สมถะและวิปัสสนา เสมอกันด้วยวิมุตติญาณ

สมถะและวิปัสสนา เสมอกันด้วยวิมุตติญาณ

452
0
แบ่งปัน

****** ” สมถะและวิปัสสนา เสมอกันด้วยวิมุตติญาณ “******

หวัดดี…

ตอนนี้เหรียญขยับไปสองเหรียญ คือเหรียญมหากับเหรียญเดีย

ใครจะสละอีก เพื่อน้องๆ

เหรียญเหล่านี้เป็นเหรียญตัวแทนแห่งปัญญา ใครมีนี่ เป็นเพราะวิบากแห่งปัญญา มันมาให้ผล

มันมีพลังงานแห่งการกระตุ้นความคิด ใครมีเหรียญนี่ ไม่กล้าทำชั่วหรอก

มันอายตัวเองและครูบาอาจารย์

วันนี้ข้าจะคุยถึงเรื่องสมาธิซักหน่อยดีไหม..??

>> ลูกศิษย์ : ดีขอรับ

>> ลูกศิษย์ : ดีค่ะ

<< พระอาจารย์ : เรื่องสมาธินี่ มีคนถามเข้ามาเยอะ ข้าน่ะขี้เกียจจะตอบเป็นรายคน หากตอบทุกคนนี่ ข้าว่าตายกันเลยทีเดียว คนเป็นหลักหลายร้อยเลย

พวกเรานี่ ไม่ค่อยทำสมาธิกัน พวกขี้เกียจน่ะ ถ้านั่งโม้นี่ นั่งกันข้ามวันข้ามคืน

การทำสมาธิในที่นี้ เราจะเล็งไปตรงความหมายในการนั่งสมาธิ

สมาธินี่ มันมีหลากหลาย ในอริยาบทใดก็ได้

แต่นักปฏิบัติส่วนใหญ่เข้าใจว่า ต้องนั่งถึงจะเรียกการทำสมาธิ

บางคนก็ใช้บาลีเรียก แต่มันใช้ไม่ถูกหรอก มันแค่เสอะน่ะ

มันมักเรียกการนั่งสมาธิเฉยๆ ว่า… สมถะ

และถ้าเป็นการนั่งคิดนั่งตรึกนั่งตรอง มันเรียกว่า การทำแบบวิปัสสนา

นี่..ตรงนี้นี่ ใครสอนมันมากันก็ไม่รู้ และทุกสำนัก ต่างก็คุยกันเช่นนี้ซะด้วย

จึงดูเหมือนว่า สมถะนี่คือสมาธิแบบโง่ๆ ยังไม่ฉลาด ยังไม่สูงพอ

ถ้าจะฉลาดนี่ต้องสมาธิแบบวิปัสสนา

ข้าจะอธิบายให้ฟัง ให้พวกจำมาจะได้มาแย้ง ให้เอาความคิดมันมาแย้ง

การทำสมาธินี่ มันมีอารมณ์อยู่สองแบบ

แบบแรก…เรียกว่าเพ่ง

แบบที่สอง…เรียกว่า พิจารณา

ไอ้เพ่งนี่แหละ เรียก…สมถะ

อีกตัวเรียกว่า.. พิจารณา

และไอ้สองตัวนี้ ทั้งเพ่งและพิจารณา เรียกรวมกันว่า วิปัสสนา

วิปัสสนาญาณต่างๆ จะเกิดได้ ก็ด้วยอาศัยสองตัวนี้ ไม่ใช่แยกวิปัสสนากับ สมถะ อย่างที่จำๆ กันมาสอน

การเพ่งนี่ หนทางแห่งการเกิดญาณสูงสุดคือ.. เจโตวิมุติ

ส่วนการพิจารณา ญาณสูงสุดที่จะเกิดนี่ เป็น…ปัญญาวิมุติ

นี่..ทั้งเพ่งและพิจารณา มันไม่มีอะไรโง่กว่าใครหรอก มันเข้าถึงหนทางแห่งวิมุติเหมือนๆ กัน

ข้าเข้าถึงญาณแห่งเจโตวิมุติก็ด้วยการทำกรรมฐาน โดยการงดอาหาร งดการนอน เป็นเวลาหลายวัน

ที่สุด…แห่งญาณ ที่เกิดจากความพากเพียร มันก็เข้าถึงเจโตวิมุติญาณ

ฉะนั้น เรื่องเจโตวิมุติญาณแห่งการเข้าถึงนี่ ข้าสามารถอธิบายได้ละเอียดและช่ำชอง ตามรู้กันได้โดยไม่ต้องอิงตำราให้เสียเวลา

เพราะมันเป็นประสบการณ์ที่เกิดจากใจดวงนี้ เข้าไปสัมผัสกันถึงที่เลยทีเดียว

ไม่ใช่ด้วยเหตุด้วยผล หรือตรึกนึกคิดเอาเอง ว่าเข้าถึงนั่นเข้าถึงนี่ ผลแห่งธรรมมันแสดงได้ ผู้ฟังตามรู้ได้ ไม่ต้องปัดความงี่เง่าด้วยคำว่า ปัจจัตตัง

ตรงนี้ ข้าจึงยืนยันได้ด้วยหัวใจดวงนี้ ว่าการทำสมาธิในการเพ่ง ที่เรียกว่า.. สมถะ

มันเป็นหนทางที่เข้าถึงความสู่ญาณแห่งเจโตวิมุติ

เรื่องพวกนี้ ไม่ใช่จะมาพูดกันพล่อยๆ ผู้รู้นี่ เขามีกันอยู่ทั่วประเทศ เราต้องชัดเจนและยืนยันได้ในคำพูด

ไม่งั้น คมดาบแห่งวาทะ มันจะกระหน่ำท่าน อย่างไม่เหลือชิ้นดีเลยทีเดียว

ส่วนการพิจารณานั้น มันทำให้เกิดญาณแห่งปัญญาวิมุติ

ข้าเองก็ยืนยันได้ด้วยใจเช่นกัน ถึงการเข้าถึงที่ร้อยเรียงพิจารณาธรรมเข้าถึงร่องแห่งปัญญาญาณ

ถึงได้กล้าพูด และกล้าบรรลือสีหนาททางธรรม ที่เกิดจากปัญญา

ว่าการพิจารณา เป็นช่องทางแห่งการเจริญสู่วิมุติญาณแห่งปัญญาวิมุติ

การทำสมาธินั้น มีคุณอย่างเหลือล้น จะเริ่มต้นด้วยหลักการใดหรือกรรมฐานกองใดก็ได้เหมือนกัน

ฟังพวกสมาธิอนุบาลอธิบายแล้วกลุ้ม ส่วนใหญ่มันอ่านแต่ความหมายของฉลากยามาจำ จำแล้วอธิบายแบบนึกคิดเอาด้วยเหตุด้วยผล

ข้านี่จะพูดให้ฟังถึงญาณต่างๆ ในการนั่งสมาธิ

สมาธิที่เราฝึกๆ กันนี่ มันเป็นสมาธิทางด้านสมถะหรืออารมณ์เพ่งล้วนๆ

ช่องทางและผลตั้งแต่ เริ่มทำไปยันฌาณสี่ มันย่อมเกิดอะไรมากมายเกี่ยวกับจิต

ตัวแรกที่ท่านเรียกว่า… วิตก

วิตกก็คือ การตั้งต้นเริ่มแรกในการที่จะกระทำ ในที่นี้ จะเป็นลมหายใจ คำบริกรรม หรือการเพ่งรูปกาย เรายกขึ้นมาหนึ่งอย่าง อย่างนี้เรียกว่า.. วิตก

เมื่อวิตกเกิด การประคองวิตกไม่ให้ตกไปจากการเพ่ง นี่เรียกว่า.. วิจารณ์

วิจารณ์คือ การประคองวิตก ด้วยการเพ่ง ประคองไว้ไม่ให้หลุดไปไหนด้วยความตั้งมั่นแห่งสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะก็คือ การตามรู้ในวิจารณ์นั้น ไม่ให้ตกไปจากการประคอง

หากไม่รู้ตัว นั่นเรียกว่า..เผลอสติ

หากรู้ตัวระลึกได้ว่านี่หลุดจากวิจารณ์คือการประคองแล้ว นี่เรียกว่า.. สติ

คนที่มีสัมปชัญญะแน่วแน่ ย่อมไม่ต้องมีสติเข้ามาวุ่นวายเกี่ยวข้อง

ตัวตามรู้นั้น เรียกว่า..สัมปชัญญะ ไม่ได้เรียกตัวตามรู้นั้น ว่าสติ อย่างที่ว่าๆ กัน

เมื่อสัมปชัญญะหนาแน่น มันก็จะเกิดปิติ

ทีนี้ ไอ้ปิติตัวนี้แหละ ที่ผู้คนส่วนใหญ่มันข้ามไม่ผ่าน

ที่ข้ามไม่ผ่านก็เพราะ มันเป็นอาการแห่งจิต ที่มันปรุงขึ้นมา

เจ้าของที่มีสติและสัมปชัญญะ ย่อมแปลกใจในอาการปรุงแต่งต่างๆ อย่างไม่เคยพบเจอ

เพราะสติและสัมปชัญญะมันชัดแจ้งอยู่ การปรุงต่างๆ มันก็เลยรับรู้

มันเป็นอาการเหมือนคนที่มันเสือกรู้ เข้าไปในเรื่องราวแห่งความฝัน

ปิตินี่ มันเป็นอาการปรุงแต่งทางจิต ไม่ใช่เราที่มีสติสัมปชัญญะเข้าไปปรุงแต่ง

เมื่อเกิดการปรุงแต่ง สติที่มันระลึกได้อยู่ มันก็เลยเข้าไปเป็นเจ้าของอาการที่มันเป็น

อย่างเช่น มือใหญ่ ตัวพอง ขยายโตขึ้น

บางคนก็นั่งโยก

บางคนก็หมุนติ้ว

บางคนก็เหมือนหัวทิ่มลง

บางคนก็น้ำตาไหล

บางคนก็ขนลุกขนพอง

เยอะแยะร้อยแปดพันเก้าประการที่มันจะเป็น

นี่..ทุกอาการเรียกว่า เป็นอาการแสดงออกที่เรียกว่าเป็นปิติทั้งสิ้น

บางคนออกทางกาย

บางคนออกทางมโน

บางคนออกทางเสียง

บางคนออกทางกลิ่น

ได้ยินนั่นนี่ ได้กลิ่นนี่นั่น

วูบวาบ เย็นยะเยือก หรือเร่าร้อนตามกาย

เกิดมโนจิตเห็นนั่นนี่โน่น

เยอะแยะ… นี่ เรียกว่าอาการปืติ

อาการเหล่านี้ เป็นธรรมดาของอาการจิต มันเป็นการปรุงภายในภวังค์จิต ปรุงไปตามสัญญาแห่งช่องทางอายตนะ

แต่สติและสัมปชัญญะนี่ มันเป็นเครื่องมือในวิถีจิต วิถีจิตคืออะไร ก็ต้องไปว่ากันอีก

ตรงนี้แหละ ที่มันทำให้เกิดกรรมฐานแตก

เพราะความไม่รู้ไม่ตั้งมั่นและขาดความเข้าใจ ขาดผู้ชี้แนะ

ผู้ที่ผ่านปิติไปได้ มันจะสงบจากอาการปรุงแต่งทั้งปวง เรียกว่า… สุข

สุขนี้ ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างที่เราเข้าใจว่า มันเอิบอาบจนอิ่มอะไรแบบนั้น อย่างที่พวกมโนอ่านฉลากยาให้ฟัง

สุขนี้เป็นภาษาบาลี ที่หมายถึง หมดเหตุปัจจัยแห่งภาวะปรุงแต่งทางจิต ที่ทำให้เกิดความสะดุ้งสะเทือนต่ออารมณ์

สุขนี้ เป็นความสงบจากอาการปิติ ผู้ที่ผ่านสุขไปได้ ความทรงญาณแห่งอุเบกขาก็จะเกิด

อุเบกขานี้ จะมีสัมปชัญญะตามรู้ลอยเด่นอยู่อย่างมีสติ

นี่..สมาธิสูงสุดแห่งญาณ มันไปจบอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ได้เกิดปัญญาอะไรทั้งสิ้น

แต่มันมีผลมากทางเจโต

คำว่าเจโตก็คือ การเกิดขึ้นของเจตนาจิต ที่มันปรุงขึ้นมาโดยที่เราไม่ได้เข้าไปเป็นผู้ตั้งเจตนา

มันเป็นธรรมชาติของจิต ที่แสดงผลออกมา โดยไม่มีเจ้าของ เข้าไปรู้เห็นเป็นใจเพื่อให้มีและให้เป็น

อย่างเช่น เกิดทิพย์จักษุญาณ

เกิดจักษุทางเสียง ทางมโน ทางรูป อะไรอย่างนี้

เกิดญาณรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน ในสถานที่ต่างๆ

นี่..พวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจของเจโต

บางคนได้รู้ได้เห็นอะไรมากมาย รู้วาระจิต หูทิพย์ตาทิพย์ รู้อดีตรู้อนาคต

แต่สิ่งเหล่านี้ ที่มีที่เป็นที่เกิด ที่ได้ ยังไม่ใช่ตัวที่เรียกว่าเข้าถึงความเป็นวิมุติแห่งเจโต

ผู้ที่เข้าถึงเจโตวิมุติ มีองค์ประกอบที่บารมีสร้างสมมาจนสุกงอมดีแล้ว

เป็นผู้สร้างสมกำลังมานับเป็นอสงไขยชาติ

เมื่อถึงที่สุด วิบากแห่งผลวิมุติ มันก็เข้ามาแทรกให้ผลด้วยความสุกงอม

มันเกิดผลเป็นเจโตวิมุติขึ้นมาด้วยเหตุปัจจัย ที่มันสร้างสมมายาวนาน

บางท่านก็เข้าถึงพร้อมกันด้วยเจโตและปัญญาวิมุติ แต่อาจจะต่างกาลกันเล็กน้อย แต่อยู่ในอัตภาพเดียวกัน

อย่างพระอานนท์ ท่านบรรลุด้วยเจโตวิมุติ

พระโมคคลาพระสาลีบุตร บรรลุด้วยปัญญาวิมุติ

บางท่าน ปัญญาเกิดก่อน บางท่านเจโตเกิดก่อน

หากปัญญาเกิดก่อน การบำเพ็ญภาวนาในส่วนที่เหลือ ย่อมเจริญไปถึงเจโต

หากเจโตเกิดก่อน การบำเพ็ญโดยการพิจารณาในส่วนที่เหลือ ย่อมเกิดปัญญา

อยู่ที่ช้าหรือเร็วของวิบากที่มันจะมาให้ผล

นี่..เป็นเรื่องราวที่ยากจะได้ยินได้ฟัง เรื่องราวพวกนี้ เป็นประสบการณ์ของผู้แจ้ง ที่จะอธิบายได้

มันมีรายละเอียดอีกมากมาย เพียงแต่คืนนี้ เราพอกันเพียงเท่านี้ก็แล้วกัน

หวัดดีทุกคน..!!

>> ลูกศิษย์ : พอจ. ผมจำได้ว่าตอน พอจ. เข้าถึงเจโตตอนที่เอนตัวลง มันเกิดสภาวะใดบ้าง เเละพอจเเยกขันธ์ กาย เวทนา ผู้รู้ ผู้ดู ได้ตอนนั้นเลยใช่ไหมครับ เเละมันมีสภาวะเเบบใดบ้างครับ..

<< พระอาจารย์ : ไม่ใช่อย่างนั้นโยหำหด

>> ลูกศิษย์ : มันเเสดงอะไรครับให้รู้….

<< พระอาจารย์ : แกกินกาแฟ แกรู้ไม๊ว่ากินกาแฟ

>> ลูกศิษย์ : ครับ

<< พระอาจารย์ : ครับนี่ แกรู้รึไม่รู้

>> ลูกศิษย์ : รู้ครับ

<< พระอาจารย์ : อย่ามาโม้

>> ลูกศิษย์ : ….???

<< พระอาจารย์ : แกรู้ก็ตอนมีผัสสะ และรู้ว่านั่นแกกินกาแฟ

>> ลูกศิษย์ : รู้ตอนมีผัสสะ….ขยายความครับ

<< พระอาจารย์ : ตอนกินแกไม่รู้หรอก แต่มันก็เป็นการกินกาแฟ ที่ไม่รู้ว่ากินกาแฟ

เมื่อต้องการทบทวนรู้ว่ากินกาแฟ มันก็อธิบายได้ถึงการกินกาแฟ ทั้งในรสชาติ กลิ่น ร้อนเย็น รายละเอียดต่างๆ

นี่..เพราะมันมีประสบการณ์ ที่เกิดจากการกินกาแฟมาแล้ว

เจโตวิมุติก็เหมือนกัน

ธรรมทั้งหลายนี่ อาศัยประสบการณ์ที่ได้เข้าไปผัสสะทั้งสิ้น

ธรรมไม่ได้เกิดจากการวาง การว่าง การไม่เอาอะไร

หรือตรึกตามเหตุปัจจัย เคร่งครัดต่อธรรมวินัยอะไรอย่างที่โลกเขานิยามกัน

ธรรมทั้งหลาย มันเกิดจากการแจ้งแก่ใจ

ธรรมที่แจ้งแก่ใจ ย่อมอธิบายธรรมตรงตามความเป็นจริงที่เป็นธรรมดาของมัน

คนที่อธิบายด้วยความเข้าใจและความทรงจำ ที่ตรึกนึกไปตามเหตุปัจจัย

อย่างนี้ ไม่ใช่ธรรมที่เกิดจากการแจ้งด้วยอำนาจเจโตและปัญญา

ธรรมเช่นนี้ เป็นอัตตาธรรม จากเจ้าของที่ให้แต่นิยามธรรมที่เราไม่ค่อยเข้าใจ

โอเคนะ ยิ่งขยาย ข้ายิ่งหล่อ เดี๋ยวพวกแกจะหลงในความหล่อแห่งธรรมที่มันสาดแสงสว่างออกมา

วันที่ 30 มีนาคม 2559 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง