******* “อยู่กับกิเลสด้วยความเข้าใจกิเลส” *******
เห่ยๆๆ ว่าไง
เสาร์นี้ ใครมีนัดก็มารับพระทองคำ จ่ายให้ครบนะว้อย ใครไม่ครบ อด
ข้าจะทำการบอกกล่าว วันเสาร์นี้แหละ
ใครเป็นเจ้าของรับกลับไปยืดได้เลย
นี่รอเจ้าติ๊ปว่าจะส่งมาเมื่อไหร่ ยังไม่ได้คุยกะมัรว่าจะเข้ามาวันไหน
บวงสรวงลงเจตนาจิตเสร็จ รับกับมือตรงองค์พระเลย
ย้ำ ครบถึงรับไป ผีเขาหวงทองคำ ครบแล้วมารับ
ข้าจะเก็บไว้แค่ถึงวันเข้าพรรษา ข้าไม่ต้องการรักษาสิ่งเหล่านี้
ใครช้า ข้าถวายคืนแผ่นดินทั้งหมด
ใครยังไม่มารับ ข้าจะคืนตังค์ที่จองมาให้หมด เอาตังค์คืนไป
เรื่องจริงนะ..
ข้าทำไรไม่เคยไม่จริง โกรธกันไม่ได้น่า
ใครครบแล้ว ฝากใครมารับไปก็ได้
แต่คุณค่าไม่เหมือนกับรับจากมือโดยตรง
>> ลูกศิษย์ : โห้ย
>> ลูกศิษย์ : อ้าวววววววววว
>> ลูกศิษย์ : แง…
<< พระอาจารย์ : ไม่เด็ดขาดนี่ พวกเราก็จะหย่อนยาน
ความหย่อนยานบ่อยๆ มันก็จะทำกันเป็นประจำ
ทำเป็นประจำ มันก็จะกลายเป็นความเคยชิน
ความเคยชิน มันก็จะย้อมเป็นนิสัย
นิสัยที่เป็นความเคยชิน มันจะกลายไปเป็นสันดาน
คนที่เป็นสันดาน มันจะแก้ยาก
กิเลสนี่ มันแกะออกยาก มันติดเป็นสันดาน เลยมักง่ายกันไม่เดือดร้อน
แต่ไม่ใช่ว่า จะไม่เอาอะไรแล้วจะไม่มีกิเลส นี่..เข้าใจผิด
พวกไม่เอาอะไรนี่ก็พวกกิเลสหนาทั้งดุ้นเช่นกัน
เป็นพวกไม่เอาสิ่งหนึ่งเพราะเห็นว่า…!! แต่เอาอีกสิ่งหนึ่งเพราะไม่รู้ว่า…!!
เรื่องเอาไม่เอานี่ เป็นเรื่องของใจที่อาศัยวัตถุมาปรุงแต่ง
วัตถุนี่มันเป็นแค่เครื่องมือ ในการเป็นที่เกาะใจ
เอา… ก็เป็นกิเลส
ไม่เอา… ก็เป็นกิเลส
เฉยๆ… ก็เป็นกิเลส
นี่..กิเลสแม่งหมดเลย..!!
เอา… แล้วยึด ในสิ่งที่มี ที่เอา วางไม่ลง นี่..กิเลสหนา
เอา… แต่วางได้ด้วยเหตุปัจจัย ที่จำเป็นต้องวาง นี่..กิเลสบาง
เอา… แต่พร้อมที่จะเข้าใจ เมื่อเผชิญกับความพราก และไม่ได้ดั่งใจ
นี่….เป็นผู้มีกิเลสอย่างปัญญา
ไม่เอา… ไม่อยากได้ ไม่ยึดมั่นหรือยึดติด นี่…กิเลสหนา
ไม่เอา.. ไม่อยากได้ แต่มีไว้ตามเหตุปัจจัย เผื่อมอบให้ใคร ที่เขาต้องการ และคู่ควร
นี่..กิเลสบาง
ไม่เอา.. แต่สร้างไว้ เพื่อมอบไว้แก่แผ่นดิน เต็มใจทำให้ผู้อื่น นี่…กิเลสอย่างมีปัญญา
เฉยๆ.. เอาก็ได้ ไม่เอาก็ได้ นี่…กิเลสหนา
มันหนาเพราะไม่ถึงทิฎฐิ ถึงทิฏฐินี่ จากไม่เอา จะกลับมาโหยหาที่ตรงกันข้ามเลยทีเดียว
นี่..พวกเฉยๆ
ธรรมชาติแห่งจิตนั้น ไม่ใช่การเอา ไม่เอา หรือเฉยๆ ด้วยความเป็นเรา
เอา ไม่เอา เฉยๆ นี่ มันเป็นตัณหา
มันเป็น กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
กามตัณหาก็คือ ความอยาก ที่จะเอา
ความอยากที่จะไม่เอา
และความอยากที่จะเฉยๆ
นี่..อาการแห่งกามทั้งสิ้น
ส่วนภวตัณหา คือความทะยานอยาก ในการที่จะเอา ไม่เอา หรือเฉยๆ ในสิ่งที่มันผัสสะ
ส่วนวิภวตัณหาก็คือ ความไม่อยากให้ความดีทั้งหลาย ที่ตนมี
คือเอา ไม่เอา และเฉยๆ นี่ เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
นี่…สามตัวนี้ มันเป็นไปด้วยอำนาจแห่ง ตัณหา มานะ และทิฏฐิ
ตัณหาก็คือ ความอยากทั้งหลาย
ทั้งกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
มานะก็คือ ความเป็นตัณหาที่หนักมาในทางอวด โชว์และแสดงวัตถุแห่งตน
ทิฏฐิก็คือ ความเป็นตัณหา ที่หนักมาในทางคับแคบแห่งอัตตา ความคิด ความเห็น และเพ่งเล็ง
เอา… นี่ เป็นตัณหา
ไม่เอา… นี่ เป็นมานะ
เฉยๆ…นี่เป็นทิฏฐิ
เมื่อมาดูองค์รวมจะเห็นว่า..
เอา… นี่เป็นตัณหาที่ประกอบด้วยมานะที่เป็นทิฏฐิ
ไม่เอา.. เป็นมานะที่ประกอบด้วยทิฏฐิที่เป็นตัณหา
เฉยๆ.. เป็นทิฏฐิที่ประกอบด้วย ตัณหาที่เป็นมานะ
สรุป เอา ไม่เอา เฉยๆ ต่างล้วนแล้วเป็นกิเลสที่มีเหตุมาจากตัณหาทั้งนั้น
ที่เป็นกิเลส เพราะเนื่องด้วยตัณหาที่มีมาจากเวทนา คือความรู้สึก เมื่อผัสสะ
ชอบใจ.. ก็เอา
ไม่ชอบใจ.. ก็ไม่เอา
เฉยๆ.. ก็เพราะมันยังไม่ถึงทิฏฐิที่จะเอาหรือไม่เอา
นี่..แล้วเราผู้มีผัสสะ เราจะอยู่กับโลกใบนี้ได้อย่างไรดี..??
ตอบมาซิ เจ้าพวกมีกิเลสทั้งสามตัวทั้งหลาย
หวัดดี…!!
>> ลูกศิษย์ : กราบสาธุเจ้าค่ะ อยู่อย่างผู้มีปัญญา และยอมรับมันค่ะ
>> ลูกศิษย์ : สาธุค่ะ …ขออยู่แบบ 3 อย่าง แต่รู้ทันมันค่ะ
>> ลูกศิษย์ : สาธุธรรม อยู่อย่างผู้มีสติรู้เท่าทันกิเลสตัณหา ครับ
>> ลูกศิษย์ : อยู่ด้วยการโยนิโสอยู่เนืองๆค่ะ
>> ลูกศิษย์ : เอา…ค่า ถ้าผัสสะถูกใจ แต่ก็ต้องทำใจเมื่อพรากด้วย อิอิ
>> ลูกศิษย์ : พิจารณาอยู่เนื่องๆด้วยสติคะ กราบพระอาจารย์เจ้าคะ
>> ลูกศิษย์ : กราบสาธุธรรมค่ะ ขอตอบว่า อยู่อย่างเข้าใจสิ่งที่มี ที่เป็นไป ระลึกรู้ไว้เสมอว่า มีก้อธรรมดา ไม่มีก้อธรรมดา ค่ะ (แต่ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก้อหมั่นทำไปเรื่อยๆ ก้อคงทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ)
<< พระอาจารย์ : ข้านี่ ทำให้ทุกอย่าง ด้วยใจที่สละให้
หากพวกเราเอาเปรียบ จะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนา เหล่าผีมันจะเพ่งโทษติเตียน
>> ลูกศิษย์ : ยังงัยอะคะ ยกตัวอย่าง เช่น …..
<< พระอาจารย์ : การทำมาหากินของเรา จะไม่เจริญ
เพราะพวกเรามันวิบากหลายด้วยตัณหา
ความหลากหลายด้วยตัณหา มันจะเข่นฆ่าตัวเรา หากกำลังเราไม่พอ
อย่าได้คาดหวังในวันข้างหน้า
เรา..เอาวันนี้ ที่เรามี เอาผลมันมาเป็นเครื่องมือแห่งการเอา
เรา..จะได้อยู่ในส่วนทีมันมีแต่ความเจริญ
วันนี้….ไม่มี
วันหน้า…ผลมันก็ไม่มีเช่นกัน
รู้เท่าทันเช่นนี้ เราเอา เท่าที่เรามีกำลัง
เกินกำลัง…เราแบกโลกที่แสนหนักไว้ในหัวใจตลอดเวลา
วันเข้าพรรษา เราจะรู้ว่า…
สิ่งที่เราแบก มันจะกดทับใจเราอย่างไร
เมื่อสิ่งที่คาดหวังไว้ มันเกินกำลังที่เราจะแบกไหว
ข้า..จะทำให้ใจทั้งหลาย ที่มันแบกโลกไว้
โผล่ออกมาแสดงภาษาใจ ให้เจ้าของดู
และข้าก็…จะทำจริงไอ้น้อง..!!
กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ
แต่ข้าเป็นลูกแม่ค้าไม่ใช่กษัตริย์
ลองดูกันก็ได้…!!
คืนตังค์ลูกเดียว..ฮ่าๆๆ นี่..เรื่องพระทองคำ ที่พวกเราเฝ้ารอกันมาจะร่วมปีแล้ว
โอเคนะ..!!
พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2559 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง