อารมณ์…สมาธิ ท่อนที่ 2

อารมณ์…สมาธิ ท่อนที่ 2

726
0
แบ่งปัน

1461425หวัดดีทุกคน ตอนนี้ที่นี่มืดสนิท

“สวัสดีคะ”
“กราบนมัสการค่ะ”
“กราบนมัสการครับ”
“นมัสเต เจ้าค่าาาา”

มหาไม่อยู่ ทั้งภูเขา ครองอยู่คนเดียว เรียกว่า ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครเอา
เลยอยู่คนเดียวโด่ๆ คึคึคึ

มันน่าแปลกแท้หนอ คนขี้กลัวผีอันดับต้นๆของโลก มาอยู่คนเดียวอย่างนี้ได้
ไม่เหลือความหวาดหวั่นในใจเลย พวกเรากลัวอะไรรึ ข้าอยู่ให้เห็นๆ เข้าเรื่องนะ คึคึคึ

เมื่อวาน พูดมาถึงสภาวะจิตของฌาณสอง หรือทุติยฌาณ
ฌาณนี้ มีปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นเครื่องอยู่ สภาวะทางกาย จะค่อยสงบระงับไป เวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นกับกาย แทบไม่มี ทีมีก็เป็นเวทนาทางความรู้สึก

แต่หากมีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวกับความรู้สึกที่จิตปรุงขึ้นมา ตามอาการที่กล่าวมาแต่ต้น อาการต่างๆเหล่านี้ จะค่อยๆทุเลา เบาบาง จางคลายไป

เกิดสภาวะสุขขึ้นมาแทน สุขนี้ ไม่ใช่สุขเวทนา ไม่ใช่สุขอย่างความหมายที่เราเข้าใจ มันอิ่มเอ่อ ซึมกระซาบท้วมท้นปราศจากปีต

สุขนี้ซ่อนตัวอยู่ในปีติ ถึงขั้นนี้ จิตมันหดตัวเข้ามา ปีติมันเป็นของหยาบไปแล้ว ใจมันไม่ไปเพ่งกับอาการแห่งปีติแล้ว ใจมันมาเพ่งความสงบอย่างอิ่มเอิบแทน

เสียงและความรู้สึกภายนอก แทบจะไม่ได้ยิน แขนขา ลำตัวรู้สึกเหมือนมันเบาบางๆแทบหายไป ลมหายใจนี่จับไม่ได้ อาการทั้งหลายผู้ที่เข้าถึง มันจะไม่สงสัยอะไรทั้งนั้น มันมีสติหล่อเลี้ยงอาการอยู่ มันรู้ตัวอยู่ทุกสภาวะ เพียงแต่ กายหายไป แขนขาหายไป ลมหายใจหายไป สภาวะทางกายแทบจับความรู้สึกไม่ได้

แต่หากจิตใจไม่มั่นคง สติสะทกสะท้านกับอาการที่เกิด จิตก็จะขยายตัว กลับไปที่ปีติ น้ำหูน้ำตาไหลออกมาได้อีก หากขยายเร็ว คำบริกรรมที่ตั้งไว้ก็โผล่ ใจก็จะมาอยู่ที่คำบริกรรมอีก หากเกิดการฟุ้งในฌาณที่ปรากฏ คำบริกรรมก็หลุดอีก

นี่แหละ จิตมันคืนตัว มันจะคืนตัวไวมาก เราก็ต้องตั้งเข้าไปใหม่ ให้ชำนาญ
จิตที่หดตัวละเอียด ถึงขั้นสุข เป็นระดับขั้นที่พระอริยเจ้าสรรญเสริญ

เพราะกระทำได้ยากยิ่ง ต้องตั้งมั่นและมีการอบรมจิตที่ยาวนาน ผ่านประสบการณ์ ทางปีติอย่างหมดจรด การผ่านปีติ ใช่จะเป็นของง่าย เพราะใจเราไม่เคยเจออาการ แห่งจิตที่มันปรุง สัญญามันไม่เคยมี การบันทึก

มันต้องอาศัยการบ่มเพราะจนใจมันวาง ว่าอาการเหล่านี้ เป็นธรรมดาของอาการทางจิตที่มันปรุง

เหมือนเรากลัวผี ทั้งๆที่ยังไม่เคยเห็นผี แต่เราก็กลัว
การกลัวมันเป็นโปรแกรมจิต ที่รักษารูป เราจะห้ามไม่ให้กลัวไม่ได้ มันเป็นอาการธรรมดาของจิต ที่มีโปรแกรมรักษารูปที่มันอาศัย

แต่เรามักเข้าใจว่า เรากลัว หรือไม่กลัว เราเอาอาการแห่งจิตมาเป็นเจ้าของ
ทีนี้ เมื่ออาการทางจิตที่มันปรุงขึ้นมาภายใน ใจมันไม่เคยรับรู้ การผลักไสอาการที่เป็น ก็เลยมี

นักปฏิบัติ ต้องมีผู้ชี้ และต้องตั้งมั่นมากๆ สร้างความเคยชินให้กับใจตัวเอง
วิธีง่ายๆได้ผลไวๆก็คือ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น “ตายเป็นตาย
หากกำลังใจได้อย่างนี้ ใช้เวลาไม่นาน ไม่เกิน 7 วัน หากจิตก้าวล่วงมาถึง ปีติแล้ว

จิตที่มันหดตัวเข้ามาเรื่อยๆ จนปีติกลายเป็นของหยาบ
ใจมันจะไปเพ่งความสงบที่อิ่มเอิบแทน ตรงจุดนี้ ท่านเรียกว่า ตติยฌาณ หรือฌาณสาม อันเป็นฌาณแห่งอนาคามีนิยม เพราะมันสงบ สุขและละทิ้งเวทนาหยาบทั้งหมด

ความอิ่มเอิบและปลอดจากสภาวะทั้งปวง มีสุข อุเบกขาและสติตั้งอยู่เป็นอารมณ์ ทำให้นักปฏิบัติ ติดสุขในฌาณ จิตไม่ก้าวไปสู่ความละเอียดยิ่งๆขึ้นไปอีก หากไม่มีผู้ชี้ที่จิตละเอียดกว่า

ท่านมักจะกล่าวเรียกว่า ติดสุข ที่ติด มักจะติดกันอยู่ตรงนี้
แต่พวกเราไม่ต้องห่วง นักปฏิบัติ พันคน จึงจะมีซักคน ที่มีจิตก้าวเข้ามาถึงระดับตรงนี้ เราไม่ต้องไปเดือดร้อน

แต่นักปฏิบัติที่ตั้งมั่น ละอาการแห่งความสงบอิ่มเอิบไร้ตัวตนเหล่านี้ไปได้ อุเบกขาแห่งฌาณจะแทรกขึ้นมาปรากฏ เพราะอุเบกขานี้ มันซ่อนอยู่ในสุข

จิตขั้นนี้ จะหดบีบลงมาเหลือแค่สติที่ลอยเด่น ท่ามกลางจักรวาลเลยที่เดียว สติสภาวะนี้ อีกนัยหนึ่งเหมือนเกาะเดียว ตั้งลอยเด่นอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร

มันลอยเด่นสง่าวางตัวเป็น อุเบกขา ไร้กายไร้เสียงไร้ทุกอย่างแห่งรูปนาม
ไร้การปรุง ไร้ผัสสะ ไร้เวทนาเศร้าหมองแห่งใจ
มีแค่สติลอยเด่นเป็นอุเบกขาอยู่ตัวเดียว…

นี่….เป็นที่สุดแห่งรูป ท่านเรียกว่า จตุตยฌาณ หรือภูมิกำลังแห่งฌาณ สี่

ผู้ที่เข้าถึงภูมิจิตขั้นนี้ หากจิตถอนออกมาจนรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วอธิฐานจิต เพื่อเข้าไปดูรู้เห็นอดีตชาติ ของตัวเอง จะกระทำได้ง่าย

เมื่อจิตถอนออกมาแล้วโยนิโสเข้าไป จิตที่มีความชำนาญ มันจะใช้เวลา แค่ลัดนิ้วเดียว จิตก็จะกลับไปสู่ภูมิที่มันเป็น คือสติที่วางอุเบกขา

เมื่อจิตถอนขยายตัวกลับมา อยู่ในขั้น อุปจารสมาธิ สิ่งต่างๆที่เราโยนิโส ก็จะปรากฏออกมาทางมโนจิต ท่านเรียกว่า บุพเพนิวาสา

เป็นวิชาหนึ่ง ของหลักสูตร วิชาสามของพุทธศาสนา
เราสามารถย้อนดูอดีตชาติได้ลึกและมากชาติเท่าที่กำลังแห่งจิตจะมี
ซึ่งรายละเอียด ก็ต้องอธิบายกันอีก

เพราะบางที ระลึกได้หน่อยเดียว ทุกอย่างก็เบลอหายหมดแล้ว
ก็ต้องกลับไปสร้างขุมกำลังในฌาณสี่ใหม่ ให้มีกำลังตั้งมั่นและชำนาญเยอะๆ

การละลึกชาติโดยวิธีแห่งฌาณนี้ พวกนอกศาสนาก็ทำกันได้เหมือนๆกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ทางพุทธเท่านั้น ทำกันได้ทุกคน แต่ต้องมีความชำนาญแห่งจิตสูง ที่ท่านเรียกว่า วสี..

แต่ทางพุทธถือเป็นหลักสูตรวิชาสาม เพราะจิตเข้าไปถึงความสิ้นสุด แห่งการตัดของกิเลสด้วยปัญญาได้ หากมีผู้ชี้..

วิชาที่สองคือ เจโตปริยญาณ คือระลึกได้ ถึงภูมิการเกิดดับของเหล่าสัตว์อื่นที่ไม่ใช่เรา

เมื่อสองวิชานี้เกิด ผู้มีปัญญานำเข้ามาน้อมเป็นวิปัสสนา เห็นความเป็นจริงแห่งการเกิดดับ ว่ามันทุกข์อย่างไรของอดีตที่เป็นตัวเรา และของเหล่าสัตวอื่นเป็นไม่ต่างกับเรา

ใจก็จะเกิดกลัววัฏฏะ กลัวการเกิด เห็นความซ้ำซากแห่งความเกิดดับ ตรงตามความเป็นจริง จิตก็จะเบื่อหน่าย

เมื่อเบื่อหน่าย ใจก็จะคลายความกำหนัดยินดี ในการเกิด ความทะยานอยากทั้งหลายก็เบาบางไป ใจก็เข้าถึงความหลุดพ้น เรียกว่า วิมุตติญาณ เข้าถึงการสิ้นสุดแห่งกิเลสทั้งหลาย การกลับมาเกิดกำเนิดเป็นรูปก็จะไม่มี

นี่คือผลจากการ เจริญสมาธิจิต ทางด้านอานาปาน ก้าวข้ามไปสู่ความหลุดพ้นได้เช่นนี้ ท่านเรียกว่า วิชาสาม หรือ เตวิชโช

พระบรมครูของเรา พระพุทธองค์เจ้า ก็สำเร็จพระโพธิญาณด้วยวิชาสาม…