ผลแห่งการทำสมาธิไปสู่อริยสัจ

ผลแห่งการทำสมาธิไปสู่อริยสัจ

345
0
แบ่งปัน

***** “ผลแห่งการทำสมาธิไปสู่อริยสัจ” *****

หวัดดียามเช้าสิ้นเดือน

ข้าเองเคยทำสมาธิในป่ามายาวนาน

เพราะเข้าใจว่าป่าจะช่วยให้เกิดฌานและสมาธิได้ง่าย

จริงๆมันก็ไม่เกี่ยวซักเท่าใหร่หรอกนะ

บางคนอยู่ในเมืองเจริญสมาธิได้ดี เราก็เจริญในเมืองไป

บางคนเจริญในป่าได้ดี เราก็เจริญในป่าไป

สมาธินี่ จริงๆก็ไม่เกี่ยวกับความสงัดหรือสงบอะไร

เราเข้าใจว่า การทำสมาธิต้องเป็นสถานที่ ที่ต้องเงียบสงบ

สถานที่ที่เงียบสงบนั้น เหมาะแก่ผู้คนที่ยังอ่อนแอทางปัญญา

เหมาะสำหรับผู้ที่มีกำลังใจอ่อน ต้องการความส่วนตัว โดดเดี่ยว

เพื่อช่วยให้ใจตนนั้นไม่วอกแวกต่อสิ่งใดๆที่จะเข้ามากระทบ

จริงๆแม้ในห้าง ท่ามกลางเสียงอึกทึกคึกโครม ความพอใจที่เราได้เดินห้าง ได้เที่ยวห้าง

เรายังไม่รำคาญเสียงเหล่านั้นเลย อาการสมาธินี่เป็นอย่างนั้น

คือไม่รำคาญต่อสิ่งรอบข้างที่เข้ามากระทบ

ที่นี้ สมาธิที่สูงขึ้นนี่ มันรำคาญใจตัวเอง ที่คิดนู่นคิดนี่ นึกนั่นนึกนี่

เป็นเช่นนี้ ท่านจึงให้หาหลักใจไว้เกาะ นั่นก็คือคำบริกรรม

คำบริกรรมนี่ก็เป็นกสิณอย่างหนึ่ง ที่ใช้ใจเข้าไปเกาะกับคำสมมุติ

เช่นพุทโธ สัมมาอรหัง ส่วนยุบหนอพองหนออะไรนี่
เป็นการใช้เพ่งอาการ พร้อมคำบริกรรม

เมื่อมีหลักเกาะ หลักนี่อาศัยสติประคองให้ใจจับจ้อง เพ่งอยู่ในอารมณ์นั้นๆ

ปัญหาของนักปฏิบัติการบริกรรมก็คือ มักจะออกไปแนวท่องคำบริกรรม

คือปากก็ท่องพุทโธไป แต่ใจดิ้นไปโน่นไปนี่ ไม่อยู่กับคำบริกรรม

วิธีเช่นนี้ สมาธิไม่เกิดหนาแน่นขึ้นมาได้

เพราะขาดการจรดจ่อในคำบริกรรม

รายละเอียดแห่งการทำสมาธินี่ ต้องสอบอารมณ์และมาทำเฉพาะหน้า

เมื่อได้หลักแล้ว เราจึงไปนั่งภาวนาของเรา โดยลำพังได้

ถ้าขาดหลัก หรือผู้ชี้ ชี้ไม่เป็นไม่ถูก เรานั่งสมาธิเท่าใหร่ มันก็ได้แค่หลับตาท่องบ่นไป ไม่เป็นสมาธิ

และรำคาญในอารมณ์ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน

วิสัยทัศน์ของผู้ชี้ มีความสำคัญต่อผู้ฝึกทำสมาธิ

การเข้าใจอารมณ์ เข้าใจอาการทางจิต เข้าใจสภาวะความหนาแน่นแห่งจิตในแต่ละคน นี่สำคัญ

ทุกคนมีจริตและกำลังไม่เท่ากัน

การนั่งสมาธิเป็นกลุ่มเป็นก้อนและชี้บอกเป็นสูตร จึงไม่ได้ผลต่อการทำสมาธิ

สิ่งที่ได้ก็คือ มานะ ทิฏฐิและตัณหา ที่หลงว่านี่คือคนดีที่กำลังเป็น

จิตใจคนเรานี่ก็เหมือนลิง ปู ปลา ช้าง ม้า

เมื่อเอามารวมกันแล้วแข่งกันขึ้นต้นไม้

ไอ้ลิงก็คิดว่าตัวเองเก่งแหละ ส่วนไอ้ตัวอื่นก็โง่ไปตลอดชีวิต เพราะการแข่งนั่น

การทำสมาธินี่ ผู้ชี้เหนื่อย ต้องชี้กันเป็นคนๆตามเหตุแห่งจริต

ถ้าไม่ตรงจริต มันจะเป็นการฝืนทำ สมาธิไม่เกิด

บางคนนี่ นั่งไม่ได้ กำลังด้านนี้มันอ่อน เราเปลี่ยนไปใช้การเคลื่อนไหวได้

คนชอบความเพียรนี่ ต้องใช้การเคลื่อนไหวและเพ่งในสิ่งที่ตนสนใจ

คนเกียจคร้านนี่ เพ่งลมหายใจ หรืออยู่กับอะไรเฉยๆนิ่งๆ

พวกศรัทธา ก็เพ่งมโนปรุงแต่งสวรรค์ เทวดาอะไรก็ว่าไป

พวกปัญญามาก ก็นั่งพิจารณาผม ขน เล็บ อะไรไป อะไรอย่างนี้

นี่เพราะเหตุของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน

เมื่อชี้ตรงเหตุ การมีสมาธิที่สูงขึ้นของจิตใจในแต่ละคน มันก็จะได้ผล

ยืนยันได้ด้วยตัวเขาเอง

สมาธิทางพุทธนี่ อาศัยสติเป็นสำคัญ

สตินี่เป็นวิตก สัมปชัญญะนี่เป็นวิจารณ์

เมื่อสติและสัมปชัญญะเกิดความหนาแน่น

การปรุงแต่งแห่งภวังค์จิตมันก็เกิด บาลีเรียกว่าอาการปิติ

เมื่อเกิดความชำนาญ การปรุงแต่งนั้นก็หยาบไป

จิตจะหดเข้าไปสู่ความสงบ ที่ไม่ปรุงแต่ง บาลีเรียกว่าสุข

เมื่อหนาแน่นมากขึ้น การหดตัวของจิตก็จะเข้าไปสู่ความเป็นอุเบกขา

มีแต่สติลอยเด่นอยู่เป็นอารมณ์เดียว นี่เรียกว่าฌานสี่

อารมณ์การทำสมาธิด้วยสติ มีเพียงแค่นี้

จิตมันหดต้วไปสู่อารมณ์เดียวได้เพียงแค่นี้ มีสติลอยเด่นอยู่

เจ้าของจะเข้าใจและไม่สงสัยในอาการแห่งจิตที่มันเป็น

ผู้ที่มีกำลังเข้าถึงฌานสี่ หากมีผู้มีปัญญาชี้ทางธรรมที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงให้

ท่านกล่าวว่า จะบรรลุมรรคผลได้ไม่เกินภายในเจ็ดวัน

เพราะผู้เข้าถึงสมาธิระดับนี้ สิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาแก่ใจ

นั่นก็คือ ภาวะแห่งบุพเพนิวาสา คือระลึกอดีตได้มากชาติ

หากมีปัญญาสาวผลแห่งชาติหาเหตุหาผลในอีตที่เกิดเป็น นั่น นู่ น่ โน่นได้

มันก็จะเห็นความจริงของเหตุ คือตัณหาที่ผุดออกมาจากใจโดยไม่รู้จบ

มันจะเห็นชัดถึงเหตุต่างๆว่า

อะไรที่ไหลไปตามอำเภอใจ สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ และต้องเสวยผลแห่งทุกข์นั้นอย่างไร

อะไรที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญใจที่มีตัณหา สิ่งนั้นจะสงบลง ทุกข์จะทุเลาเบาบางลงไป

นี่เป็นหลักแห่งอริยสัจ

อริยสัจคือหลักเหตุหลักผล ที่พระพุทธองค์เจ้าได้ทรงตรัสรู้ และนำมาชี้สอนพุทธบริษัท

ผู้ที่หมั่นฝึกหมั่นทำสมาธิ คือผู้ที่มีผลและเส้นชัย ที่จะมีทางดำเนินใจไปในร่องแห่งอริยสัจนี้

ก็ขอให้ทุกท่าน พึงเจริญในเส้นชัยที่เริ่มต้นจากการทำสมาธิ

วันที่เจ็ดมิถุนายนนี้ ลงไป อ.เบตง

ใครสงสัยเรื่องสมาธิจิต เราไปนั่งไถ่ถามกันที่นั้นได้

มีเวลาอยู่ที่นั่นไม่กี่วัน ก็หากำไรกันให้เต็มที่กับเรื่องราวแห่งการทำและเจริญสมาธิ

พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง วันที่ 31 พฤษภาคม 2560