ใจแห่งพระโสดาบันง่ายไม่ยาก

ใจแห่งพระโสดาบันง่ายไม่ยาก

720
0
แบ่งปัน

****** ใจแห่งพระโสดาบันง่ายไม่ยาก *******

>> ลูกศิษย์ 1 : ชอบจัง ธรรมป่าๆ มุตโตทัย ที่หลั่งไหลออกมาจากใจดิบๆ ของท่านอาจารย์ ครับ รักษาใจดวงเดียวนี้ได้ ศีล 5, 8, 10 หรือ 227 ก็ไม่สำคัญ ใช่มั้ยท่านพระอาจารย์ ครับผม…ผมชอบธรรมดิบ เถื่อนๆ นี้จัง

“หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี กล่าวว่า หิริ โอตฺตปฺป นี้เป็นธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของศีล เป็นต้นตอของศีล

ผู้จะมีศีลได้ ไม่ว่าจะเป็นศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 หรือศีล 227 ก็ตาม ต้องมีหิริและโอตฺตปฺป 2 อย่างนี้

เนื่องจากได้เห็นจิตของตนเห็นความนึกความคิดความปรุงจิตของตน แล้วก็กลัวบาป ละอายบาป จึงไม่อาจจะทำความชั่วได้ ฉะนั้น ศีลก็บริสุทธิ์เท่านั้นเอง”

>> ลูกศิษย์ 2 : สาธุครับพระอาจารย์ โดนใจจริงๆ และผมก็เคยมีความคิดแบบนี้เหมือนกัน ไม่จับเงินทางใจ แต่ทางกายใช้ตามเหตุและผล อย่างเรื่องปลงอาบัติของพระเหมือนกันปากว่าไปงั้น แต่ก็ยังทำเหมือนเดิม มันจะได้ประโยชน์อะไร

<< พระอาจารย์ : ฮือๆๆๆ ปาดน้ำตาไป ยิ้มปลื้มใจไป อ่านคำชมของหมู ของเป็ด ของน้องๆ ไป ใจมันพองโต ที่ไม่มีใครมาถือสา กับภาษารั่วๆ ฮือๆๆ

ข้อศีลที่ น้าหมูนำมาสาธุคุณ ของหลวงปู่เทสก์ นี่แหละ เป็นศีลแห่งวิมุติศีล ศีลจะมีกี่ร้อยกี่พันข้อ ก็อาศัย การมีสติที่มี หิริโอตัปปะ

ผู้ที่มี หิริโอตัปปะ เป็นที่ตั้งแห่งจิต มีสติ ตรองพิจารณาในสิ่งกระทบทางอินทรีย์ ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐ ท่านเรียก บุรุษเช่นนี้ว่า พระ โสดาบัน..

พระโสดาบัน ท่านใช้กำลังใจเล็กน้อย คือท่านมีที่ตั้งแห่งใจ ในความละอายชั่วกลัวบาป อย่างมีปัญญา ท่านไม่งมงาย ในสิ่งเหลวไหล เท่าที่ปัญญาจะอนุเคราะห์

ท่านไม่สงสัย ว่าเราไม่ชอบอะไร ในข้อศีลฉันใด ผู้อื่นก็ไม่ชอบฉันนั้น เมื่อมีผู้ชี้ทาง ได้พบกับสัตบุรุษ ท่านมั่นใจ ว่าเมื่อไหร่ที่กายแตก ท่านไปสว่างแน่ นรกไม่ได้แอ้ม

นี่…ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ เข้าถึงเครื่องร้อยรัดจิต ในสามประการได้ คือวางจากเครื่องร้อยรัดแห่งจิตได้ เรียกว่า จิตมันวางสังโยชน์ได้ สามประการ คือ

1. มั่นใจ ไปสว่างแน่

2. ไม่สงสัย ในความเป็นจริง แห่งธรรมที่ประจักษ์ใจ จากสัตบุรุษ

3. ตัดความงมงาย ได้หลายๆ เรื่อง เพราะมันประจักษ์ใจจริง

นี่..มนุษย์ขั้นศีล เรียกตามบาลีว่า พวก สัตตักขัตตุง มาโง่เกิดอีกไม่เกิน 7 ครั้ง แต่ต้องประครองใจ รักษาสตินี้ไว้ จนกายแตกนะ

>> ลูกศิษย์ 1 : ละสักกายทิฏฐิ ล่ะครับ พอจ.อธิบายให้กระจ่างสว่างแจ้งหน่อย ครับ นี่แหละคือสิ่งที่ผมปรารถนา และกำลังบำเพ็ญโสดาปัตติมรรคอยู่ แต่ไม่รู้จะเป็นผลเมื่อใด ครับผม

<< พระอาจารย์ : การละ สักกายทิฏฐิ ไม่ใช่ เอาตัวตนเข้าไปละ น้าหมู ที่ท่านบอกว่า การตัดสังโยชน์ ได้ สามประการ ไม่ใช่ เราเอาตัวตนเข้าไปตัด

เราเอาตัวตน ความคิดเข้าไปตัด มันก็ไปขัดหลักและกฏแห่ง อนัตตา มันไม่ใช่ธรรม ธรรมะคือ ความธรรมดาที่มันมีและมันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง

ท่านแค่สาธยายเรียก อาการ ของจิต ที่เข้าถึงการปล่อยวาง อุปาทานแห่งเครื่องร้อยรัด ว่าจิตที่เป็นประเภทนี้ เป็นจิตที่ตัดสังโยชน์ได้ สามประการ

ไม่ใช่เราเป็นผู้ตัด หรือเราผู้เป็น หรือเราผู้บรรลุโสดาบัน วิถีพุทธ ไม่มีใครบรรลุ อะไรตามที่เขาเขียนเขาว่ากั

ชื่อเรียกที่เขาเขียนเขาว่ากัน มันเป็นชื่อเรียก อาการแห่งจิต ที่มันวางอุปาทาน

คือบุรุษเช่นนี้ ท่านมีที่ตั้งแห่งใจ โดยไม่คลอนแคลน ที่ไม่คลอนแคลนใจ เพราะมันประจักษ์ใจ ว่าแท้จริง มันเป็นของมันเช่นนี้เอง

อาการ ที่รู้ว่า มันเป็นอาการ มันเป็นของมันเช่นนี้ เช่นนั้นเอง มันเป็นอาการของจิต เพียงแต่ โปรแกรมเสือก มันดันเข้าไปเป็นเจ้าของ

เพราะจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนรู้ มันก็รู้มันอยู่เช่นนั้น ท่านจึงมีที่ตั้งแห่งใจ ในสามประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส

ท่านกล่าว ในเชิงของอาการจิต แต่เรารุ่นหลัง ดันเอาตัวเข้าไปเป็น การบรรลุก็คือ มันประจักษ์ใจประจักษ์จิต มันมีกำลังเห็นชัด ว่าเป็นเช่นนั้น

ความละอายชั่วกลัวบาป จึงพึงมีเกิดขึ้นกับจิตใจ เพราะเหตุแห่งการได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เมื่อได้ฟังธรรมตรงตามความเป็นจริง

มันก็จะมีความเห็นตรง จิตก็จะเกิดศรัทธา คือเชื่อในเหตุ ในผลที่ประจักษ์ เมื่อเกิดศรัทธา มันก็จะเกิดการพิจารณา ผู้พิจารณาก็จะมีสติ ระลึกได้ ตรงตามความเป็นจริงตามเหตุ ตามผล

ผู้ที่มีสติ ก็จะมีการสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตา หู ลิ้นฯ ผู้ที่สำรวม ก็คือผู้ที่มีศีล การสำรวม ในอินทรีย์นี้ มันจะสำรวมทั้ง ทางกาย วาจา ใจ

การสำรวมนี้ ไม่ใช่ความหมายว่า เป็นคนนิ่งๆ เฉยๆ เรียบร้อย แต่หมายถึง ผู้มีสติที่ไม่ทุศีล เพราะผู้ทุศีล เรียบร้อยยังไง มันก็ทุศีล

การแสดงออก ไม่ใช่ว่าเป็นตัวตัดสิน ว่าดีหรือเลว ตัวดีเลว โน่น..อยู่ที่ใจที่มันมี หิริโอตัปปะโน่น ใจที่มันละอายชั่วกลัวบาปโน่น ถึงจะเป็นใจที่มีศีล

ไม่ใช่ ทำตัวเรียบร้อยแล้ว แปลว่าเป็นผู้มีศีล โจรมันก็แสดงท่าทางเรียบร้อยได้ มีเยอะแยะไป โจรตามวัดวาอาราม กายเรียบร้อย แต่ใจทุศีล มีเยอะแยะ

ท่านที่จะมีหิริโอตัปปะได้ ท่านเป็นผู้มีสติ และมีสติ ที่มีปัญญา รู้ชัดเห็นตรง ตามความเป็นจริง ตามปัญญาที่พึงมี จึงเรียกท่านเหล่านี้ว่า พระโสดาบัน 

พระโสดาบัน เป็นมนุษย์ขั้นศีล ที่ใช้กำลังใจเพียงเล็กน้อย คือ มั่นใจว่าชาตินี้ ตายเมื่อไหร่ ไปสว่างแน่ ด้วยญาณทัศนะ ไม่ลังเลสงสัย ในธรรมที่ประจักษ์ ใจ

ลดความงมงาย ที่โลกเขานิยม ตรงตามความเป็นจริง นี่..เป็นชาวบ้านชั้นดี เรียกว่า ชาวบ้านขั้นศีล ท่านยกย่องว่า นี่คือ พระโสดาบัน เป็นประเภท สัตตักขัตตุง มาเกิดอีกด้วยความโง่ ไม่เกิน 7 ครั้ง

ถ้าใจละเอียด มีปัญญาสูงขึ้นหน่อย เรียกว่า โกลังโกละ กลับมาเกิดไม่เกิน 3 ครั้ง

หากมีความตั้งมั่น วางอะไรได้มากขึ้น ก็กลับมาเกิดอีกเพียง ครั้งเดียว เรียกว่า เอกพิซี

นี่..เป็นจิตที่ท่านเรียกว่า ตัดสังโยชน์ได้ สามประการ เป็มนุษย์ขั้นศีล เรียกว่า พระโสดาบัน ใช้กำลังใจเล็กน้อย

นางวิสาขา อายุ 7 ขวบ ฟังธรรมเรื่องศีลแค่ครั้งเดียว ใจเข้าถึงเลย ไม่เห็นว่า จะต้องวาดลวดลาย อะไรตามที่ใครๆ เขาว่า ให้ยุ่งยาก

พวกเราอายเด็กมันรึเปล่า เด็กก็คือเด็ก 7 ขวบนี่ เด็กแน่ เขายังเข้าถึงได้ แสดงว่า ไม่ได้ใช้กำลังใจอะไรมากเลย

ที่เขาโม้ๆ กันตามตำรานั้น เขาชี้ให้คนยึดมาก มันเข้าใจ ว่าที่ยึดๆ ไว้นั้น มันสมมุติ ปลงๆ ลงซะมั่ง เอาตามตำราก็ไม่ต้องเข้าถึงธรรมตามความเป็นจริง

เพราะเขาอธิบายชี้ แต่พวกฉลาดหลาย ดันเอาตัวเข้าไปเป็น ก็เลยพากันนึกคิดว่า วันนี้ฉันจะตัด สังโยชน์ให้ได้

ใครมันจะไปตัดได้ มันเป็นเรื่องวางอุปาทานแห่งจิตโน่น เมื่อใจมันประจักษ์ และมีสติประคองใจไว้ ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี และเจริญรักษาความดีนั้นไว้ด้วยสติ ให้มันยิ่งๆ ขึ้น

ตายเมื่อไหร่ หากประคองไว้ได้ และมีปัญญาเพียงแค่นี้ ท่านเรียกใจดวงนี้ว่า พระโสดาบัน ไม่ใช่ ใครจะบรรลุ พระโสดาบัน อย่างความหมายตามที่เราเข้าใจ

แต่พระโสดาบันก็เป็นอาการแห่ง อวิชชา

พระสกิทาคามี ก็เป็นอาการแห่ง อวิชชา

พระอนาคามี ก็เป็นอาการแห่ง อวิชชา

ส่วนพระอรหันต์ เป็นผู้รู้จัก อาการแห่ง อวิชชา

เรา…ไปสู่ภูมิแห่งอรหันต์โน่น เป็นกันทำไม แค่ภูมิ โสดาบัน และทุกคน เป็นได้ทั้งนั้น ไม่เกี่ยวหัวถากหัวดำ ปัญหาคือ มีสติปัญญา ภาชนะถอดถอนตัวตนพอหรือเปล่

คืนนี้ โม้มามากหลาย ดึกมากแล้ว ขอสวัสดีทุกคน สาธุครับ..

วันที่ 6 มีนาคม 2557