อาการจิตในสมาธิ

อาการจิตในสมาธิ

1218
0
แบ่งปัน

>> ลูกศิษย์ : พอจ.ครับ 2 วันก่อนผมนั้งเกิดมีแสงสว่างเหมือนคนเปิดไฟมันสว่างจนรู้สึกแสบตาผม มองไปในแสงไม่ได้เลยมันสว่างอยู่ข้างหน้าไปต่อไม่ได้เลยถอยสมาธิมา นับใหม่มันก็สว่างอีกผมจะทำยังไงครับ..

<< พระอาจาย์ : มันเป็นโอภาศอย่าหนึ่ง คนที่นั่งจิตเข้าถึงความสว่าง ใช่จะเข้าถึงกันได้ง่ายๆ แต่มันสว่างแบบจ้าจนแสบตานี่ ไม่เคยได้ยิน เพราะตอนนั่งเห็นแสง มันใช้จิตเห็น ไม่ใช่ตาเห็น แต่สัญญาคนเรามันไม่เท่ากัน

แสงสว่างนี้เป็นของดี แต่ถ้าพอใจแค่นี้ ก็จะเป็นอุปกิเลสตัวหนึ่ง การที่จิตเข้าถึงแสงสว่าง เป็นหนทางที่จะเข้าถึงความเป็นทิพย์จักษุญาณได้ง่าย

แต่ถ้าติดตรงทิพย์จักษุญาณ มันก็กลายเป็น อุปกิเลสอีก ผู้ที่ฝึกมาทางจิต มันต้องมีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะ ทุกวิถีจิต เพราะมันเป็นเรื่องนอกเหนือสัญญาที่เราเคยรู้ และครูผู้ชี้ ต้องเคยผ่านมาด้วย ถึงจะชี้ถูก ไม่งั้นจะกลายเป็น หัวแม่ตีนชี้

เรื่องการทำให้เกิดทิพย์จักษุญาณ คงไม่ต้องพูด เอาแค่ ว่าเมื่อเกิดสว่างแล้วจะทำอย่างไร

ความสว่างแห่งจิตนี้ มันก็อยู่ในขั้น อุปจารสมาธิ จิตมันตัดผัสสะแห่งรูป-นาม เข้าสู่ภวังค์จิต แสงสว่างนี้เป็นการปรุงแต่งแห่งจิตที่อยู่กลางๆ ที่จริงมันหลายความหมาย

มันอาจจะเกิดจากสัญญาใน อาโลกสิณ หรือเพ่งแสงสว่าง มาก่อนในอดีตชาติ มันก็ปรุงขึ้นมาได้เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจากสาเหตุอะไร ก็เป็นอาการหนึ่ง ของการปรุงแต่งในภวังค์จิต

วิธีแก้.. ตั้งสติและเพ่งแสงอย่างสงบต่อไป อยู่ในคำบริกรรมใด ก็ยึดกับคำบริกรรมนั้น การทำสมาธิทุกระดับขั้นแห่งฌาณ มันมีสติหล่อเลี้ยงอยู่ จนไปถึงอุเบกขาญาณ มันระลึกได้ตลอด กำหนดวางกลางๆ สว่างก็สว่างไป

สว่างนี้ เป็นอาการปิติทางภวังค์จิตที่ไม่เกี่ยวกับกาย หากเรากำหนดถอยออกมา ความสว่างนั้น อาจเป็นแค่ จุดเล็กท่ามกลางความมืดในสมาธิ เท่านั้นเอง แต่เผอิญ จิตเรามันเข้าไปอยู่ในความสว่างนั้น ก็เลยคิดว่า เราตกอยู่ใน ท่ามกลางความสว่าง

ตั้งสติแล้วกำหนดถอย หากถอยแล้วยังอยู่ในความสว่าง ก็ให้เพ่งความสว่างนั้นต่อไป มันมีอะไร..ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสว่างนั้น

เพียงแค่ ตั้งสติให้ดี ความมหัศจรรย์แห่งจิต อาจจะเกิดกับใจเรา..ต่างคนต่างแบบ ต่างคนต่างเป็น แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกัน มันเป็นแค่อาการปรุงแต่งทางภวังค์จิต….


>> ลูกศิษย์ : นั่งสมาธิ ความรู้สึกเหมือนจิตนิ่ง ว่างเปล่า ไม่ได้ยินเสียงอะไร แต่เหมือนความรู้โลกหมุนติ้ว ตัวจะหลุดลอยออก มันเป็นอย่างไร แต่เมื่อตื่นมีผู้ชี้แนะว่าให้หยุด ผมเลยหยุด ขาดคนชี้แนะครับ มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งอย่างไรท่าน พอลืมตารู้สึกนั่งนานมากกว่าที่เคยปฏิบัติ ผมนั่งผมไม่นับ ไม่มีพุทโธครับ ไม่ถึงหนึ่งนาที รู้สึกจิตว่าง แต่หมุนอย่างเดียว เลยหยุดคับ หลายครั้งปฏิบัติเหมือนเดิมทุกที นั่งทุกทีเป็นทุกครั้ง ไปต่อไม่ไหวเหมือนเดิมคับ...

<< พระอาจาย์ : เป็นอาการในปฐมฌาณขั้น ปิติ ครับ โอโรโน อาการแบบนี้เป็นอาการทางจิตไปตามแต่ละจริต บางคนนั้งเท่าไหร่ก็ไม่เกิด บางคนเกิดแล้วก็กลัว

วิธีแก้ ให้ตั้งมั่นด้วยสติ หรือตั้งมั่นด้วยคำบริกรรม ต้องหาหลักยึดให้เจอ แล้วปล่อยให้มันเกิดไป ทำความรู้สึก เฝ้าดูอาการเฉยๆ มันเป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอก ตั้งมั่นและทำต่อไป ความสุขสงบจะเกิดขึ้น เมื่อผ่านได้แล้ว

อาการพวกนี้ เราจะไม่มีความสงสัยเลย ไม่ต้องกลัว ทำดีแล้ว มันเริ่มออกเดินทาง ความโคลงเคลงก็ย่อมมี หุหุหุ เดินทางต่อเหอะเพื่อน..ไม่มีอะไรน่ากลัว นึกถึงศีลนึกถึงพระ เอามาเป็นที่ตั้งแห่งใจ และทำต่อไป.. มันมีความสุขและอารมณ์สงบเป็นอารมณ์เดียว ซ่อนอยู่ในนั้น


>> ลูกศิษย์ : จิตออกเดินทาง ความหมายคือจิตหลุดลอยท่องเที่ยว ยืนดูสังขารกาย ท่องเที่ยวไปทุกหนแห่งตามแต่จิตต้องการเคยมีผู้ชี้ครับ กลัวกลับไม่ถูก ต้องมีคนเรียกนั่งอยู่ครับอาจารย์

<< พระอาจารย์ : ยังๆ ไม่ใช่จิตจะหลุดออกไปเช่นนั้น ออกเดินทางในที่นี้หมายถึง การเริ่มเข้าสู่สภาวะแห่งสมาธิที่ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นนะครับ..เป็นมโนจิตอย่างหนึ่ง


>> ลูกศิษย์ : เวลานั่งสมาธิพอเริ่มนิ่ง จะมีความรู้สึกว่าตัวเราโยกไปมา บางครั้งโยกซ้าย-ขวา บางครั้งโยกหน้า-หลัง ผ่านจุดนี้ไม่ได้สักที ขอคำแนะนำจากท่านผู้เฒ่าด้วยค่ะ

<< พระอาจารย์ : อาการทั้งหลายที่เกิดนี้ เป็นอาการแห่งจิตที่เขาเรียกกันว่า ปิติทั้งนั้น มีเป็นร้อยๆ อาการ เพียงแต่เรายังไม่ชำนาญ ทางจิตก็เลยดูแปลก สติมันระลึกถึงผัสสะที่โดยกระทบทางภวังค์จิต เชื่อมต่อกับวิถีจิต ไม่มีอะไร มันจึงปรุงอาการออกมา

การโยกหน้าโยกหลัง ตัวหมุน ตัวลอย ขนลุกขนพอง น้ำตาไหล ตัวใหญ่โต ตัวพอง แขนโต เท้าโต หัวทิ่มตัวเอียง และอีกเยอะแยะ เป็นอาการปรุงแต่งทางจิตในระยะแรกเริ่มที่เราได้ผัสสะ

ไม่มีอะไร..!! ตั้งสติทำต่อไป ถ้าวางใจไม่ใส่ใจได้ ให้อยู่ในองค์บริกรรม ตั้งมั่นในสติ สิ่งเหล่านี้ ก็จะทุเลา เบาบาง จางคลายไปเอง พอหายไป เดี๋ยวก็อยากเป็นกันอีก

เมื่อผ่านได้แล้ว ความสงบมันซ่อนตัวอยู่ในปิติ และความรู้ความเข้าใจในอาการต่างๆ และความรู้ตัวทั่วพร้อม ในองค์ฌาณจะบังเกิด ความสงสัยในสภาวะพวกนี้ จะหมดไป

เราเรียกอาการขั้นนี้ว่า ปฐมฌาณ มีอารมณ์หนึ่งเดียวที่รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ความตั้งมั่น รู้อารมณ์ประคองจิต รู้อาการปิต รู้ถึงความสงบสุข และรู้ถึงความเป็นอารมณ์เดียว โดยสติแห่งปฐมฌาณ..คุคุคุ ทำต่อไปเรื่อยๆ แล้วหาโอกาสมาหา ท่านผู้เฒ่า คุคุคุ จะเขกกระลาให้..!!หุหุหุ


>> ลูกศิษย์ : วางที่ใจแก้ที่ใจเราอย่าส่งจิตไปกับทุกๆ เรื่องใช่ไหมคะพอจ.

<< พระอาจารย์ : การวางที่ใจ การแก้ที่ใจ เราฟังกันมานานแล้ว แล้วเราจะวางจะแก้กันอย่างไร ในเมื่อ เรายังไม่รู้จักใจ พรว่าไหม ใจอยู่ตรงไหนล่ะ พร..!!

ถ้าไม่รู้จักและจับตัวมันไม่ได้ เราจะเอาอะไรลงไปแก้ เอาอะไรลงไปวาง มันก็เป็นใจลอยๆ ที่เราเพ้อออกไปเท่านั้นเอง ธรรมมันก็เลยค้างอยู่ มันไม่เข้าไปสู่ใจ เพราะเราไม่รู้ว่า อะไรคือใจ หุหุหุ
ความคิด มันไม่ใช่เป็นใจหนู มันเป็นแค่อาการแห่งใจ แล้วอะไรคือใจล่ะ เห็นเขาพูดกันจัง รู้จักใจไหม หรือที่ผ่านมา รู้แบบมั่วๆ เอา ใจมันอยู่ตรงไหน..?? คึคึคึ

>> ลูกศิษย์ : คำว่าจิต..กับ..ใจ..มันใช่ตัวเดียวกันไหมเจ้าข้า..เห็นท่านพูดถึงคำว่าโปรแกรมจิตบ่อยๆ

<< พระอาจารย์ : คือเราพูดๆ กันและเข้าใจกันอยู่นี่แหละ กับคำว่าจิตและใจ แต่เราจะไม่เข้าใจความหมายตรงๆ ได้เลยเมื่อฟังท่านทั้งหลาย แสดงธรรม

และหากเราเข้าใจ ว่าอะไร คือจิต อะไรคือใจ เราก็สามารถรู้ได้อีกว่า ผู้แสดงธรรม มั่วหรือไม่มั่ว เพราะมันจะแสดงภูมิออกมาให้เราเห็นชัดเจน ว่าเขาแสดงธรรมโดยขาดสติ ขาดเหตุ ขาดผล ขาดกาล เป็นธรรมที่ฟังแล้ว ไม่ครบองค์ธรรม การสื่อออกมาจึงไม่เป็นธรรม บางทีเป็นแค่การ เพ้อเจ้อธรรม…

และที่พรบอกว่า เหตุแห่งทุกข์เพราะอะไร ให้แก้ตรงนั้น เราก็ต้องแก้กันจนวันตาย ก็ไม่หายทุกข์..

ทางวิถีพุทธ ไม่ได้บอกให้ไปแก้ การแก้ทุกข์นี้เป็นเรื่องของนอกศาสนา เราขาดผู้ชี้ที่ทรงุคณ จึงไม่เข้าใจเรื่องทุกข์

ศาสนานี้ ไม่ใช่ศาสนาแห่งความเป็นทุกข์ หรือมีแต่เรื่องทุกข์ ที่จะต้องไปแก้ ฝรั่งเขาก็เข้าใจเช่นนี้เหมือนกัน เขาบอกว่า ไม่อยากยุ่งกับศาสนาพุทธ เพราะพุทธ พูดกันแต่เรื่องความทุกข์ และข้อห้าม ที่จำกัดสิทธิมนุษยชน

พุทธศาสนา ไม่ใด้ดำเนินมาทางนั้นดั่งที่เข้าใจกัน แม้ชาวพุทธเองก็ยังไม่เข้าใจ ไฉนท่านอื่นๆ ที่ไม่นับถือ จะมาเข้าใจได้เล่า..

ความทุกข์ในมวลมนุษย์ ท่านชี้ให้รู้จักมันไว้ ว่าเกิดมาแล้ว มันเป็นทุกข์อย่างนี้ ความพรากที่เรายึด มันสุขหรือทุกข์ ความไม่ได้ดั่งใจมันสุขหรือทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เมื่อต้องเผชิญ มันสุขหรือทุกข์

ท่านให้กำหนดรู้ และชี้ให้เห็นสภาพของปกติ ที่เราเป็นๆ กัน ท่านไม่ได้บอกให้เราไปแก้ทุกข์ ความทุกข์มันแก้ไม่ได้ ท่านให้เรากำหนดเตือนใจไว้ นี่คือผลของการเกิดมา..

ท่านชี้ไปที่เหตุ ของผลเหล่านี้ ว่าเกิดมาจากอะไร เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย เกิดจากใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบนั่น… ปัญหามันอยู่ตรงนั้น เราจะแก้ยังไง…!!

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง อนัตตา ณ วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2556 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง