

อริยสัจคือเครื่องเลือกที่จะดำเนินทาง ผู้ที่จะบรรลุ ไม่ใช่บรรลุอริยสัจ อริยสัจไม่ใช่เครื่องบรรลุ อริยสัจเป็นเครื่องมือรู้เหตุรู้ผลแห่งการดำเนิน

ผู้ที่เข้าถึง จึงจะเป็นผู้ที่รู้จักอริยสัจ ว่าความจริงที่ค้านไม่ได้ อาศัยการก่อและดับ ที่มาจากใจดวงนี้ เรียกมันว่า สมุทัย สมุทัยทั้งฝ่ายก่อและดับ เกิดตรงใจที่เต็มไปด้วย อวิชา
ฉนั้น อริยสัจเป็นชื่อเรียก ทางอันประเสริญ ที่เป็นความจริง ผู้เข้าถึงขั้นศีล ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้เข้าถึงทางแห่งอริยสัจ อริยสัจก็ยังเป็นอาการหนึ่งของ “อวิชา” ทำไมถึงเป็นอาการหนึ่งของอวิชา

เพราะอริยสัจเป็นหลักเหตุหลักผล เป็นกฏหลักของ อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ อาศัยคล้องจองกันไป เมื่อครบกาล คืออดีต ปัจจุบัน อนาคตวนรอบซ้อนๆกัน
เราเรียกว่าวงล้อแห่ง ปฏิจสมุปบาท

ผู้ที่เข้าถึงธรรมสูงสุด รู้จักสรรพสิ่งตรงตามความเป็นจริง ย่อมรู้อริยสัจ ไม่ใช่บรรลุอริยสัจ ย่อมรู้อิทัปปัจจยตา ย่อมรู้ปฏิจสุปบาท ย่อมรู้ว่าทั้งหมดเป็นอาการหนึ่งของอวิชา แม้ไตรลักษณ์ก็เป็นอาการของอวิชา อวิชาเป็นที่มาของอาการแห่งเหตุทั้งปวง…

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 9 มกราคม 2557
โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง