บารมีแห่งทาน

บารมีแห่งทาน

622
0
แบ่งปัน

****** “บารมีแห่งทาน” *****

หวัดดีทุกคน ผ่านมาสองปี ข้านี่..ทำงานต้องปีนขึ้นสูงทุกวัน จากที่เสียวจนใข่สั่น เดี๋ยวนี้ คล่อง

ตอนนี้ ทรายเขาได้ซื้อ เข็มรัดไว้ให้ห้อยโหนได้ มา 5 ชุด ขอประกาศบุญ ที่ได้กระทำมา

คงไม่อยากให้ข้า ตกลงมาตายน่ะ ที่จริง การที่ข้าได้นั่งคิด นั่งมอง บอกคนงาน

ให้นำเหล็ก จากตรงนั้น มาตรงนี้ จากตรงนี้ โค้งไปนั้น

มันน่ามหัศจรรย์ มากๆ ที่เป็นโครงสร้าง แห่งเศียรองค์พระได้ ตอนนี้

ข้าถักไปจนถึงมวยผมแล้ว เป็นโครงร่างมวยผม จุดที่สูงที่สุด

ทำจากด้านหลังมาด้านหน้า การกระทำที่ข้ากระทำอยู่นี้ เป็นการกระทำ

อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งกอง กรรมฐาน การสละ ทำเพื่อแผ่นดิน ด้วยความเหนื่อยยาก

โดยไม่มีมูลค่าแห่งการตอบแทนคืนมา นี่คือการ ตั้งกองกรรมฐาน

ขั้น ปรมัตถ์ธรรม กรรมฐาน ขั้นปรมัตถ์ธรรมเป็น หน่อเนื้อแห่งความหลุดพ้น

กรรมฐานกองนี้ คือ จาคานุสติ กรรมฐาน มูลเหตุคือ การสละ การสละ นี้ ต้องใช้ความเพียรทางใจสูง เพราะเป็นการฝืนจิต ที่ผิดไปจากธรรมชาติ แห่งอุปาทาน

ที่เราสละกันได้ง่ายๆ เพราะเราสร้างสม การสละมาอย่างยาวนาน การสละ เริ่มตั่งแต่ วัตถุสิ่งของ จากเล็กๆ น้อยๆ ที่ดูว่าไม่มีค่าอะไร

ไปจนเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุ ที่มีค่า สำหรับใจเรา วัตถุบางชิ้น ต้องใช้กำลังใจสูง ในการที่เราจะตัดใจลงได้ แต่เมื่อตัดใจสละได้ นั่นคือ ผลแห่งชัยชนะ ที่เป็นสงคราม ที่กำชัยชนะ ได้ยากยิ่ง

ความภูมิใจ ก็จะเกิด ความภูมิใจนั่นแหละ เป็นผลแห่งการเสียสละ เรียกว่า ทาน ทานตัวนี้ เป็นทานที่เป็นบารมี

บารมีคือ กำลังใจที่สามารถ ต้านทานความตระหนี่ ขี้เหนียวออกจากใจได้ เพราะความตระหนี่ ขี้เหนียวนี้ มันเป็น อุปาทาน

อุปาทาน เป็นผลแห่งตัณหาที่ผุดขึ้นมาจากใจ ไม่รู้จบ เมื่อเราฝืน เอาชนะ สงคราม ที่เราเอาชนะได้ยากยิ่งสำเร็จ

กำลังใจที่เรียกว่า บารมี ก็จะเพิ่มพูนสูงขึ้น เราเรียกกำลังใจนี้ว่า เป็นผู้มีทาน บารมี ผู้ที่มีทานบารมี ย่อมมีปกติใจ ที่เป็นกำลังแห่งการลด ละ เลิก

ในสิ่งที่ยึด ที่มั่น ที่หมาย ให้มัน พอ ทุเลา เบาบาง เจือจางลงมา นี่..เป็นการคลาย อุปาทาน ที่พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะ

เริ่มที่ทาน คือการให้ หรือการ เป็นผู้มีใจ ยอมเสียสละ เรา…มีใจแห่งการยอมเสียสละมากน้อยแค่ไหน นี่ก็ขึ้นอยู่กับกำลังใจ หรือการสะสมมาทางด้าน บารมี

คนที่มีทานบารมี ย่อมเป็นผู้ที่มี ศีลบารมี ศีลบารมี คือผู้ที่มีใจปกติ เป็นผู้ยอมเสียสละ อยู่เป็นนิจอยู่แล้ว

คนที่มีกำลังเต็มแห่งศีลบารมี คือผู้ที่มีสติ พิจารณาใคร่ครวญ อะไรต่ออะไร ก่อนตัดสินใจเสมอ มันเป็นสันดานแห่งผู้มีศีล

เพราะปกติ ไม่เป็นคนอยากได้ของๆ ใคร โดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของ อยู่แล้ว เป็นผู้ที่เนื่องด้วย การเสียสละ เพื่อผู้อื่น เป็นผู้ให้ผู้อื่น อยู่เป็นปกติอยู่แล้ว

นี่..คือผู้มีศีล บารมี คน ที่มีกำลังใจ มีสติใคร่ครวญ พิจารณา ก่อนที่จะทำอะไร ย่อมเป็นผู้ที่ ไม่ตกอยู่ในกระแส แห่งนิวรณ์ ง่ายๆ นัก

กระแสนิวรณ์ ก็คือ ความอยาก ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์จิต คนมีศีล มีความสำรวมในเรื่องพวกนี้ ตามกำลังแห่งปัญญา

>> ความเป็นคนเจ้าอารมณ์ นี่..กระแสนิวรณ์

>> การแสดงออกแห่งความเป็นตัวตน เจ้าของ อาการแห่งจิต เช่น การชอบอ้างนั่นอ้างนี่ กับอาการแห่งกายที่ตนเองคิดว่าเป็น นี่..ก็กระแสนิวรณ์

>> ความลังเล สงสัย ปลงใจไม่ได้ วิตกกังวล เอาแน่นอนไม่ได้ นี่..ก็กระแสแห่งนิวรณ์

>> ความเครียด ฟุ้งซ่าน ไม่ได้ได้ใจ ไม่มีอารมณ์จะทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันได้ นี่ ก็เป็นกระแสแห่งนิวรณ์

ผู้มีกำลังใจแห่งความเป็นศีล ย่อมขจัด กระแสแห่งนิวรณ์ได้ ตามกำลังแห่งปัญญาที่มี เราเรียกว่า เป็นผู้มีใจออกจากกองกิเลส คือกามทั้งหลาย ที่อาศัย ผัสสะ เป็นเครื่องก่อ

เรียกว่า ผู้มีใจออกบวช คือผู้ที่มีใจออกจากกระแสแห่งกาม เรียกว่า เนกขัมมะ เป็นกำลังใจ แห่งบารมีอีกตัวหนึ่ง

คนที่มีเนกขัมมะบารมี ย่อมมีปัญญาบารมี อยู่ในตัว ปัญญาบารมี คือผู้ที่มีสติระลึกได้ อยู่เนืองแห่งผัสสะ ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร

เกิดจากการโยนิโส จนเป็นศีล คือความปกติใจ คนที่มีความปกติใจแห่งความเป็นศีล ย่อมเป็นผู้ระลึก ถึงกาละเทศะ นี่ คือ ผู้มีปัญญา

เป็นบารมีอีกตัว ที่เรียกว่า ปัญญาบารมี

ผู้ที่มีปัญญาบารมี ย่อมมีวิริยะ บารมี

ผู้มีวิริยะบารมี ย่อมมี ขันติบารมี

ผู้ที่มีขันติ บารมี ย่อมเป็นผู้มี สัจจะบารมี

ผู้ที่มีสัจจะบารมี ย่อมทำอะไรก็เป็นผลสำเร็จ นี่เรียกว่า เป็นผู้มีอธิฐานบารมี

ผู้ที่อธิฐานได้สำเร็จ ย่อมเป็นผู้ที่เกิด เมตตาบารมี

ผู้ที่มีเมตตาบารมี ย่อมเข้าใจในบารมีทั้ง 9 ว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง การไหลไปในกระแส ย่อมทำให้เป็นทุกข์

นี่..อุเบกขาบารมี ก็จะมีตามมาเป็นตัวสุดท้าย คือยอมรับว่า มันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง นี่เป็นบารมี ทั้ง 10 ที่มันอาศัยคล้องจองกันออกมาเป็นลูกโซ่

โดยการเริ่มจากการ เสียสละ นั่นก็คือ ทานบารมี คืนนี้ ขอจบลงเพียงแค่นี้ ขอความสุขสวัสดีมีชัย จงบังเกิดแก่ทุกคน ขอสาธุคุณ สวัสดี

พระธรรมเทศนา วันที่ 3 ตุลาคม 2559 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง