ร่องทางแห่งสัจธรรม

ร่องทางแห่งสัจธรรม

948
0
แบ่งปัน

เช้าวันจันทน์นี้เรามาว่ากันถึงเรื่องราวความหมายแห่ง คำว่าสัจธรรม นี่..ว่ากันตามผัสสะที่คุยกันในหน้าเฟส เรามาลองฟังกันดู

คนไม่สนใจเรื่องเหล่านี้ มันก็ว่ายาวไป คนไทยมันขี้เกียจอ่านอยู่แล้ว ชี้ให้คนใฝ่ธรรมและขยันหน่อยเขาฟังกันน่ะ

>> Vikrom Faimatar : เราต้องพิจารณาดูถึงผลของ การกระทำนั้นๆ สิครับ ว่าสุดท้ายปลายทาง แล้วเรากำลังเดินถูกทางกับที่ตั้งมั่นไว้หรือ ไม่ คนหลงนะระหว่างเดินทางอยู่ มักจะมองไม่เห็นแต่เมื่อเดินไป สุดทางแล้วจึงรู้ว่าที่เดินมานั้น ผิดทาง

ดังนั้นการ พิจารณาให้เห็นถึงสุดทาง ที่สุดแห่งการกระทำ จึงทำให้เราเห็นความจริง ตามความจริง อย่างที่เป็นจริง ท่านว่าจริงหรือไม่ครับ

ลองพิจารณาดูนะครับ เมื่อรู้ว่า หลงจะควรจะเลิกทำเสีย เพราะถ้าฝืนเดินต่อไป ก็เท่ากับ ยังคงเดินทางหลงอยู่ แล้วถ้าไม่มีการพิจารณา ให้สุดโต้ง ก็จะมองไม่เห็นความหลง ท่านว่าไหม

<< พระอาจารย์ : ตราบใดที่ยังมีการเดินทาง ขึ้นชื่อว่าไม่หลง…ไม่มี

>> Vikrom Faimatar : อริยมรรค ครับท่าน ที่พิจารณาอย่างละเอียดอ่อน รอบครอบ ถี่ถ้วน ในทุกๆ ด้านครับ

<< พระอาจารย์ : รู้ชื่อหัวข้อ แต่ไม่รู้ว่าอะไรคืออริยมรรค มันก็เดินอย่างหลงอีกนั่นแหละ

>> Vikrom Faimatar : ที่พิจารณาอย่างละเอียดอ่อนรอบครอบ ถี่ถ้วน ในทุกๆ ด้าน ตามสัจธรรม คือความจริงแห่งการกระทำ

<< พระอาจารย์ : เราก็ว่าไปได้เรื่อยเปื่อย เอาความจริงของธรรมชาติคนซิ จะมีใครมันพิจารณาอย่างละเอียดอ่อนรอบครอบ ถี่ถ้วนในทุกๆ ด้าน

และอะไรคือ สัจธรรม อะไรคือความจริงแห่งการกระทำ มันเป็นคำพูดเรื่อยเปื่อยไปตามอักษร โจรมันก็พูดได้

สิ่งที่พูดนี่ มันเป็นหัวข้อทางความรู้ มันไม่ใช่ความจริง คนที่อ่านมาจำมา มันก็ว่าหัวข้อมันไปเรื่อย แต่ไม่เข้าใจในภาษาคำอะไร

ที่สำคัญ… ความจริงที่คิดว่าเข้าถึง มันก็เป็นสมมุติอีก ตรงไหนละที่เรียกว่า สัจธรรม

สัจธรรมก็เป็นสมมุติอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องมือชี้ไปสู่อีกจุดหมายหนึ่ง

ไม่ใช่จะหยุดตรงสิ่งที่ยึดว่าเป็นตัวสัจธรรม

สัจธรรมน่ะ เป็นชื่อเรียก เป็นสมมุติเรียกอาการ

ความจริงทั้งหลายน่ะมันไม่มี ที่มีเกิดจากสมมุติ

และเราก็ต้องไหลไปกับสมมุติ ตราบใดที่ยังมีกายสงขาร

การออกจากสมมุติ คือความเข้าใจ ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมันเป็นสมมุติ

ไม่ใช่ว่า หลุดลอยหายไปจากสิ่งสมมุติ ไม่ต้องเอาสมมุติอีกแล้ว

นี่ถึงจะได้ชื่อว่า หลงน้อยลง แต่ก็ยังหลงอยู่นั่นแหละ ตราบใดที่ยังมีการปรุงแต่งของสังขาร

แต่ผู้รู้ท่านอยู่กับหลงได้น่ะ มันไม่เดือดร้อน

>> Vikrom Faimatar : (สัจจธรรม) ความจริงแห่งการกระทำ คือ ใครก่อกรรมอันใดไว้ย่อมได้รับ กรรมนั้น กระทำดี ได้ดี กระทำชัว ได้ชั่ว ไม่ว่าจะนานเพียงไร กรรมก็ จะตาม สนองจนกว่า จะรับผลแห่งกรรมนั้น (นั้นคือกฏแห่งกรรม) และอโหสิกรรม ไม่จองเวร ก่อกรรมต่อ อันเป็น ผล ให้ ต้องตามไป ชดใช้ กัน ไม่รู้จักจบสิ้น

เมื่อ พระพุทธเจ้า ทรงเห็นแจ้ง สัจจะธรรม ดังนั้น ท่าน จึง กำหนดหลักการปฏิบัติ แห่ง การกระทำดี ไว้ เป็นแนวทาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อเห็น เป็นเช่นนี้ ทุกศาสนา ที่ เห็นแจ้งสัจธรรม จึง สอนให้คน เป็น คนดี เพื่อไม่ให้ หลง ไป กระทำในสิ่งไม่ดี

เป็นความชั่ว อันเป็นการก่อทุกข์ ทำให้ ต้อง ตกลง ในกฏแห่งกรรม ต้องมาเวียนวายตายเกิด เป็นวัฏจักรแห่งกรรม และต้องมารับผลแห่งการกระทำ ในวัฏสงสาร ทั้งหลาย ที่ได้กระทำไว้ สิ่งเหล่านี้ คือ สัจธรรม

<< พระอาจารย์ : พระพุทธเจ้าน่ะ ท่านเห็นแจ้งในสัจธรรม แล้วท่านนั้นเห็นแจ้งรึยัง ว่าสัจธรรมคืออะไร

และคำว่า สัจธรรมนี่ ไม่ใช่ความหมายว่า ความจริงแห่งการกระทำอย่างที่เข้าใจแล้วว่ามา

คำว่าสัจธรรมนี่ มันเป็นความจริงอันเป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง ที่มันเป็นของมันตามเหตุปัจจัย ไม่งั้นการกระทำอันใดที่หลอกๆ ไม่จริง ปกปิด ซ่อนเร้น มันก็เป็นสัจธรรมด้วย

นี่ท่านยังวนเวียนอยู่กับ เหตุผลอันเป็นสมมุติอยู่เลย เอาสมมุติมาเป็นตัวสัจธรรม เพราะอาศัยการอ่านการฟังมา

มันเป็นหวานความรู้ ไม่ใช่เป็นผู้รู้ความหวาน

จะอธิบายยังไง มันก็เป็นแค่ว่าตามเขามา และแค่เข้าใจตามโลกเขาว่า ฟังที่ท่านว่ามานี่ มันเป็นเหตุผลของความกลัว กลัวผลจากการกระทำ เป็นเรื่องกฏแห่งกรรม

เรียกว่ากลัววัฏฏะ ไม่ได้เป็นเหตุผลว่า เข้าใจความเป็นวัฏฏะว่ามันเป็นของมันเช่นนี้

ไอ้กลัวนี่มันหลง ยกมรรคแปดมา แต่ไม่รู้ว่า อะไรคือมรรคแปด

เป็นแต่มรรคแปดที่เขาว่าๆ กันมา มีแต่หัวข้อ ชี้หัวข้อ แต่ไม่รู้จักซักหัวข้อ ว่ามันคืออะไร พ้นทุกข์อย่างไร ตรงไหน

ไอ้ที่ว่ามามันเป็นความเห็น มันถูกเท่าที่ปัญญามันเห็น และที่เห็นนี่ ก็จำๆ เขามา ว่าไปเรื่อยตามที่เห็น

พระองค์ชี้สัจธรรม โน่น..สัจธรรมอยู่ตรงโน่น ไม่ใช่อยู่ที่พระพุทธองค์

เอาการชี้มาเป็นสัจธรรม ท่านชี้ให้มองเห็นพระจันทร์ ไม่ใช่ให้เอาตัวชี้มาเป็นพระจันทร์

เห็นไหมนั่นพระจันทร์ และที่สำคัญ พระจันทร์มันอยู่ตรงไหน

นี่..เข้าใจไหม ท่านชี้ตัวสัจธรรม คือพระจันทร์ แม้มองตามการชี้เห็นว่านั่นคือพระจันทร์

แล้วพระจันทร์นั้นอยู่ตรงไหน นี่..ตัวสัจธรรมมันอยู่ลึกไปกว่าตัวพระจันทร์ ที่คิดว่าเป็นสัจธรรมอีก

ที่สำคัญยิ่งก็คือ พวกจำมา มันมองเห็นเป็นแค่พระจันทร์ มันตันอยู่แค่นั้นตามที่ท่านชี้

และมันเอาพระจันทร์เป็นตัวสัจธรรม โดยที่มันไม่รู้ว่า พระจันทร์นั่นแหละ เป็นตัวชี้ตัวสัจธรรมที่มัน ซ่อนลึกลงไป

พูดอย่างนี้คงงงกันตาย คนมีปัญญามันก็ตื้นๆ ละ คนหนาหน่อย มันก็งงๆ..

คำว่าสัจธรรมนี่ คงต้องขยายความกันกว้างและลึก

สัจธรรมตามความหมายที่ท่านเข้าใจนี่ มันเป็นร่องตื้น ที่ใครก็ว่าได้

สัจธรรมนี่ มันเป็นความจริงอันเป็นธรรมดา

หากไม่ลงไปยัดเยียดแห่งความคิด ด้วยทิฏฐิตัวตน มันก็เป็นสัจธรรมในตัวของมันเองอยู่แล้ว

แต่เมื่อบัญญัติขึ้นมา นี่ นั่น โน่น อะไรอย่างนี้ นี่เป็นสมมุติสัจธรรมทั้งสิ้น

และสมมุตินี้นี่ หากยึดไว้มันก็หลง นี่..เรียกว่าหลงในความเป็นสัจธรรมอีก

สรรพสิ่งล้วนสมมุติบัญญัติจากใจดวงนี้ สรรพสิ่งก็คือสมมุติอัตตา

เมื่อเป็นสมมุติอัตตา สัจธรรมทั้งหลาย ก็เป็นเครื่องมือสมมุติ

นี่..ต้องเข้าใจเหตุที่มาของคำว่าสัจธรรมก่อน

เมื่อว่ากันที่เหตุ ผลทั้งหลายมันก็จะเข้าใจได้ด้วยตัวมันเอง

ว่าสรรพสิ่งมันเป็นของมันเช่นนั้นเป็นธรรมดา

นี่เป็นความหมายแห่งสัจธรรม ที่เป็นความจริงอันเป็นธรรมดา

ส่วนการปรุงแต่งในความจริงแห่งความเป็นธรรมดา นี่ก็ว่ากันไป

และไอ้ตรงที่ว่ากันไปนี่แหละ เรียกว่าหลงในสมมุติที่ว่ากันไปทั้งดุ้น

แยกเป็นชั่วแยกเป็นดี แยกเป็นถูก แยกเป็นผิด ว่ากันไปตามสมมุติแห่งสัจธรรม

ไม่ใช่ไปเข้าใจว่า สัจธรรมคือความจริงแห่งการกระทำ การกระทำนี่ มันเป็นข้อปลีกย่อยของสมมุติแห่งตัณหาทั้งสิ้น เพื่อเดินทางไปสู่ตัวสัจธรรม

ธรรมที่เป็นความเห็น เป็นหลักการ มันเป็นธรรมที่คับแคบ ย่อมอึดอัดเป็นธรรมดา

ผู้แสวงหาธรรม ย่อมเจริญธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ในสิ่งที่ยังไม่รู้ไม่เห็น

อยากให้คนอื่นเข้าใจ มันก็ต้องเข้าใจคนอื่นด้วย นี่เป็นธรรมดา

เมื่อเปิดประเด็นมา การถกธรรม ก็ต้องว่าไปตามธรรม

มีผู้รู้ชี้ว่า นั่นคือต้นไม้ ผู้ชี้ ไม่ใช่ตัวสัจธรรม แต่เป็นต้นไม้ที่เป็นสัจธรรม

นี่.ธรรมมันไหลเป็นร่องมาเช่นนี้

ผู้ชี้จะเป็น ตำรา ครูบาอาจารย์ พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ต่างเป็นผู้ชี้

ผู้ชี้นี้ ไม่ใช่ตัวสัจธรรม เป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องการชี้

ธรรมก็คือการชี้ ธรรมนี้ ก็ไม่ใช่เป็นตัวสัจธรรม เพราะธรรมไม่ใช่ต้นไม้

ท่านชี้ให้เห็นต้นไม้ ธรรมทั้งหลายเป็นเครื่องดำเนินไปสู่จุดหมายคือต้นไม้

เมื่อว่าตามธรรม เราก็เห็นต้นไม้ ต้นไม้เป็นสัจธรรมอันหนึ่ง ที่โดนชี้มา ด้วยเครื่องมือแห่งธรรมและเป็นเหตุจากผู้ชี้ นี่..ต้องแยกแยะกันออกไป

ส่วนต้นไม้ที่เป็นสัจธรรมอันเป็นความเข้าใจ เมื่อมองมาตามธรรมที่ชี้ และเห็นต้นไม้

การเห็นต้นไม้ หากเข้าใจว่านี่คือต้นไม้ มันก็จะตีบตันและโง่ มาตันตรงต้นไม้อีก

เพราะต้นไม้นั้น มันอยู่ตรงไหนอีก

อยู่ที่รากหรือ อยู่ที่กิ่ง ที่เปลือก ที่กระพี้ ที่แก่น ที่ดอก ที่ใบ หรืออยู่ที่ตรงไหน ตรงไหนที่เราเรียกว่าต้นไม้ ต้นไม้อันเป็นตัวสัจธรรมตามที่เขาได้ชี้มา

นี่..ไหนละ สัจธรรมที่เดินตามมาตามร่องธารที่ท่านชี้ ว่าต้นไม้ที่ชี้นี้ มันคือสัจธรรม

สัจธรรมที่เรียกว่าต้นไม้นั้น มันคือสมมุติ ต้นไม้นั้น มันไม่มี

ที่มีมันเกิดจากสมมุติที่ใช้เรียกชื่อรวมๆ กัน ของราก ลำต้น กิ่ง ใบ แก่น ดอก ฯ

แล้วสัจธรรมอยู่ที่ กิ่ง ใบ แก่น ดอก หรอกหรือ..???

นี่..ไม่ว่าจะสาวผลลงไปแค่ไหน เราก็ไม่พบเจอตัวสัจธรรม

เพราะสัจธรรมเป็นนามสมมุติที่ใช้เรียกชื่อ ร่องทางเดินไปสู่จุดหมาย

และจุดหมายก็ไม่ใช่ตัวสัจธรรม จุดหมายนั้น เป็นแค่ผู้ชี้สัจธรรม ที่ซ่อนตัวอยู่ในจุดหมาย

นี่แหละๆๆๆ กฏ อิธิทัปปัจจยตา เมื่อไล่ไปจนครบกาลวนรอบวัฏฏะ

ท่านถึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท พอเข้าในวงล้อแห่งปฏิจจสมุปบาทไหม

ไม่ใช่ปฏิจจสมุปบาทที่คับแคบดิ้นไม่ออกอย่างในตัวบทตำราหนังสือที่ท่องๆ กันมาอยู่ร่องอย่างเดียว

นี่..ธรรมมันมีเส้นทางเดินกันไปเช่นนี้ ไม่คับแคบแค่จำแค่อ่านกันมาจนใครแทรกความเห็นลงไปไม่ได้

พระธรรมเทศนาจากบทธรรม เรื่อง ** รู้มากแต่โง่ก็เยอะแยะ ** ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง