เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

924
0
แบ่งปัน

9747ตะกี้ได้อธิบายคำว่า อิทัปปัจจยตาในอีกหน้าเพจหนึ่ง เพื่อพวกเราบางท่านอยากฟัง ข้าจะคัดลอกมาให้ฟังกัน

เจ้าแปงเขาได้ถอดธรรมมาเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ธรรมกระจายไปสู่ส่วนต่างๆได้มากขึ้น ที่นี้ เมื่อได้กล่าวถึงภาษาธรรม ซึ่งเป็นภาษาบาลี ก็ต้องมีการขยายให้มองเห็นภาพรวมแห่งภาษา 

เราคนไทยเอง ที่อธิบายกันมา บางครั้งขึ้นต้นถูก แต่ลงท้ายผิด นี่..ก็มีมากมาย เรื่องภาษาธรรมมันตีความได้หลากหลาย ยิ่งต้องแปลเเป็นภาษาอังกฤษ มันก็ยิ่งให้ความหมายให้ตรง มันก็ยิ่งยากเข้าไปอีก

การแปลก็ต้องเข้าใจภาพรวม แล้วอธิบายออกมาในเชิงความหมาย หากแปลกันตรงตัว เป็นคำๆ ธรรมนี้ ก็จะไม่ตรงเลยทีเดียว

เรื่องภาษาอังกฤษ สัตว์ป่าอย่างข้า ลืมภาษาหมดแล้ว แต่จะขออธิบายให้เห็นภาพ ในคำๆหนึ่งที่คนเขาชอบพูดกัน คือ อิทัปปัจจยตา

ข้าจะให้ความหมายในคำว่า อิธทัปปัจยตา ตามภาษากะเหรี่ยงดงป่าๆอย่างข้าเด้อจ้า…

คำว่า อิทัปปัจจยตา เป็นความหมายรากลึกของอริยสัจ

แหม่..มันก็ต้องอธิบาย อะไรคืออริยสัจกันอีก เพราะมันเป็นสมมุติย่อแห่งค

อริยสัจนี้ เป็นหลักเหตุ และหลักผล

เหตุ คือ หนทางแห่งการ ก่อเหตุ กับ ดับเหตุ

หนทางก่อเหตุ เรียก สมุทัย ผลคือ ทุกข์ที่ก่อขึ้นมาไม่รู้จบ

หนทางดับเหตุ เรียกว่า มรรค ผลคือ ดับทุกข์ให้ทุเลา เบาบาง จางคลาย

มันเป็นหลักเหตุและหลักผล

เหตุนอกเป็นสมุทัย เหตุในเป็นมรรค

มันเป็นหลักเหตุและหลักผล สองชุดมาซ้อนกัน

นี่คือหลัก อริยสัจ

ทั้งเหตุนอกและเหตุใน มันก็คือผล

เมื่อสาวผลลงไป ก็จะเจอเหตุอีก

เหตุนี้คือ ใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบ ยามโดนกระทบนี่แหละ เป็นเหตุ

นี่..เป็นความเข้าใจยากของมนุษย์ปุถุชน แม้นักเรียนแปลบาลีก็เหอะ ย่อมไม่เข้าใจ

ความเป็นไปแห่งคำว่า อริยสัจ

เพราะอริยสัจเป็นหลักเหตุหลักผล กฏของมันก็คือ

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี หมายถึง เพราะมีสิ่งหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง

ตราบใดที่ยังมีการปรุงแต่ง การปรุงแต่งนี้ หมายถึงเหตุปัจจัยแห่งองค์ประกอบ

คือ ทางด้าน ฟิสิกส์ ชีวะ จิต กรรม และธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หมายถึง เมื่อไม่มีสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งที่ต่อเนื่องกัน ก็ย่อมไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ หมายถึง เมื่อสิ่งหนึ่งดับไปสลายไป อีกสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ก็ย่อมดับและสลายตาม

นี่ เป็นอริยสัจ เป็นหลักเหตุ หลักผล เมื่อรวมความแห่งเหตุนอก เหตุใน ผลนอก ผลใน

เราเรียกเหตุและผลทั้งหลายนี้ว่า อิทัปปัจจยตา

อิทัปปัจยตา เมื่อเกี่ยวเนื่องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดคล้องเป็นลูกโซ่

และวนมาครบกาลเป็นวงล้อ เราเรียกกระบวนการที่ต่อเนื่องแห่งกฏ อิทัปปัจจยตานี้ว่า

วงล้อแห่ง ปฏิจจสมุปบาท

วงล้อแห่งปฏิจจสมุปบาท อาศัยกฏ อิทัปปัจจยตา ก่อเกิดเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน

เวียนวนจนครบกาล ครบรอบวง มนุษย์เรา หนีจากวงล้อแห่งปฏิจสมุปบาทไม่ได้

ที่หนีไม่ได้ เพราะ ปฏิจจสมุปบาท เป็นอาการของ อวิชชา

อวิชชาคือความไม่รู้ ความไม่รู้นี้ อาศัยความมีตัวตนเข้าไปยึดครองการเป็นเจ้าของ

ในอาการ อันมาจากเหตุแห่ง อวิชชาทั้งหลาย

การจะแหกวงล้อแห่งวัฏฏะคือ ปฏิจจสมุปบาทออกไปได้

ก็ให้มาเริ่มแหกตรงหลักแห่ง อริยสัจ

คือเข้าใจหลักเหตุหลักผล

เมื่อผลมี เหตุก็ย่อมมี ผลนั้นเมื่อสาวลงไป มันก็จะเจอเหตุ และเหตุนั้นที่เราเจอ

มันกลายเป็นผลของเหตุที่ลึกลงไปอีก เราก็ต้องสาวเหตุอันเป็นผลนั้น ลึกลงไปอีก

ก็จะเจอเหตุ และเหตุนั้น ก็เป็นผลที่เราต้องสาวลึกลงไปอีก ลึกลงไปอีก ลึกลงไปอีก

จนหมดเหตุ และเห็นชัดถึงความเป็นเหตุว่ามัน ไม่มี

สิ่งที่ไม่มี ย่อมไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นธรรมดา

สิ่งที่ไม่มีนี้ คือ อนัตตา

เมื่อสร้างเหตุให้แก่อนัตตา ผลคืออัตตา ก็ย่อมมี

ที่มีก็คืออวิชชา อวิชชาก็คือ อัตตาที่สมมุติจากเหตุที่มันไม่มี

ที่มี ล้วนแล้วแต่….สมมุติ

แหม…เราจะพูดถึง อิทัปปัจจยตา ดันมาผ่าไหลไปถึงสมมุติ

อิทัปปัจจยตานี้ อาศัย สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี อีกสิ่งก็ย่อมมี เมื่อมีเหตุ ก็ย่อมมีผล ผลนี้เป็นวิบากแห่งเหตุ มันอาศัยซึ่งกันและกันมีและเกิด

พุทธศาสนาชี้มาให้เห็นธรรมชาติที่มันมีและมันเป็น ว่าสรรพสิ่ง มันอาศัยปัจจัยซึ่งกันและกันเกิด

ไม่มีสิ่งใดเกิดกำเนิดขึ้นมาด้วยลำพังของตัวมันเองได้

เมื่อใจที่ประจักษ์ชัดถึงความจริงแห่งธรรมชาติเช่นนี้

ความหลงงมงายในเรื่องที่คิดว่า สรรพสิ่งเกิดจากการดลบันดาลของผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ไม่มี ที่มี มันมีเหตุและผลของเหตุปัจจัยทำให้เกิด

นี่ ตรงนี้ ใจที่เห็นชัดถึงกฏแห่งธรรมชาติข้อนี้ จะทำให้ถอดถอนตัวตน และความยึดมั่นถือมั่น ในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้ โดยไม่หลงงมงายอีกต่อไป

มนุษย์ผู้ประจักษ์แจ้งแห่งกฏธรรมชาติข้อนี้ ได้ชื่อว่า เป็นมนุษย์ที่เป็น พระโสดาบัน

เข้าถึงกฏแห่งความเป็นจริงของธรรมชาติที่ว่า

สรรพสิ่งที่มีที่เป็น ต่างล้วนมีเหตุปัจจัยเป็นเหตุปัจจัยที่ไหลไปตามครรลองแห่งธรรมชาติ ที่เป็นของมัน เช่นนั้นเอง นั่นก็คือ ตถาตา..

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง พระกะเหรี่ยง ครูบาอาจารย์ ผู้ทรงคุณ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557

โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง

 


Answer to Jeremy Mielac
โอ๊ววว…มันๆๆชิบหาย สัตว์ป่าอย่างข้า ลืมภาษาหมดแล้ว ข้าจะให้ความหมายในคำว่า
Ohhh….such a crap!! Animal like me had forgot the human language, I will give you the definition of “Ithapajayata” in my barbarian words.
คำว่า อิทัปปัจจยตา เป็นความหมายรากลึกของอริยสัจ
Ithapajayata (The Dhamma of Cause and Result) is a deep meaning of The 4 Noble Truths (Ariyasaja)
แหม่..มันก็ต้องอธิบาย อะไรคืออริยสัจกันอีก เพราะมันเป็นสมมุติย่อแห่งคำ
Well…it has to explain what The 4 Noble Truths are, because it is the summarized of word assumption.
อริยสัจนี้ เป็นหลักเหตุ และหลักผล
The 4 Noble Truths is base on Cause and Result aspect.
เหตุคือ หนทางแห่งการ ก่อเหตุ กับ ดับเหตุ
The cause is the way the cause happened and cease the cause.
หนทางก่อเหตุ เรียก สมุทัย ผลคือ ทุกข์ที่ก่อขึ้นมาไม่รู้จบ
The way of a cause happened is called “Smhuthai” and the result is the arising of never ending Dukkha (stress, unsatisfactoriness, suffering).
หนทางดับเหตุ เรียกว่า มรรค ผลคือ ดับทุกข์ให่ทุเลา เบาบาง จางคลาย
The way to cease the cause is called “Markha” and the result is to stop or relieve the Dukkha.
มันเป็นหลักเหตุและหลักผล
It is the matter of cause and result.
เหตุนอกเป็นสมุทัย เหตุในเป็นมรรค
The outer cause is Smhuthai and the inner cause is Markha
มันเป็นหลักเหตุและหลักผล สองชุดมาซ้อนกัน
There are causes and results overlay on this paradigm.
นี่คือหลัก อริยสัจ
This is the 4 Noble Truths.
ทั้งเหตุนอกและเหตุใน มันก็คือผล
But both the outer cause and the inner cause are the results of another cause.
เมื่อสาวผลลงไป ก็จะเจอเหตุอีก
Once we scrutiny deeper, we found another cause.
เหตุนี้คือ ใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบ ยามโดนกระทบนี่แหละ เป็นเหตุ
This is the reason why our carving occurred ceaseless when you contact with everything in our life. This is the cause.
นี่..เป็นความเข้าใจยากของมนุษย์ปุถุชน แม้นักเรียนแปลบาลีก็เหอะ ย่อมไม่เข้าใจ
It is hard to understand for people, even the one who competence in Pali and understand it, still not comprehend in this concept.
ความเป็นไปแห่งคำว่า อริยสัจ
The ongoing of the 4 Noble Truths, because the 4 Noble Truths is the cause and result principle.
เพราะอริยสัจเป็นหลักเหตุหลักผล กฏของมันก็คือ
It’s law is “because of this….,hence it is that….”, means one thing is a factor to create another thing!
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี หมายถึง เพราะมีสิ่งหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง
ตราบใดที่ยังมีการปรุงแต่ง การปรุงแต่งนี้ หมายถึงเหตุปัจจัยแห่งองค์ประกอบ
As long as there is a mental activities, this mental activities is the cause of components.
คือ ทางด้าน ฟิสิกส์ ชีวะ จิต กรรม และธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย
By physical, life, mind, Karma (activities) and the nature of factors.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หมายถึง เมื่อไม่มีสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งที่ต่อเนื่องกัน ก็ย่อมไม่มี
If there is nothing, another thing which related to it, may not exist.
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ หมายถึง เมื่อสิ่งหนึ่งดับไปสลายไป อีกสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ก็ย่อมดับและสลายตาม
If a thing was ceased and dissolved, another thing which is related to it, may not exist.
นี่ เป็นอริยสัจ เป็นหลักเหตุ หลักผล เมื่อรวมความแห่งเหตุนอก เหตุใน ผลนอก ผลใน
This is the Noble Truths, a cause and result principle. Once we summarize the outer cause and the inner cause.
เราเรียกเหตุและผลทั้งหลายนี้ว่า อิทัปปัจจยตา
We called all cause and result as “Ithapajayata”.
อิทัปปัจยตา เมื่อเกี่ยวเนื่องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดคล้องเป็นลูกโซ่
One thing related and based on a thing, chained together.
และวนมาครบกาลเป็นวงล้อ เราเรียกกระบวนการที่ต่อเนื่องแห่งกฏ อิธิทัปปัจจยตานี้ว่า วงล้อแห่ง ปฏิจจสมุปบาท
And it circle around as turning wheel, we called this ceaseless process of “Ithapajayata” as the wheel of “Paticcasamuppāda”
วงล้อแห่งปฏิจจสมุปบาท อาศัยกฏ อิทัปปัจจยตา ก่อเกิดเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน
The wheel of Paticcasamuppāda is based on Ithapajayata and effect on each other.
เวียนวนจนครบกาล ครบรอบวง มนุษย์เรา หนีจากวงล้อแห่งปฏิจสมุปบาทไม่ได้
Circle around and around, human being can’t escape from the wheel of Paticcasamuppāda.
ที่หนีไม่ได้ เพราะ ปฏิจจสมุปบาท เป็นอาการของ อวิชา
The reason why we can’t escape because the wheel of Paticcasamuppāda is the great ignorance.
อวิชาคือความไม่รู้ ความไม่รู้นี้ อาศัยความมีตัวตนเข้าไปยึดครองการเป็นเจ้าของ
The great ignorance is the unknowing, this unknowing lives in ourselves and dominate.
การจะแหกวงล้อแห่งวัฏฏะคือปฏิจจสมุปบาทออกไปได้ ก็ให้มาเริ่มแหกตรงหลักแห่ง อริยสัจ
To escape from the wheel of Paticcasamuppāda, we start from the Noble Truths.
คือเข้าใจหลักเหตุหลักผล
It is mean, we have to understand the cause and result principle.
เมื่อผลมี เหตุก็ย่อมมี ผลนั้นเมื่อสาวลงไป มันก็จะเจอเหตุ และเหตุนั้นที่เราเจอ
If there is a result, there must be a cause and if we go down deeper, we will find a cause.
มันกลายเป็นผลของเหตุที่ลึกลงไปอีก เราก็ต้องสาวเหตุอันเป็นผลนั้น ลึกลงไปอีก
And for a cause we found, it is just a result of another cause which lies down more deeper.
ก็จะเจอเหตุ และเหตุนั้น ก็เป็นผลที่เราต้องสาวลึกลงไปอีก ลึกลงไปอีก ลึกลงไปอีก
And we will found the cause which will be soon a result of another cause, deeper and deeper.
จนหมดเหตุ และเห็นชัดถึงความเป็นเหตุว่ามัน ไม่มี
Once we reach the bottom of the cause, there is nothing.
สิ่งที่ไม่มี ย่อมไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นธรรมดา
If there is nothing, another thing may not exist.
สิ่งที่ไม่มีนี้ คือ อนัตตา
The nothing is Anatta (Emptiness or Insubstantial).
เมื่อสร้างเหตุให้แก่อนัตตา ผลคืออัตตา ก็ย่อมมี
If we create the cause for Anatta, the result is Atta (Self or Mental Identity)
ที่มีก็คืออวิชา อวิชาก็คือ อัตตาที่สมมุติจากเหตุที่มันไม่มี
Then, the Atta create the ignorance, the ignorance is created by the assumption of no cause.
ที่มี ล้วนแล้วแต่….สมมุติ
All the cause is just assumption.

แปลโดย : Toby Pang‎