******* ” ธรรมทั้งหลายต้องอธิบาย “******
เราได้อะไรจากการเข้าไปรู้ว่า ขันธ์ห้า มันเป็นอย่างไร..!!
ประการแรก… เราฉลาดขึ้น ชัดขึ้นว่า หลวงปู่หลวงพ่อ พูดไปโดยขาดการวินิจฉัยลึกลงไป แต่ประกาศตัวว่าเข้าถึงธรรมแห่งปัญญา
เราจะได้ไม่หลงและยึดบุคคลโดยลืมหูลืมตาไม่ขึ้นและไม่ฟังเสียงใคร เพราะนี่..อาจารย์กู
ต่อมา..ช่วยให้เราเข้าใจว่า การแปลและตีความสืบๆ ต่อๆ กันมา ยังเชื่อได้ไม่ตรงตามความจริงนัก
การเอาตำราหรือคำแห่งพระโอษฐ์มาโจมตีผู้อื่นนี่ เป็นพวกหลงตำราและคำแปล นี่เพราะขาดการวินิจฉัย
รู้กระบวนการทำงานสืบต่อของรูปนาม ว่ามันทำงานกันอย่างไร มีโครงสร้างแบบไหน
ทำให้เรามองความจริงได้กว้างและเห็นชัดขึ้น ในเรื่องราวแห่งธรรม
แล้วอะไร และทำไม ท่านผู้ทรงคุณถึงใช้คำว่า กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือกองขันธ์ห้า
วิญญาณในขันธ์ห้า คำว่าวิญญานคืออะไร..
วิญญาณในตัวเรา หรือที่เรียกว่าผี วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณในรูป วิญญาณในเวทนา วิญญาณอะไรต่ออะไรในวัฏฏะ เป็นวิญญาณตัวเดียวกันรึเปล่า
นี่..ต้องมีผู้อธิบายแจ้งคลี่คลายออกมาให้เห็นความจริง ว่าวิญญานตัวไหน และทำไม จึงใช้คำว่าวิญญานรวมมั่วไปหมด
เวทนาในขันธ์ห้า เวทนาในปฏิจจสมุปบาท เวทนาในสติปัสฐานสี่ เวทนาในรูป เวทนาทางช่องทางแห่งอายตนะ เวทนาที่เป็นทุกข์ที่เสวยอะไรนี่ มันเป็นตัวเดียวกันรึเปล่า
สัญญาในขันธ์ห้า สัญญาในภวังค์ สัญญาในมโน สัญญาในความทรงจำ สัญญาความมั่นหมาย เจตนาสัญญา สัจจะสัญญาอะไรอย่างนี้ มันตัวเดียวกันรึเปล่า
สังขารในขันธ์ห้า สังขารในจิตสังขาร สังขารที่เป็นรูป สังขารปรุงแต่งที่เป็นมโน สังขารในปฏิจสมุปบาท สังขารแห่งวัฏฏสังขารอะไรอย่างนี้ มันตัวเดียวกันรึเปล่า
นี่..มันต้องขยายออกมา ไม่ใช่ใช้คำทับกันไปทับกันมา แต่หาจุดหมายอะไรใดๆไม่ได้เลย ว่าความมุ่งหมายมันเล็งไปอยู่ตรงไหน
ธรรมทั้งหลาย ที่ประกาศตัวความหมายอยู่ในโลกเรา ด้วยกาลเวลาที่ผันผ่านมา
มันจึงเดินกันไปตามร่องที่ออกจะเป็นอัตตาตามแนวทางการตรึกเอาเองซะเป็นส่วนใหญ่
การเกิดปัญญา ที่จะเข้าถึงมรรคผล มันก็เลยโดนบดบังด้วยอัตตา มานะ และทิฏฐิแห่งตัวตน ที่เข้าไปร้อยเรียง
ความกระจ่างแห่งใจตนที่จะเกิดปัญญาญาน มันจึงตันอยู่กับความมืดมน
ที่เข้าใจได้ไม่ตรงเพราะขาดปัญญาญาณสอดส่งความจริงลงไปพบเจอ..!!
ขอสาธุคุณ
เรื่องขันธ์ห้านี่ ที่ปรารภมา ก็เพื่อให้เกิดปัญญาว่า…
แนวทางแห่งการเรียนรู้ ที่ลอกตำราและแปลความเขามา โดยที่เราไม่ได้เข้าไปวินิจฉัยให้เห็นตรงตามความเป็นจริงโดยญานทัศนะนั้น
เรายังเชื่อไม่ได้เลยซะทีเดียว
การเชื่อตำรา การเชื่อจากการบอกเล่าสืบๆต่อๆกันมา
มันก็เหมือนบอกว่า..องุ่นมันหวาน
มันส่งต่อความหวานออกไปเรื่อยๆ ด้วยความปรารถนาดีให้ผู้อื่นว่า องุ่นนี้ มันหวาน
แต่ความหวานที่เจ้าของยังไม่ได้ชิม มันย่อมเชื่อไม่ได้ว่ามันหวาน
ตราบที่เจ้าของชิมและยืนยันได้ว่ามันหวานจริง
องุ่นที่ส่งต่อๆกันมานั้น มันจึงเป็นองุ่นหวานขึ้นมาได้
หากองุ่นมันเกิดเปรี้ยวล่ะ
มันก็จะโทษคนส่งมาให้นั่นแหละ เป็นเหตุที่โกหกมา
ทั้งๆที่ผู้ส่งให้มา ท่านก็ไม่ได้โกหก
เพียงแต่ท่านเสือกไม่ลองชิมก่อนว่าหวานจริงไหม ก่อนที่จะส่ง
นี่….เขาเรียกว่า หวานส่งเดช เพราะฟังคำเขามา..!!
ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง