รู้ว่าโง่.. แต่ก็ต้องทวนความโง่ด้วยการปฏิบัติ

รู้ว่าโง่.. แต่ก็ต้องทวนความโง่ด้วยการปฏิบัติ

644
0
แบ่งปัน

****** “รู้ว่าโง่.. แต่ก็ต้องทวนความโง่ด้วยการปฏิบัติ” *******

>>> ผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย ต่างกล่าวตรงกันว่า..

โลกนี้.. ทุกชีวิตในโลกนี้…. ที่แท้แค่ “ว่าง”. ทุกอย่าง.. คือสมมุติ.

เช่นนี้แล้ว.. การปฏิบัติธรรมที่เอาจริงเอาจังทั้งหลาย…. ก็คือ ความเขลา.. เบาปัญญา.. ใช่ไหม ?

งงจุงเบย.

<<< พระอาจารย์….ความเอาจริงทั้งหลาย ที่เจ้าของปฏิบัตินั่นแหละ จึงจะได้รู้ประจักษ์ใจว่าโง่จริงๆ และเขลา เบาปัญญา

หากแต่ว่า เอาแต่ความรู้ว่า โง่จริงๆ จากผู้ปฏิบัติจริง ว่ามันโง่จริงๆที่ไปทำมันทำไม ตามๆที่เขาว่า ที่จำมา

นี่..รู้อย่างโง่หลาย ที่ไม่ได้ปฏิบัติจริง ว่าโง่จริงๆ ที่ปฏิบัติกันอย่างเกือบเป็นเกือบตาย..!!

มันโง่หลายๆที่ปฎิบัติกัน…ไปทำไม..!!

>>> นมัสการคับหลวงพ่อ..ธรรมกะ บุญญพลัง

สำหรับผม สรุปจากประสบการตนว่า
ความโง่เขลาตามโพสต์ คือเส้นทางที่ผมต้องผ่าน

แต่ ผมไม่อาจสรุปว่า
คนอื่นๆ ควรผ่านหรือไม่

สำนวนของหลวงพ่อ.. ยอกย้อน สวยงาม อนุโมทนาคับ

<<< พระอาจารย์….ความรู้กับความจริงนี่ คนละฟาก มันต้องปฏิบัติข้ามฟากไปหาความจริง

ปัญหาคือฟากแห่งความจริงนี้ มันอยู่ตรงไหน

เช่นนี้ เพราะเหตุนี้ การค้นหาในหนทางแห่งการข้ามฟาก มันจึงเกิดขึ้น

การหาหนทางในการข้ามฟากนี่แหละ คือการปฏิบัติ ที่ยังไม่รู้ว่า มันกำลังโง่หลายๆของผู้ที่ยังไม่ได้เคยลงมือปฏิบัติ

เราผู้ปฎิบัติ ย่อมค้นหาความจริง และความจริงย่อมอยู่คนละฟากกับเราผู้ไม่ได้ทำอะไรเป็นแน่

คิดอย่างเดียว มโนเอาอย่างเดียว มันก็ย่อมได้แต่มโน

ข้ามฟากไปหาความจริงไม่เจอ..

แต่เมื่อผู้ปฏิบัติ ถึงฟากแห่งความเป็นจริง..

มันถึงจะรู้ว่าความจริงทั้งหลาย มันเป็นแค่สมมุติ ที่ให้นิยามแห่งความรู้ เพื่อให้รู้ถึงความเป็นจริง

ความจริงทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวสัจธรรม ความจริงทั้งหลาย มันเป็นแค่ตัวชี้สัจธรรม

สมมุติทั้งหลายเป็นตัวชี้สัจธรรม มันเป็นตัวแทนแห่งความไม่มี

แต่เพราะเหตุปัจจัยที่มันมี

สมมุติทั้งหลาย มันจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย

และสมมุติแห่งเหตุปัจจัยนี้

มันจึงมีสำหรับคนที่ยึดในสมมุติ

ที่สำคัญ เราทั้งหลาย ต่างอาศัยสมมุติทั้งหลายตามเหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นเครื่องอยู่

เราอยู่อย่างผู้รู้ว่า มันเป็นสมมุติตามเหตุปัจจัย

กับอยู่ไปด้วยความไม่รู้ว่า มันเป็นสมมุติอย่างไร

คุณภาพแห่งอัตภาพแห่งเรือนปัญญา

ย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งมิติและรูปทรงในความเข้าใจว่าอะไร คือสัจธรรม..!!

>>> ความยาก คือตอนปฏิบัติข้ามฟาก ไปสู่สภาวะแห่ง “ความจริง”
เราอาจเรียกง่ายๆ ว่า “นิโรธ” หรือ วิมุตติ หรือ ว่าง..
ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งมิติและ รูปทรง ในความเข้าใจ (ยืมคำพระอาจารย์)

การเดินทางนี้ เป็นงานภาคสนาม.. เฉพาะตน
แม้ว่า เรามีเทคนิคให้เลือกมากมาย.. อานา สติปัฏฐาน หรือกสิณ..
แต่เมื่อเรากล้าที่จะเอาจริง เราจะถูกพลังแห่งโชควาสนาบารมีตน ดีงดูดเข้าไปในเส้นทางเฉพาะตัวเสมอ

(กล่าวตามประสบการณ์ตน) ช่วยขยายธรรม ครับ

<<< พระอาจารย์…..นิโรธนี่ เป็นผลของหนทางที่เรียกว่ามรรค

มรรคนี่ เป็นเหตุของนิโรธ

ใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบนี่ เป็นเหตุของมรรค

ด้วยเหตุแห่งตัณหานี้ หากไหลไปตามกระแสใจตน โดยขาดการมีปัญญา สติตรึกตรอง

นี่..เรียกสมุทัย ผลคือทุกข์

หากเจ้าของใช้กำลังสติปัญญาตรึกตรอง

นี่…เรียกว่ามรรค ผลก็คือ นิโรธ

นิโรธตัวนี้ ไม่ใช่วิมุติหรือความว่าง นิโรธตัวนี้ไม่ใช่ตัวสัจธรรม

นิโรธนี้ เป็นความสงบและดับลง จากกระแสแห่งใจที่มันเข้าใจ ตรงตามความเป็นจริง

ในกระแสที่เกิดจากตัณหาแห่งใจเจ้าของ ที่อยู่ภาวะปัจจุบันแห่งการผัสสะ

เราจะเริ่มต้นการเดินทาง หรือไม่เริ่มต้น มันก็มีต้นทุนแห่งการเริ่มต้นของมันอยู่แล้ว

ธรรมชาติที่สร้างสมมามันมีต้นทุนที่ไม่เท่ากันในแต่ละคน

เราจึงแตกต่างกัน ทั้งรูปทรง เครื่องอยู่และอัตภาพวาสนา

เทคนิคต่างๆในการฝึกฝน อาจไม่จำเป็นสำหรับบางคน ในการข้ามฟาก

เพราะอัตภาพนี้ ไม่ใช่การเริ่มต้นสำหรับบางคน

สำหรับบางคน มันเป็นแค่ผลส่วนปลาย ที่รอการสุกงอมด้วยเหตุปัจจัย

เรา..อาจเป็นหนึ่งในนั้นก็ได้ เป็นแค่ผู้รอเหตุปัจจัย มาช่วยไขและบ่มเพาะ ให้อะไรทั้งหลาย มันเกิดความสุกงอม..!!

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง