หลงคิดว่าพริกเผ็ด

หลงคิดว่าพริกเผ็ด

356
0
แบ่งปัน

******* “หลงคิดว่าพริกเผ็ด” *******

สมัยนั้น ข้านั่งอยู่ที่ศาลา พร้อมพระท่าน

เราได้คุยกันหลากหลายถึงสิ่งที่เห็น

ข้าถามว่า

>> พ่อหนุ่ม ท่านเห็นลมนั่นไหม..

พระท่านมองไปที่ยอดไม้ เห็นใบไม้ลู่ตามลมและใบไม้ปลิวว่อน

<< เห็นครับ พระอาจารย์ นั้นไงลม

>> ไหนลม ที่ท่านเห็น

<< นั่นไงครับ ลมมันหมุนจนใบไม้ล่องลอยปลิวว่อน และปลายไม้ลู่ไปตามสายลม

>> ผมไม่เห็นลมที่ท่านกล่าวเลย ผมเห็นแต่ไบไม้ที่มันปลิว และยอดไม้ที่มันสั่นไหว ไหนละลม

พระท่านมองหน้า ตอบว่า

<< ก็นั่นลมมันกรรโชกอยู่ไม่ใช่หรือครับ ผมเห็นเช่นนั้น ทำไมพระอาจารย์จึงมองไม่เห็นลม เป็นปริศนาธรรมรึเปล่าครับ

<< ตาผมมองไม่เห็นลมที่ท่านชี้หรอกพ่อหนุ่ม ถ้าผมหลับตามอง ผมจะมองเห็นลมได้ชัดกว่า

<< พระอาจารย์ หลับตาแล้วมันจะมองเห็นลมได้อย่างไร มันเป็นคำตอบที่แปลกโลกเขา

>> ผมมองเห็นลมด้วยลูกกระตาไม่ได้เหมือนท่านเห็นน่ะครับ

ผมต้องหลับตา เพื่อเอาผิวกาย เข้าไปมอง

ลมผมมองเห็นได้ด้วยความรู้สึกที่มาผัสสะผิวกาย

ตาผมมองลมไม่เห็น เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของลูกกะตาที่จะไปมองเห็นลมน่ะครับ

<< โอ้…พระอาจารย์ ผมเข้าใจแล้ว ผมหลงอุปาทานแห่งอายตนะอีกแล้ว..

>> ท่านว่าพริกเผ็ดใหมครับ

<< อึ้ง…!! มองหน้าชั่วครู่ … !! คิดว่าเผ็ดครับ

>> พริกกระเหลี่ยงเผ็ดใหม

<< พริกกระเหลี่ยงเผ็ดครับ

>> พริกเผ็ดจริงๆหรือ หรือท่านสมมุติว่าเผ็ด

<< เผ็ดจริงๆครับ ความเผ็ดไม่ใช่สมุมุติ

>> เผ็ดนี้เป็นสมมุติ พริกไม่มีเม็ดไหนเผ็ด

<< พริกเผ็ดซิครับ สมมุติได้ไง พริกเผ็ดจริงๆ มันเป็นสัจธรรมแห่งรสพริก

>> หากเป็นสัจธรรม เผ็ดที่พริก หรือเผ็ดที่เรา

<< เผ็ดที่พริกครับ ถ้าพริกไม่เผ็ด เราจะหาเหตุเผ็ดมาจากไหน

>> ใครเป็นผู้รู้รสเผ็ด พริกหรือเรา

<< เราซิครับ เป็นผู้รู้รสเผ็ด

>> ตกลง พริกเผ็ดหรือเราเผ็ด

<< โอ้ววว…. สาธุครับ เราเผ็ดครับ ไม่ใช่พริกเผ็ด

>> ตกลง พริกเผ็ดเป็นสมมุติหรือสัจธรรม

<< พริกเผ็ดเป็นสมมุติครับ เราเป็นผู้เผ็ด ไม่ใช่พริกเผ็ด ผมเข้าใจแล้วครับ

>> เราก็เป็นสมมุติ เราไม่ใช่ผู้เผ็ด หากเราเผ็ด นี่ก็นิ้วของเรา ทำไมนิ้วเรามันถึงไม่เผ็ดเมื่อเราจับพริก

<< ……….?????? โอ้ววว…ตันครับ โปรดขยายธรรม..!!

>> เราอยู่ตรงไหน เราถึงได้เผ็ด

<< ……..??? เราอยู่ที่ใจครับ

>> ใจ..?? อะไรคือใจ ถึงได้บอกว่าเราคือใจ

<< ใจคือความคิดครับ ความรู้สึกนึกคิดนั่นคือใจ

>> รู้สึกนั่นเวทนา ที่อาศัยผัสสะ ส่วนนึกคิดนั่นคือมโน เป็นอาการแห่งใจไม่ใช่ใจ

<< อ้าว..ความคิดไม่ใช่ใจเหรอ

>> ความคิดเป็นผลของมโนจิต อาศัยอารมณ์ที่ผัสสะเป็นเครื่องปรุง

พอๆกับรูป เป็นผลของจักษุ อาศัยเจตสิกเป็นเครื่องปรุง

มันเป็นอาการแห่งใจ ไม่ใช่ใจ เพราะมันมีเหตุปัจจัยในการเกิดกำเนิด

<< งั้นพริกก็ไม่ได้เผ็ดที่ใจซินะ งั้นเผ็ดที่ไหนครับ

>> เผ็ดที่ลิ้น ลิ้นเป็นตัวทำให้เผ็ด ไม่ใช่เราเผ็ด คำว่าเรามันกว้างไปที่จะไปรู้ความเผ็ด

ตกลงพริกเผ็ดที่ไหน..

<< เผ็ดที่ลิ้นซิครับ ลิ้นเป็นตัวรับรส รู้รส มันเผ็ดที่ลิ้น ไม่ได้เผ็ดที่ความเป็นเรา หรือเผ็ดที่พริก

>> ความจริง ลิ้นก็ไม่ได้เผ็ด..!!

<< อ้าว..ลิ้นไม่ได้เผ็ด แล้วจะไปเผ็ดที่ไหน ในเมื่อลิ้นเป็นตัวรับรส

>> เผ็ดที่ความรู้สึก

<< อ้าว..ความรู้ลึกเผ็ดได้ไง ในเมื่อต้องใช้ลิ้นรับรสรู้รส

<< ความรู้สึกไม่มี ลิ้นก็ไม่เผ็ด ลิ้นมันอาศัยความรู้สึกเผ็ด

>> อ้อ..เก็ตๆๆ มีเผ็ดสูงความนั้นอีกไม๊

<< มี..!!

<< โอ๊ว…ผมงงตั้งแต่พริกไม่ได้เผ็ดแล้วครับพระอาจารย์

<< เผ็ดอาศัยเจตสิก ไม่มีเจตสิกความรู้สึกก็จะไม่มี

เจตสิกอาศัยผัสสะ ไม่มีผัสสะ เจตสิกที่จะปรุงไปสู่ความรู้สึกก็ไม่มี

ผัสสะอาศัยอายตนะ ไม่มีอายตนะ ผัสสะก็ไม่มี

อายตนะอาศัยนามรูป ไม่มีนามรูป อายตนะก็ไม่มี

นามรูปอาศัยวิญญาน ไม่มีวิญญานนามรูปก็ไม่มี

นามรูปอาศัยการการปรุงแต่งจิต ไม่มีการปรุงแต่งจิต วิญญานก็ไม่มี

การปรุงแต่งจิตอาศัยสมมุติ ไม่มีสมมุตการปรุงแต่งจิตมันก็ไม่มี

สมมุติอาศัยอวิชา ไม่มีอวิชา สมมุติก็ไม่มี

อวิชาอาศัยผัสสะ ไม่มีผัสสะ การปรุงแต่งจิตก็จะไม่มี

การปรุงแต่งจิตไม่มี วิญญานก็ไม่มี

วิญญานไม่มี นามรูปก็ไม่มี

นามรูปไม่มี ช่องต่ออายตนะก็ไม่มี

ช่องต่อไม่มี ผัสสะก็ไม่มี

ผัสสะไม่มี ความรู้สึกก็ไม่มี

ความรู้สึกไม่มี เผ็ดก็ไม่มี….

<<…..โอ้วว..อาจารย์..!! แค่พริกนี่นะ..!!

<< เออ..ถ้าท่านเข้าใจพริก เข้าใจความเผ็ดของพริก

ท่านก็เข้าใจทุกอย่างว่ามันสมมุติ มันเป็นการอาศัยเหตุปัจจัยเกิด

ไม่ใช่ไปยึดที่ผลมันเกิดแล้วตัดสินด้วยอัตตาตนว่าใช่ว่าถูก

การมีชีวิตที่สมบรูณ์และมีปัญญารู้เห็นตรงตามความเป็นจริง

ชีวิตที่เกิดมา มันจะได้ไม่งี่เง่าโมฆะเพราะหลงยึดสมมุติที่คิดว่าเอา

เมื่อท่านเข้าใจพริก เข้าใจความเผ็ดของพริก

ท่านก็จะเข้าใจ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ ว่ามันไม่ใช่ความจริงที่เราเป็น

มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดทั้งสิ้น

ความหลงยึดมันซ่อนเหตุปัจจัยที่แท้จริง ทำให้เรานั้นขาดปัญญาญานรู้แจ้ง

เมื่อท่านเข้าใจพริกด้วยความเข้าใจผลแห่งพริก

ท่านก็จะเข้าใจโลกทั้งใบ ว่าไม่มีอะไรที่ท่านจะเข้าไปเป็นเจ้าของอะไรได้เลย…!!

พระธรรมเทศนาจากบทธรรม เรื่อง บรรลุธรรม ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง