ยึดนักก็อัตตา ไม่ยึดก็อัตตา

ยึดนักก็อัตตา ไม่ยึดก็อัตตา

465
0
แบ่งปัน

*** “ยึดนักก็อัตตา ไม่ยึดก็อัตตา” ***

นักบุญนั้นพอได้ทำบุญ ก็มีความสุข สุขที่ได้ทำบุญ เพราะยึดบุญที่ทำ

นักปฏิบัติ พอได้ปฏิบัติก็รู้สึกเป็นสุข ได้รู้ได้เห็น รู้สึกตัวเองเป็นคนดี พอใจในการปฏิบัติ เพราะยึดในการปฏิบัติ

นักเลง พอได้ทำตัวเป็นนักเลงรู้สึกมันยิ่งใหญ่ ข่มใครเขาได้ พอใจในการเป็นนักเลง เพราะยึดว่าข้านี่แน่ ใครแหย่ก็เจอเจ๋ง

มนุษย์นั้น ไม่ว่าทำอะไร แสดงอะไร คิดอะไร ก็จะยึดในสิ่งนั้นๆ

ยึดนั้นเป็นอุปาทาน ซึ่งมีเป็นปกติธรรมดาของทุกคน คำที่ท่านชี้สอนว่าอย่ายึดนั้น ความหมายก็คือ..

ให้เข้าใจเหอะว่า..ไม่ว่ามันจะเป็นเช่นไร มันก็เป็นของมันเช่นนั้นเอง ”

เราแค่เสือกไปเป็นเจ้าของมันโดยขาดการตรึกตรองเท่านั้น ยึดเป็นอุปาทาน ไม่ยึดก็เป็นอุปาทาน มันอาศัยตัณหาเกิด

หากเราได้ไปอ่านพระคำภีร์ทุกเล่ม จะเห็นว่า ไม่มีพระสูตรไหนที่จะบอกว่า ให้ดับอุปาทาน หรือให้ดับที่ตัณหา ตามตรรกะเรา

อุปาทานมันอาศัยตัณหา ต้องไม่มีตัณหา อุปาทานมันถึงไม่มี

ตัณหาเสือกอาศัยเวทนาเกิดอีก ต้องไม่มีเวทนาตัณหาจึงจะไม่เกิด

เวทนามันอาศัยผัสสะ ผัสสะอาศัย ตา หู ลิ้นฯ อีก ง่ายๆไม่ต้องคิดมาก

คือตราบใดยังมีชีวิตอยู่ อย่าไปดับมันตรงไหนเลย มันดับไม่ได้

เมื่อดับไม่ได้ วิถีพุทธะ ท่านชี้ให้เราอยู่ร่วมกับอุปาทานและเหตุแห่งตัณหาเช่นไรน่ะ

นี่สัจธรรมอันเป็นธรรมมันมีและเป็นของมันมาอย่างนี้

ฉนั้นรู้จักมันในสิ่งที่เราเป็น ด้วยการจะทำอะไรก็หัดพิจารณาซะก่อน..

ถ้าทำโดยขาดการพิจารณา มันก็จะเป็นอุปาทานที่อาศัยตัณหาไหลมาทางสมุทัย

ผลก็คือเกิด ภพ ชาติ อันเป็นทุกข์กับการยึดมั่นถือมั่นของท่านในการ คิด พูด ทำล่ะ

แต่ถ้าท่านได้พิจารณาในสิ่งที่กระทบ อุปาทานก็จะไหลไปทางมรรค

ผลก็คือ ภพ ชาติที่เกิดขึ้นมา มันก็จะทุเลา เบาบาง จางคลายจนดับลงไปเป็นนิโรธะ

นี่เป็นหลักอริยสัจน่ะท่าน หากท่านต้องการเป็นมนุษย์ที่ไม่พร่อง ท่านพึงเอาแนวการดำเนินนี้ ไปใช้กับเส้นทางในชีวิตที่เหลืออยู่

ขอให้ท่านมีความสุขกับหลักของอริยสัจที่ได้ขยายออกมา

อ้อ..ที่กุด่าแม่มึง กุไม่ยึดนะ แต่มึงอย่ามาด่าแม่กุละกัน กุยังยึด..!!

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2563

โดยพระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง