ทิฐิ…คน

ทิฐิ…คน

1383
0
แบ่งปัน

เรื่องนี้เทศน์ไปสองวันก่อนเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์คน ซึ่งมีอยู่สามตัว วันนี้เอาตัวแรกมาออกมาดูกัคุคุคุ วันนี้เราคุยกันเรื่องอะไรดี

“ทิฐิ”
“กราบนมัสการค่ะ”
“กราบท่านผู้เฒ่าค่ะ”
“อยากได้คำชี้แนะในการลดทิฐิ”
“เอาเรื่องอากาสา”
“แล้วแต่ครับกราบนมัสการพ่อครับ”
“น้อมกราบนมัสการค่ะ”

อืมมม….!! เป็นไงยุ้ย

“คือหนูคิดแบบ ปอชาย ไม่ได้อ่ะคะ หนูทำใจให้สงสารอีกฝ่ายไม่ได้ จะมานั่งคิดว่า เด๋วเค้าก็เจ็บ
ก็แก่ ก็ตาย เหมือนกันกับเรา อย่าไปไม่พอใจเค้าเลย แบบนี้ หนูคิดไม่ได้อะค่ะ
ใจมันไม่ลงจริงๆ แล้วหนูต้องทำยังงัยคะ?? ”
“อะไรคือ ทิฐิ อ่าอาจาน มันต่างไงกับ มานะ ด้วยครับ”

มันก็แค่ความคิด ยึดมั่นในความคิด ไม่ค่อยลงให้กับความคิดผู้อื่น เราไม่รู้ว่า ความคิดมันไม่ใช่ความจริง ความคิด เราคิดยังไงก็ได้ มันก็ไหลไปเรื่อยของมันนั่นแหละ

แต่ความที่เรามีกำลังสติและปัญญาอ่อน เราจึงมักไหลลงไปในกระแสความคิดนั้น
และยึดกระแสความคิดนั้น ไม่ปล่อยวาง

บางครั้งเราก็เศร้ากับความคิดนั้น บางครั้งเราก็สุขใจกับความคิดนั้น แต่ทั้งเศร้าและสุขใจ มันต่างก็เป็นอากาศด้วยกันทั้งคู่

เราหลงไหลในอากาศที่ไม่เป็นความจริง ด้วยตัวตนของเรา ที่คิดเอาเองว่างั้น ว่างี้ และยัดเยียด อย่างนั้น อย่างนี้ ให้ผู้อื่น

คนที่มีสติปัญญาอ่อน ย่อมไหลไปกับกระแสความคิด ที่เชี่ยวกรากได้ง่าย

หากเราคิดและให้มันทำลายอยู่ในตัวเรา มันก็เป็นกรรมที่มีความทุกข์แค่เรา
และเรานั่นแหละ จะโหสิกรรมให้แก่เรา ความเดือดร้อนไม่ขยายออกไปซักเท่าไหร่

แต่ถ้าหากเอาความคิดของผู้อื่นมาเป็นของเราด้วย และเราต้องการให้เขาเป็นอย่างที่เราคิดด้วย
อย่างนี้ กรรมอันเป็นวิบากจะให้ผลต่อเราและเขาทันที
คือ เกิดความไม่ชอบใจกัน

เราคิด ย่อมไม่ตรงเจตนากับคนอื่นคิด นี่เป็นธรรมดา แต่เราขาดการพิจารณาในจุดนี้ เพราะความเป็นตัวตน ที่ตกอยู่ในกระแสแห่งความเจ้าอารมณ์

เราจึงยัดเยียดความคิดเราให้กับผู้อื่น โดยที่เขาอาจจะไม่รู้เรื่องรู้ราวเลยก็ได้
กรรมอันเป็นวิบาก ก็จะมาให้ผลต่อเรา ที่เพ่งโทษเขา

คนอื่น เขาก็มีเหตุปัจจัยในความคิดของเขา เราก็มีเหตุปัจจัยในความคิดของเรา

หากขาดสติพิจารณา ยอมรับซึ่งกันและกัน ตามเหตุและปัจจัย แน่นอน ตัวตนแห่งทิฐิ ย่อมตัดสินตามความเห็นที่ตนเองคิด และมันจะไม่ฟังใคร มันจะเอาแต่ใจที่คิด ว่าตัวเองนั้นคิดถูก แม้จะเป็นพ่อแม่ ครูบาอาจารย์อะไรก็ไม่เว้น

นี่คือใจที่ขาดการอบรมด้วยสติ ใจที่ขาดสติ ย่อมเป็นใจที่ขาดจากการพิจารณา
มันไม่มีกำลังแห่งการพิจารณาอะไรเลยว่า ความจริงทั้งหลาย ทั้งสิ้น ทั้งที่จริงและไม่จริง เกิดจากเราตัดสินเอาเองทั้งนั้น

ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง มันเป็นผลอันเนื่องด้วยเหตุอยู่ เราขาดกำลังการพิจารณา สาวผลไปหาเหตุ เราไม่รู้ว่า เหตุจริงๆนั้นมันเป็นอย่างไ

แต่เรามักเอาตัวตนของเราเข้าไปตัดสินผลนั้น และตัวตนนั้น มันไปทำลายเหตุโดยไม่รู้ตัว

นี่แหละ คืออาการแห่งทิฐิ มันมีมานะ และตัณหาเจือปนเป็นเหตุปัจจัยอยู่เสมอ

ความเข้าใจผิดทั้งหลาย เกิดจากตัวตนไม่เข้าไปทำการยอมรับเหตุที่เป็นผล ไม่ยอมรับฟังเหตุ ว่ามันมีเหตุปัจจัยอะไรจึงทำให้เกิด

ตัวตนมันจะบดบัง ความจริงแห่งเหตุทั้งหลาย และผลแห่งการไม่ยอมรับเหตุแห่งผล วิบากแห่งเหตุมันก็จะวกกลับมาทำลายเจ้าของ เมื่อกาลเวลาหมุนเวียนผ่านไป ผลทั้งหลายที่เราตัดสินใจ มันจะแสดงเหตุให้เราเห็นด้วยตัวมันเอง

ตรงนี้ท่านเรียกมันว่า วิบาก
ผลก็คือ เราอาจเสียอกเสียใจ ที่เราไปทำลายอะไรดีๆ ทั้งของเราเองและผู้อื่น ด้วยทิฐิความคิดแห่งตัวตนเป็นเหตุ

จิตที่มันสะสมมายาวนาน แม้จะรู้ว่ามันเป็นความเข้าใจผิด แต่ทิฐิมันก็ขวางการยอมรับอยู่ดี มันอายที่จะยอมรับความผิดพลาดนั้น นี่คือมานะที่แฝงอยู่ในทิฐิ เพราะความมีเจ้าของแห่งตัวตนเป็นเหตุ

หากไม่มีผู้ชี้และอธิบาย ความอายและผิดพลาดนั้นที่เกิดขึ้นกับใจ จะทำให้มันดิ้นออกไปเสวยผล

หากเรายังมีเลือดเนื้ออยู่ วิบาก ทางกายก็ให้ผลทางกาย วิบากทางวาจา ทางใจ มันก็ให้ผลตามวาระต่อๆกันไป หรือให้ผลพร้อมๆกัน

หากยังไม่มีสติยอมรับ วิบากเหล่านี้ จะส่งผลให้ไปเสวยต่อในภวังค์จิต นรกก็จะกำเนิดเกิดมีขึ้นมาตามเหตุและปัจจัยในวิบาก ว่าเหตุนั้น เกิดกรรมที่กระทำไว้กับผู้ใ

หากเป็นสามัญชน ก็ยังพอแก้ได้ แต่หากเป็นผู้มีศีลหรืออริยเจ้า เช่นนี้ มันก็แก้ยากหน่อย วิธีเดียวที่จะพอแก้ได้นั้นก็คือ ยอมรับชะตากรรมที่มันจะเกิด

และใจเราขอนอบน้อมแห่งผลชะตากรรมนั้นทั้งหลาย โดยไม่มีเงื่อนไข และเราระวังใจของเราไป ขึ้นชื่อว่าชั่วตามที่โลกเขาสมมุติกัน เราไม่ทำ
ทำแต่ความดี และรักษาความดีนี้ไว้ให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

ที่สำคัญ ต้องเข้าหาสัตบุรุษที่ชี้แนะธรรมแห่งมุตโตทัย มาชี้หนทางดับที่เป็นไปแห่งความหลุดพ้น

กระแสกรรมทั้งหลาย จะชลอและจบสงบไป ด้วยธรรมแห่งมุตโตทัยที่เราประจักษ์

เบื้องแรก กรรมชั่วร้ายทั้งหลายที่ก่อมาจากความคิด และปรุงแต่งจนเป็นผลขึ้นมา
ผลนั้น กระชากจิตเราออกไปเสวยผลในนรกไม่ได้

ประการที่สอง หากเราเจริญจิตขึ้นไปจนเห็นความจริงแห่งธรรม นอกจากจะไม่ลงนรกแล้ว เรายังมาเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ

จิตที่สูงขึ้นไป อาจได้กลับมาเกิดทนทุกข์แห่งวิบาก อีกแค่ชาติเดียว

จิตที่สูงขึ้นไปอีก ไม่กลับมาเกิดให้กายมีทุกข์อีกต่อไป แต่ยังต้องไปค้างอยู่ในที่ใดที่หนึ่งตามภูมิจิต

แต่หากเห็นความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ว่าโลกเรามันเป็นของมันเช่นนี้ ไม่มีอะไรได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรแน่นอน ยอมรับมันได้ และเข้าใจทุกสภาวะโดยแจ้งตลอด เราจบหมดลงแค่อัตภาพนี้ ไม่มียิ่งไปกว่านี้ เรียกว่า จิตที่เข้าสู่ความเป็นนิพพา

ส่วนสังขารที่ยังมีเชื้อเหลืออยู่ เราก็อยู่รับวิบากทางกาย ทางวาจาไป แต่วิบากทางใจ แม้ยังให้ผล แต่ไม่มีผลต่อใจ ทิฐิก็ยังคงมีอยู่ แต่ทิฐิไม่ได้อยู่เหนือใจ เป็นผู้อยู่ไปด้วยอำนาจแห่งใจ ที่เหนือ “ทิฐิ”

หวัดดี วันนี้คงพอแค่นี้ ขอให้โชคดีและร่ำรวยกันทุกคน …