ยึดดี แต่ไม่รู้ว่ามันดียังไง มันก็โง่เหมือนกัน

ยึดดี แต่ไม่รู้ว่ามันดียังไง มันก็โง่เหมือนกัน

584
0
แบ่งปัน

***** ยึดดี แต่ไม่รู้ว่ามันดียังไง มันก็โง่เหมือนกัน ****

>> หนูเป็นเลขา เวลาท่องพุทธโธขณะทำงาน หนูมักจะลืมคำสั่งเจ้านายและเป็นบ่อย ตั้งแต่ฝึกท่องภาวนาพุทธโธมา หนูจะทำยังไงดี จะหยุดก็รู้สึกผิดคะ พระอาจารย์ช่วยชี้หน่อยค่ะ

<< ที่ท่านกล่าวว่า ให้หมั่นภาวนา และตามด้วยคำว่าพุทธโธนี่ หมายถึง ให้มีสติ

ส่วนคำพุทโธ เป็นคำบริกรรม เพื่อใจไว้เกาะ

พุทโธนั้น ก็หมายถึงให้มีสติ ไม่ใช่หมายถึงให้ทำอะไร ก็บริกรรมอยู่กับพุทโธ

การบริกรรมพุธโธ ใช้กันในขณะฝึกในอริยาบทสี่ เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน

แต่การทำงานทั่วไปนี่ ท่านให้มีสติ ไม่ใช่ท่องบ่นด้วยพุทโธ

ขับรถแล้วมัวท่องพุทโธ รถชนกันตายห่า มันไม่เป็นสมาธิในการขับรถ ใจมันส่ายไปทางบริกรรมพุทธโธโน่น

เขียนงาน ทอดไข่ ขายของ ทำอะไรทั้งหลาย ไม่ต้องมาท่องพุทโธ แค่ให้มีสติ รู้จรดจ่อกับสิ่งที่ทำ มันถึงจะถูกต้อง นั่นละ ความหมายพุทโธ

คือตื่นจากการหลับไหล ในที่นี้หมายถึงการรู้สึกตัวในขณะนั้นๆ

พวกพระงี่เง่าจำเขามาชี้คนหลายรูป ดันชี้คณะว่า จะทำอะไรก็ให้อยู่กับพุทโธ

คนมันก็เลยท่องบ่นพุทโธ ด้วยความเข้าใจผิด ถ้าชี้พระด้วยกันน่ะไม่เป็นไร เพราะไม่ค่อยได้ทำอะไร ในกิจมากมายนัก

และการปฏิบัติเจริญสติสัมปชัญญะ เอาคำบริกรรมพุทโธ เป็นเครื่องเกาะในการปฏิบัติไม่ให้จิตมันสาดส่าย

นี่..จำเขามาชี้ แต่ไม่ได้วินิจฉัยตามความเป็นจริง

อ้างว่าท่องพุทโธแล้วจะไม่ตกนรก ไม่ลงอบายภูมิ

เช่นนี่..ถ้าโจรมันทำเรื่องเหี้ยๆ ปล้นเขาแดก แล้วท่องพุทโธไปด้วย

มันก็คงไม่เป็นกรรมกับใคร ไม่ลงนรกเมื่อกายแตกเช่นกัน

ฉะนั้น คำบริกรรม เราก็ควรทำความเข้าใจ ว่าแท้จริง ท่านวางเจตนาอย่างไร

ไม่ใช่ เขาว่ามา กูเตะส่งต่อ ขอให้เชื่อกู

พุทโธเป็นคำบริกรรม ใช้เป็นเครื่องเกาะ ยามภาวนา

ส่วนที่ท่านบอกว่า ให้อยู่กับพุทโธนั้น คือการมีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งที่ทำ

วันที่ 22 ตุลาคม 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง

<<คำถาม: บทสวดมนต์ต้องมีข้อดีครับ ปาฎิโมกข์ก็ต้องมีข้อดี ไม่อย่างนั้นจะอยู่ถึงทุกวันนี้ไม่ได้แน่ อย่างพระสมเด็จพุฒจารย์โต ท่านได้เขียนคาถาชินบัญชรไว้ ต้องมีข้อดีครับ

กระผมเองมิอาจโต้แย้งท่านหรอกครับ เพราะกระผม
มิได้เป็นพระ เพียงแต่อยากให้พิจารณาใหม่ครับ
ถ้ากระผมทำผิดสิ่งใดไปขอขมาอภัยด้วยนะครับ…

>>พระอาจารย์: ก็อ่านแล้วตีความให้มันเข้าใจซิ พิจารณาดีแล้วถึงได้กล่าวออกไป

หากมองมุมแคบไป มันก็อัตตายึดไม่คลาย มันก็จมอยู่กับที่

เชื่อโดยไม่มองอะไร มันก็วิสัยคนโง่เท่านั้น ผลก็ปรากฏอยู่ว่า สวดไปด้วยความไม่รู้เรื่อง

แล้วยึดในสิ่งที่ไม่รู้เรื่องว่า มันดี นี่มันโง่หรือฉลาด…!!!

ไอ้พวกยึดมากๆนี่ หูตามันหนวกมันบอดไปซะหมด

แค่อ่านมันยังตีความยังไม่ออกว่า เขาสื่อถึงอะไร

เอาประโยคที่ตนไม่ชอบใจ มาตัดสินด้วยความงี่เง่าของตนเอง แล้วประจานความโง่ออกมา

คนเรามักชอบที่จะทำเรื่องยากๆ ทำให้มันซับซ้อนเข้าไว้

ใครทำเรื่องยากๆได้ ซับซ้อนตามรู้ยากได้ รู้สึกว่าตนนั้นมันช่างเก่ง

พวกโลกสวย มักจะจำนนอยู่แต่อาณาเขตแคบๆของจินตนาการ

พอผัสสะกับอะไรที่คิดด้วยตนเองว่าไม่ใช่

ใจมันก็สะดุ้งสะเทือน

ธรรมที่ข้าสาธยาย มันเผ็ดร้อนดี มันท้าทายความคิดคน

แต่ขบเนื้อธรรมให้ละเอียดนะ จะได้ไม่ประจานตน
เวลาจะอวดภูมิตน ในสิ่งที่คิดว่าข้าแย้งธรรม

คนเรามันต้องเชื่อด้วยปัญญา ผ่านการพิจารณาหา
เหตุผลที่ตรงตามความเป็นจริงไม่ใช่ กูว่าของกูอย่างนี้

ใครว่าผิดไปจากกูว่า เป็นไม่เห็นด้วย ไม่ใช่ไม่ถูก ไม่สมควร

เป็นชาวพุทธควรเปิดใจรับฟังเหตุฟังผล

การสาธยายธรรมมันล้วนเต็มไปด้วยเหตุด้วยผลไม่ใช่
นึกเอาคิดเอาแล้วทึกทักเอาเอง

พวกสายหลวงปู่นั่น หลวงปู่นี่ มันมักโลกสวย

อะไรที่คิดว่าผิดไปจากที่ตนยึด เป็นค้านหัวชนฝา

มีแต่อารมณ์ ไม่ฟังเหตุไม่ฟังผล

เสียชื่อหลวงปู่ ผู้เป็นอริยเจ้าหมด

ยึดแต่ความเห็นถูกของตัวเองเป็นหลัก

แต่ไม่ฉลาดที่จะเอาหลักที่ยึดมาพิจารณา…

การสวดปาฏิโมกหรือสวดอะไร ไม่ใช่ว่าไม่ดี

แต่ที่ชี้นี่ แค่ชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่า เราทำในสิ่งที่เราไม่ได้เข้าใจความหมาย หรือมีผลตรงต่อความเป็นจริง ว่าทำไปแล้ว มันฉลาดอะไรขึ้นมา

ถ้ามันเป็นความหมายที่เรารู้เรื่อง นี่..มันก็ดี เรานำมาใช้ได้

แต่นี่ เราสวดด้วยการท่องมาจำมา มันไม่รู้เรื่อง

แล้วเราเอาความไม่รู้เรื่องแห่งเรา มาทึกทักว่าดีอย่างโน้นดีอย่างนี้

นี่..ตรงนี้ ที่เล็งให้เห็นว่า เรามันอยู่ในกระแสงมงายและโง่อยู่

การสวดมันเป็นแค่เปลือก ไม่ใช่เนื้อเยื่อที่เราพอจะรู้อิ่มรู้รสได้

ยิ่งสวดด้วยความไม่รู้เรื่องด้วย ทั้งในความหมายและผลที่สื่อ

นี่..ตรงนี้แหละ ที่ชี้ให้เห็นว่า บางสิ่งเรากระทำไปด้วยอาการแห่งความมืดบอด

และเรายึดความมืดบอดนี้ ว่าเป็นของดี เพราะโบราณท่านได้สอนชี้เอาไว้

แต่ไม่ใช่ว่า ไม่สวดไม่ทำแล้วมันจะเป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน ไม่ใช่อย่างนั้น

แต่ชี้ให้ถอยออกมาเห็นความเป็นจริงเท่านั้นแหละ

ว่าการยึดสมมุติด้วยการมีปัญญากับยึดด้วยความศรัทธาจนงมงายนั้น มันมีผลมีเหตุที่แตกต่างกันเพียงไร…

วันที่ 21 ตุลาคม 2558 โดย พระอาจารย์ ธรรมกะ บุญญพลัง