มีชีวิตอยู่ห้ามทำอะไร เพราะจะเป็นการซ้อนกรรมเข้าไปอีก โหววว

มีชีวิตอยู่ห้ามทำอะไร เพราะจะเป็นการซ้อนกรรมเข้าไปอีก โหววว

721
0
แบ่งปัน

คำถาม : การทำบุญด้วยความอยากได้โน่นนี่ / การยึดติดในบุญบารมี

ทำให้ใจเกิดความตะหนี่ ทำบุญหวังผล เป็นอกุศลซ้อนกุศลหรือเปล่า

ธรรมกะ : ไม่เกี่ยวกันเลย ในการซ้อนอกุศลอะไรนี่

คิดเช่นนี้ซิ เป็นการคิดที่มองมุมแคบไป เป็นการคิดแบบลัทธิโบราณลัทธิหนึ่ง ของพวกเจลก ที่คิดว่า การทำอะไรก็ตาม เป็นอัตตา เป็นกรรมซ้อนกรรม

หากไม่ปล่อยวาง ว่างจากสิ่งอันเป็นกรรมคือความกระทำทั้งหลาย ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะให้ทุกข์ต่อไป ลัทธิเขาจึงไม่เอาไม่ทำอะไร วางทุกอย่างเป็นกลาง

หลายลัทธิแต่โบราณ ต่างก็แสวงหาโมกธรรม แสวงหาความพ้นทุกข์ แต่แนวทางการพ้นทุกข์ มักเป็นแนวคิดและดำริเอาด้วยอัตตาแห่งตน

เอาความว่าง การให้อภัย การโหสิกรรม ไม่ทำชั่วทั้งปวง เป็นธรรมอันเป็นเครื่องล่อ แต่ไม่สามารถอธิบายเหตุที่ซ้อนลึกๆลงไป เรียกว่า อิธทัปปัจจยตา

ปฏิจจสมุปบาทของลัทธิเหล่านี้ตื้น ไร้วงรอบแห่งกาล รู้ปฏิจจสมุปบาทแบบพระอานนท์รู้ และเข้าใจว่า ลัทธิตนนี้ ผู้นำเป็นผู้บรรลุ เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม่เอาอะไร อยู่ดำเนินมรรคด้วยการเปลือยกาย ธรรมทั้งหลายชี้แต่ผล และเป็นคล้ายๆกันทุกลัทธิ

เหมือนอย่างคำถามที่ถามมา เกี่ยวกับการทำบุญ ตรึกว่าการทำบุญ เป็นการสร้างอกุศลด้วยแนวคิดแห่งการหวังผล เป็นการซ้อนกรรมทางอกุศล ตรงนี้ไม่ถูก…

การทำบุญคือการทำความดีอะไรก็ได้ ทางกาย วาจา ใจ
เป็นเครื่องมือทำให้ใจเกิด ความอ่อนตัวลงมา ในอุปาทานตัณหาทั้งหลายที่เกิดจากใจ
ในการลดความตระหนี่ สละได้ ทั้งทาง กาย วาจา ใจ

การให้จะให้โดยหวังผลหรือไม่หวังผล มันก็มีวิบากตอบแทนของมันอยู่แล้ว ไม่ใช่จะไปให้นิยามการหวังผล มันจะเป็นกรรม

ส่วนความคิดนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นธรรมดาของใจในปุถุชนทั้งหลายไปยันอรหันต์ แง่มุมกำลังปัญญาย่อมไม่เท่ากัน

จะทำด้วยความอยาก ไม่อยาก หรือเฉยๆ มันก็ขึ้นกับเหตุปัจจัย
เหตุด้วยรำคาญก็มี ด้วยสงสารก็มี ศรัทธาก็มี โดนชักจูงก็มี
ทิฏฐิก็มี ตัณหาก็มี เยอะแยะ

จะมาบอกว่าเป็นกรรมซ้อนกุศลเพราะเหตุแห่งความหวังนั้นไม่ได้

คนทำบุญนั้นเป็นสาธุชนธรรมดา ไม่ใช่พระอรหันต์ที่จะทำบุญโดยไม่เอาอะไร

คนทำบุญแล้วตั้งจิตอยากได้นู่นี่เป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชน
ขอให้มีใจทำก่อนเหอะ จะหวังไม่หวัง ได้บุญได้อานิสงส์ทั้งนั้น

ทำแล้วไม่คิดอยากได้ กับทำแล้วอยากจะได้
มันต่างก็เป็นอาการกิเลสตัวเดียวกัน
คือมันเป็นเจ้าของอาการ

มันเป็นธรรมพื้นๆของเหล่าพราหมณ์ ที่เขาเข้าใจกัน
เอาตัวตนเข้าไปเป็นความเป็นเจ้าของ ความไม่มีอะไร ในการกระทำทุกอย่าง
ทั้งๆที่เหตุแห่งความเป็นเจ้าของ ก็ยังต้องการอะไร

คือความไม่เอาอะไร ในสิ่งที่ตนคิดว่าไม่เอาอะไร…

ความคิดว่า กูว่าง กูทำบุญไม่เอาอะไร นี่ไม่เรียกว่าทำบุญอย่างปุถุชน มันเป็นการกระทำไปตามหน้าที่ อย่างพระอริยเจ้า

เพื่อนทำอะไรดีๆ ให้เพื่อนโดยไม่หวังอะไร พี่ทำให้น้องโดยไม่หวังอะไร พ่อแม่ทำให้ลูกโดยไม่หวังอะไร นี่ก็เป็นการทำบุญที่ไม่หวังอะไร

แต่การทำบุญที่ไม่หวังอะไร มันเป็นความหวังให้เกิดความสุขใจ เป็นการให้ต่อคนที่เรารัก ต่อคนที่เราเห็นว่าเขาดี

แม้แต่จะให้แก่คนทั้งโลก โดยไม่หวังผลอะไร มันก็เป็นกรรมตัวหนึ่งด้านกุศล ที่เป็นวิบาก ส่งให้กลับมาเสวยผลแห่งความไม่เอาอะไร ไม่หวังอะไร เช่นเดียวกับที่หวังและปราถนาอะไร ในการทำบุญ เช่นเดียวกัน

เพราะนี่มันเป็นการกระทำแห่งอัตตาตัวตน ของความคิดเป็นเจ้าของว่า กูทำโดยไม่หวังผลอะไร

มันไปเป็นเจ้าของผู้หวังผล ที่จะไม่เอาอะไร เพราะเหตุแห่งอัตตาว่า มันเป็นการสร้างอกุศล ซ้อนลงไปในกุศลที่ตนได้กระทำ

นี่.. เป็นอาการกลัวกรรมที่มันจะมาซ้อนให้เวียนวนในวัฏฏะ ภาวะเช่นนี้ เรียกว่าหลงกับความคิดแห่งอัตตา ที่คิดเอา

ลัทธิเจลก หรือลัทธิเปลือย เขาก็คิดกันตื้นๆแบบนี้ เขาจึงไม่เอาอะไร ไม่ทำอะไร อยู่กับความว่าง และแนวคิด แห่งการ อโหสิกรรมเป็นสรณะ

เอาแต่ผลที่คิดอันเป็นอากาศ ไม่สามารถสาวผลนั้นลงไปหาเหตุ ที่ซ้อนๆลึกลงไป อันเป็นหนทางแห่งการ เผยโฉมธรรมอันเป็นสัจธรรมออกมาได้

ลัทธิพวกนี้ มีแต่ผลที่เป็นธรรม แต่สาวผลแห่งธรรมนั้นเข้าไปหาเหตุ อธิบายไม่ได้

ที่อธิบาย ล้วนเป็นเปลือกที่โบราณว่าๆกันมา แล้วใสความคิดเอาว่านั้นนี่

เอาตัวตนเข้าไปเป็นเจ้าของความคิดว่าและคิดเอา สาวไม่ถึงตัวอวิชา

เพราะสาวไปหาเหตุเมื่อไหร่ มันจะไปแย้งกับความคิดที่ว่า เป็นการกระทำที่เป็นกรรมซ้อนกรรม อัตตาซ้อนอัตตา

ไอ้ห่า..ความคิดแห่งธรรมเช่นนี้ มันเป็นธรรมเข้าข้างกิเลส และปัจจุบัน คนมันก็นิยมธรรมแห่งการเข้าข้างกิเลสนี้กันซะด้วย

ปฏิบัติโดยไม่ต้องปฏิบัติอะไร ว่างลูกเดียวลูก ปล่อยไปๆลูก โหสิๆๆ นะลูกน้า

โหวว…คงถึงนิพพานตายห่า นี่มันอัตตาที่เป็นสมุทัยทั้งแท่ง เพราะเป็นเจ้าของคิดเอาว่า ความว่างไม่เอาอะไร เป็นนิพพาน…อยู่แล้ว..!!

ธรรมกะ บุญญพลัง (ตอบปัญหาในห้องธรรม 19/6/58)