ธรรมแห่งเครื่องร้อยรัดที่เรียกว่าสังโยชน์

ธรรมแห่งเครื่องร้อยรัดที่เรียกว่าสังโยชน์

708
0
แบ่งปัน

****** ธรรมแห่งเครื่องร้อยรัดที่เรียกว่าสังโยชน์ ******

( ธรรมแห่งผู้รู้แจ้ง )

วันนี้ธรรมยามเที่ยง ใครเห็นพระนิพพานบ้าง…??

ตราบใดที่มั่นใจว่ามี พระนิพพาน พึงเดินไปเถิด เดินไปได้แค่ไหน นิพพานตรงนั้น

เพราะมันไม่มี นิพพานที่มันจะไปอยู่บนแห่งหนตำบลไหน

นิพพานมันอยู่ที่ใจ ของผู้ที่กำลังย่างก้าวเดิน

ธรรมแท้ย่อมสว่างไสวไม่มืดมนต่อใจคน ที่เพ่งตาม

>> คำถาม : รูปราคะ ในสังโยชน์ 10 ผมเห็นสำนักไข่หินล้านปี บอกว่า การยึดมั่นในรูป

เขาคงจะหมายถึงรูปที่เห็นด้วยตาแน่ๆ

รูปราคะ ตัวนี้ โดยเนื้อแท้คืออะไรครับ เห็นว่าต้องเป็นพระอนาคามีขึ้นไปถึงจะละรูปราคะได้ขอรับ

<< พระอาจารย์ : อธิบายเรื่องรูปราคะดีไหม..??

>> ลูกศิษย์ : ดีขอรับ
>> ลูกศิษย์ : ฟังค่ะ

<< พระอาจารย์ : เรื่องรูปราคะนี่ คงมีใครไปเติมราคะให้ทีหลังน่ะ

เพราะว่า ในสังโยชน์ 10 นี่ มันมีคำกล่าวเรื่อง รูปและอรูปอยู่

สมัยก่อนท่านแปลมาเป็น รูปฌานและอรูปฌาน ซึ่งเวลาแปลความหมายออกมา

มันก็ไม่ถูกความหมาย ในขั้น อรหันตมรรค

รูปราคะและอรูปราคะนี่ เป็นธรรมภาวะจิตขั้นอรหันตมรรค

ในสังโยชน์ 10 นี่ มันเป็นการแบ่งระดับภาวะจิตใจแห่งกำลังปัญญา

อย่างพระโสดาบันนี่ ท่านว่า เป็นผู้ตัดสังโยชน์ได้ 3 ประการ

จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีใครตัด

ที่ท่านกล่าวนั้นหมายถึง การเป็นผู้มีภาวะใจเข้าถึงในสังโยชน์

สังโยช์คืออะไร..??

สังโยชน์คือ ภาวะที่เป็นเครื่องร้อยรัดใจ ให้วนเวียนติดอยู่กับภพ

อย่างพระโสดาบันนี่ ท่านเข้าถึงสังโยชน์ 3 ประการ

คือ เข้าใจว่า รูปทั้งหลาย เกิดเป็นธรรมดา และมันดับเป็นธรรมดา

ไม่สงสัยในธรรมอันเป็นเครื่องเกิดดับที่อาศัยตามเหตุและปัจจัย

ที่สำคัญคือ ไม่งมงาย ในสิ่งที่มองไม่เห็นและพิสูจน์ไม่ได้ และเข้าใจว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย มันมีเหตุปัจจัยเกิด

ไมใช่เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า หรือพระผู้เป็นเจ้าองค์ไหน

นี่ เป็นอารมณ์พระโสดาบัน ที่เข้าถึงสังโยชน์ได้สามประการ

คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

ทีนี้ สังโยชน์ 3 ประการนี่ มันเป็นมนุษย์ขั้นศีล

พระโสดาบันนี่ เป็นมนุษย์ขั้นศีล มันมีมนุษย์ขั้นศีลที่ละเอียดกว่าพระโสดาบันอีกหน่อย นั่นก็คือ..

พระสกิทาคามี

พระสกิทาคามีนี่ ก็เป็นชาวบ้านชั้นดี เป็นชาวบ้านขั้นศีลที่เนื่องด้วยใจ ที่มีสมาธิมากขึ้น
ละเอียดมากขึ้น

คือ สามารถเอาอำนาจแห่งสมาธินั้น ทำให้เกิดสติปัญญา อบรมจิตใจ อารมณ์ ให้มันสงบ ระงับ โกรธ และ โลภ ที่เป็นตัณหาได้ละเอียดกว่า พระโสดาบัน

พูดง่ายๆ ว่า นอกจากจะ ไม่งมงาย ไม่สงสัย เข้าใจว่าสรรพสิ่งทั้งหลาย เกิดดับเป็นธรรมดาแล้ว ยังมีสติ ที่ยับยั้งชั่งใจ อารมณ์ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

คือโทสะ และกาม อันเป็นความอยากทั้งหลาย แต่ยังไม่มีกำลังเด็ดขาด ในการที่จะดับอารมณ์ ที่ผุดขึ้นมาไม่รู้จบนี้ได้ นี่ เรียกว่า พระสกิทาคามี

เป็นผู้มี ภาวะแห่งใจเข้าถึงสังโยชน์ 3 ประการ คือเข้าใจการเกิดดับเป็นธรรมดา ไม่สงสัยในธรรมอันเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่งมงายขาดสติในผัสสะ เท่าที่กำลังตนเองมี

แต่ยังมีกำลังต้านอารมณ์ภายใน ที่เกิดจาก อำนาจ โทสะ และกาม อันเป็นความอยากทั้งหลายได้ด้วย

ส่วนพระอนาคามีนี่ เป็นผู้เข้าถึงสังโยชน์ ทั้ง 5 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส โทสะ กามตัณหา เขาเรียงอย่างนี้ปล่าววะ จำไม่ค่อยได้ แต่อธิบายได้

ที่เหลือ คือ มานะ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะ อวิชชา ข้าเรียงให้ใหม่ดีกว่า คือ

1. สักกายทิฏฐิ

2. วิจิกิจฉา

3. สีลัพพตปรามาส

4. กามราคะ

5. ปฏิฆะ

6. มานะ

7. รูปราคะ

8. อรูปราคะ

9. อุทธัจจะ

10. อวิชชา

นี่..ครบ ฮ่าๆๆ ไม่งั้นเวลาเอาไปลงเฟสแล้ว พวกอรหันต์เฟสอักษรวิจิตร มันจะมาด่าข้า

ทีนี้ ไอ้ที่เรียงๆ กันนี่ 5 ตัวแรก ท่านว่าเป็นอารมณ์ ของพระอนาคามี

ส่วน 3 ตัวแรกนี่ เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน

ส่วนพระสกิทาคามีนี่ มีอารมณ์เต็ม 3 ตัวแรก

และยังมีสมาธิเข้าไปถึงการข่มใจ ในตัวที่ 4 และ 5 ด้วย แต่ยังไม่เด็ดขาดและสมบรูณ์ ยังไม่เต็มขั้น สมาธิ

ส่วนบุรุษที่ข่มได้อย่างเด็ดขาด ในเรื่องของ กามราคะ และปฏิฆะ นี่เรียกว่า พระอนาคามี

เป็นบุรุษผู้มีกำลังแห่งสมาธิ อันข่มเวทนาอันเกิดขึ้นมา โดยไม่รู้จบจากใจดวงนี้ได้

นี่..บุรุษขั้นสมาธิ ไม่ใช่นักสมาธิอย่างที่เราๆ เข้าใจกัน

ส่วนสังโยชน์ ที่ 6-7-8-9-10 นี่.. เป็นระดับอรหันตมรรค

คือ ผู้ดำเนินทางแห่งปัญญา ที่พร้อมมูลแล้วด้วย ศีล สมาธิ

อาจจะเคยเป็นพระโสดาบันมาแล้ว หรือพระสกิทาคามีมาแล้ว หรือพระอนาคามีมาแล้ว

หรือไม่เคยเป็นมาเลยก็ได้

มั่วๆ กับเขาไปในขั้น อรหันตมรรคเลย

ที่นี่ ในสังโยชน์ที่เหลือนี่ มันก็ไม่ได้แยกเป็นข้อๆ สำหรับผู้ที่เดินทางมาถึงขั้นนี้แล้ว

มันเป็นอารมณ์ก้อนเดียว ที่มันเกาะกันอยู่เหนียวแน่น

พูดง่ายๆ ว่า… ในสังโยชน์เบื้องต้นนั้น มันยังหยาบๆ อยู่ แต่สังโยชน์ในขั้น อรหันตมรรคนี่ มันละเอียด และดูเหมือนเป็นตัวเดียวกัน

ที่ท่านขยายออกมาเป็นข้อๆนั้น ท่านแยกให้เห็นอารมณ์ที่มันเกาะกันเป็นก้อนๆ ไม่ใช่ต้องผ่านไปทีละข้อ

เพราะมันเป็นอาการของอวิชชาที่เจ้าของแสดงออก โดยไม่รู้ตัว ว่าเป็นเจ้าของอยู่

อย่างมานะนี่ มันมีตัณหาและทิฏฐิอยู่ในนั้นด้วย แต่เจ้าของข่มมันลงไปได้ด้วยกำลังแห่งสมาธิ นี่เป็นมานะอย่างหนึ่ง ที่เจ้าของไม่รู้

มันไม่ใช่มานะ ที่เป็นการอวดอย่างโลกเขาว่า หรือการถือตัวถือตนอย่างโลกเขาเข้าใจ

ในขั้นระดับสังโยชน์อรหันตมรรคนี่ เป็นเรื่องอารมณ์ภายในแห่งเจ้าของล้วนๆ

นั่นก็หมายความว่า…

อารมณ์ทั้งหลายที่เหลือในสังโยชน์ 6 – 10 มันเป็นอารมณ์ที่เจ้าของแสดงการข่มอยู่ ด้วยลักษณะที่ว่า กูหายขาดจากสิ่งเหล่านี้

มีนัยแห่งอารมณ์ที่ว่า กูไม่มีอารมณ์ทั้งหลาย ในสังโยชน์ทั้งหมดนี่แล้ว นี่..ประมาณนี้

สังโยชน์เหล่านี้ มันจึงเป็นเครื่องร้อยรัดใจเจ้าของไป โดยไม่รู้ตัว เพราะความมีอัตตารู้แจ้งรู้มากเป็นเหตุ

โดยที่ไม่มีปัญญารู้ว่า… สิ่งเหล่านี้ มันเป็นธรรมดาของมัน ที่มันมีและมันเป็น

ไม่มีใครมาเป็นเจ้าของ ดั่งที่มีเจ้าของเข้าใจ ว่าเจ้าของนั้น เป็นผู้ตัดผู้วางได้ อย่างเด็ดขาด ไม่มีอะไรมาเหลือเยื่อใยให้เป็นกิเลสอีก

นี่..มันยังเป็นอัตตาในอารมณ์แห่งสังโยชน์ทั้งหลาย

อย่างรูปราคะนี่ ตามที่ถามมา..

มันเป็นอารมณ์ยามผัสสะ ผัสสะทางอายตนะ ทาง ตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจแล้ว มันยังมีความสงสัยในอารมณ์ ที่มัน ยังข่มได้ไม่จริง

หรือยังมีความสงสัยในปัญญาแห่งตนเองว่า ที่เจ้าของตัด มันตัดด้วยอำนาจข่ม หรือด้วยอำนาจแห่งปัญญา ที่เข้าไปข่ม

เพราะแม้จะไม่สนใจ ไม่มีอารมณ์ และว่างเปล่าจากสิ่งที่ผัสสะ แต่บางอย่างมันก็ยังตรึงตาตรึงใจอยู่

มันต้องว่างเปล่าซิ อารมณ์ที่ผัสสะมันต้องไม่มี นี่..เป็นเรื่องรูปราคะ ที่เจ้าของยึดมั่นอยู่ว่ามันต้องไม่มี

คำว่ารูปนี่ ไม่ใช่รูปผู้หญิงเปลือยแล้วเกิดราคะ แต่หมายถึง รูป ทางตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ ที่มันได้ผัสสะ

เช่น..เห็นผู้หญิงเปลือย เห็นแล้วต้องไม่เกิดอารมณ์ วางได้ไม่รู้สึกไม่มีอารมณ์

แต่พอจะกินกาแฟ กาแฟมันร้อน ดันไม่เอาร้อนตามที่มันผัสสะ มันวางกับความร้อนของกาแฟไม่ได้

ถ้าวางได้จริง ก็ต้องไม่ต้องเป่าให้มันเย็นลง แดกแม่งอย่างนั้นเลย

หนาวก็ไม่ต้องห่มผ้า หิวก็ไม่ต้องไปกิน นี่..อะไรอย่างนี้ เพราะเป็นผู้ไม่รู้สึกอะไรแล้วนี่

แต่นี่ พอผัสสะแล้ว มันยังมียังเป็นอยู่เป็นปกติ ที่มันไม่มี เช่น ความอยากในรูปอิสตรี ในเรื่องเพศ

นั่นมันเกิดจากการข่ม และข่มด้วยเหตุปัจจัยที่สร้างสมมาโดยไม่รู้ตัว

ไม่อยากเย๊ดผู้หญิง นี่..มันข่ม ไม่ใช่ไม่มีอารมณ์ เพราะมันสมมุติเห็นด้วยอัตตาว่าเรื่งพวกนี้ เป็นกามราคะ ต้องไม่มี ไม่เป็น

เรียกว่า ไม่เอาการเสียดสี ทางเพศ แต่ยังเอาการเสียดสีทางรส ทางกลิ่น ทางรูป ที่ยังผัสสะอยู่ โดยไม่รู้ตัว

อุดรูรั่วแต่เรื่องเย๊ดกัน แต่ยังเอาทางอื่นแทน เช่นหนาว ก็หาไออุ่น ร้อนก็หาเย็น

ยังเสพทางอื่นอยู่ โดยไม่รู้ และไม่คิดว่าตนเองนั้น ก็ยังเอาอยู่

เรียกว่า ยังมีอาการอยากแห่งรูปทั้งหลาย ที่มันยังผัสสะ

ที่ไม่อยากนั้น เป็นแค่เรื่องที่ตนสอดส่งลงไป เพราะโลกเขาว่า เขานิยม ว่าผู้บรรลุธรรม ต้องไม่มีอารมณ์ทางเพศ

แต่ในความเป็นจริง อารมณ์เหล่านี้ มันก็ยังมีอยู่ครบ เพียงแต่เจ้าของมันอุดรูรั่วไว้อยู่

มันข่มอยู่ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ มันตัดได้ทุกเรื่อง ยกเว้น ตัวมัน ที่มันตัดไม่ได้ซักเรื่อง

เพราะมันรู้อยู่ ว่าอารมณ์เหล่านี้ มันเกิดจากการข่ม เรียกว่า ข่มเวทนาใน

มันข่มเฉพาะเรื่องเพศ แต่มันไม่ข่มอย่างอื่น ที่มันผัสสะทางช่องอื่น และเกิดอารมณ์

นี่ ในขั้นนี้ เรียกว่า ยังติดรูปราคะ ที่เกิดจากการผัสสะ

ไม่เข้าใจถึงความเป็นธรรมดาที่ธรรมชาติแห่งอารมณ์มันทำหน้าที่ของมัน ตามธรรมชาติแห่งความเป็นธรรมดา ของการเกิดผัสสะ

เมื่อผัสสะเกิด เวทนาย่อมเกิดเป็นธรรมดา

แต่บุรุษขั้นนี้ ยังไม่เข้าใจ ยังเอาทิฏฐิและมานะทั้งหลายแห่งอัตตาตัวตน เข้าไปตัดเพื่อที่จะไม่ให้มี

นี่… เป็นความหลง อันเกิดจากการ ไม่เข้าใจในความเป็นธรรมดา ของผัสสะ ที่มีผลอันเป็นเวทนา

ส่วน อรูปราคะ ก็คือ การที่เกิดความไม่เข้าใจว่า..

รูปทั้งหลาย ทั้งปวง ที่เจ้าของดับไปแล้ว ด้วยความเข้าใจว่าตนนั้นว่างเปล่า จากสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นรูปอันทำให้เกิดราคะแล้ว

ทำไม.. มันจึงยังมีอารมณ์กลับไปหวลคืนกับสิ่งนั้นๆ อยู่

พูดง่ายๆ ว่า รูปทั้งหลายมันดับไปแล้ว แต่เจ้าของไม่เข้าใจ ว่าทำไม มันจึงยังมีเหลือค้างในใจอีก

เช่น เขาด่าแม่เรามา เราไม่ถือ และเข้าใจแล้วว่า มันจบไปแล้ว ด้วยอำนาจของสติปัญญา

แต่พอมากาลหนึ่ง สิ่งที่ดับและจบไปแล้ว โดยเจ้าของเข้าใจ ทำไม มันจึงยังหวลระลึกอยู่แย๊บๆ ในใจ

นี่ เป็นความไม่เข้าใจ ว่าสิ่งทั้งหลายที่ดับไปแล้ว ทำไมมันถึงได้หวลกลับมาระลึกค้างอยู่ในจิตอีก

ยิ่งเป็นเรื่องที่ถึงทิฏฐิด้วย มันจบไม่ลงเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่ความจริง มันก็จบของมันไปแล้ว

นี่เป็นอาการแห่ง อรูปราคะ คือดับไปแล้ว ไม่มีรูปแล้ว แต่ไม่เข้าใจยังตีไม่แตกว่า ทำไม มันจึงกลับมาก่อรูปในใจอีก

ส่วนอุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านเกี่ยวกับอารมณ์เช่นนี้ ที่เป็น มานะ รูปราคะ อรูปราคะ มันตีไม่แตก ว่าแม้จะรู้แจ้งโลกแล้วแจ้งธรรมแล้ว

แต่ทำไม มันยังมี มันยังเป็น ยังเกิดขึ้นมาให้รำคาญใจภายในอีก เรียกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นยุงรำคาญ ที่ก่อกวนใจ ให้เจ้าของยังสงบไม่จริง

ที่มันสงบ เป็นเพราะเจ้าของข่มเวทนาทั้งหลายไว้ ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ และไม่รู้ว่าธรรมชาติเช่นนี้ มันเป็นทิฏฐิและอัตตา ที่เจ้าของสร้างขึ้นมาเป็นเจ้าของอยู่

มันยังมีความสงสัยว่าทำไม สิ่งเหล่านี้ มันถึงได้มี ทั้งๆ ที่ เจ้าของก็สละและตัดขาดจากทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว

นี่..ความเป็น อุทธัจจะ มันยังมีอยู่เต็มหัวใจ

ตราบใดที่เจ้าของยังไม่รู้ว่า สิ่งเหล่านี้ มันเป็นธรรมดา ที่มันมีและมันเป็น ของมันเช่นนั้นเอง

เมื่อยังมีความเป็นเจ้าของ ผู้ว่างผู้วางจากอาการเหล่านี้

ตราบนั้น ความสิ้นไปในความหมายที่เรียกว่า อวิชชา มันก็ย่อมไม่มีไม่เกิด ที่ไม่เกิด และเกิดไม่ได้

เป็นเพราะเจ้าของมันเป็นอวิชชา ที่มีอัตตาผู้รู้อยู่เต็มหัวใจ

มันจึงมีเจ้าของผู้ปล่อยวาง ผู้เป็น ผู้ดู และผู้รู้ อยู่ทุกลมหายใจ

ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจว่า ในสังโยชน์ทั้งหลายตามที่กล่าวมา มันก็มีเป็นธรรมดาของมันเช่นนั้นเอง

มีแต่เจ้าของนี่แหละ ที่ยังไปเสือกทำความเป็นเจ้าของ ที่มันมีที่มันเป็น เพื่อไม่ให้มันมีและมันเป็น

ด้วยปัญญา ที่ไม่เข้าใจในความเป็นธรรมดา ที่ไม่เคยปล่อยวาง ว่ามันเป็นของมันเป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง

หากเข้าใจ ธรรมชาติทั้งหลายแห่งจิตมันก็จะหยุดเสือก

หากไม่เข้าใจ ก็จะมีเจ้าของที่ต้องเสือกต่อไป

ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในสิ่งที่เจ้าของเป็น มันต้องไม่มี นี่..คือตัวอวิชชา

เจ้าของที่ตีอวิชชาแตก ว่าสรรพสิ่งทั้งหลาย มันมีของมันเป็นธรรมดา และสรรพสิ่งทั้งหลาย มันก็ดับของมันเป็นธรรมดา

และที่มีและดับ มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดตามธรรมดาของมัน

มันจะสิ้นสงสัย และไม่งมงายในอวิชชา ที่ตัวมันเป็นเจ้าของผู้แสดง

นี่..สังโยชน์ 10 ที่อธิบายจากผู้เข้าใจในสังโยชน์ 10 ด้วยใจที่มันประจักษ์แจ้งแทงใจในความหมายแห่งอารมณ์สังโยชน์ทั้ง 10

ถ้าจะอธิบาย ขยายรูปราคะอย่างเดียว ตามที่ถามมา มันก็จะไม่เข้าใจเหตุที่มาแห่งข้อสังโยชน์อีก

คืนนี้ว่ากันมายาวเหยียด ก็เลยขอพักและขอสวัสดี

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง