ปรมาจารย์ เว่ยหล่าง

ปรมาจารย์ เว่ยหล่าง

803
0
แบ่งปัน

นี่เขาส่งหนังจีนกำลังภายในของท่าน เว่ยหล่าง มาให้ดู แต่ที่นี่ดูไม่ได้หรอก

เมื่อพูดถึงท่าน เว่ยหลาง เราก็เอามาโม้กันซะเลยพอคร่าวๆ นะท่าน ดร.สุรเชต น้อยฤทธิ์

ท่านเว่ยหลาง หรือในภาษีจีนกลางเรียกว่า “ฮุ่ยหนิง”

เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 พื้นเพเป็นชาวมณฑลกว่างตง

บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการด้วยเรื่องอะไรก็ไม่รู้ และได้รับโทษเนรเทศ ไปอยู่เมืองซินโจว และถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆ อยู่

สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว แบะอยู่ด่วยกันสองแม่ลูกด้วยความยากลำบาก

ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา ที่แก่ชราลงทุกวันด้วยความขยันขันแข็ง

วันหนึ่ง ขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาด

พลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง มันช่างไพเราะ และกลมกลืนจับใจ

ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า

“พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ”

เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้ จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม

จึงถามชายคนนั้นว่า

“ท่านกำลังสวดอะไร”

“เรากำลังสวดวัชรสูตร”

“ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน”

“เราเรียนมาจากท่านอาจารย์ หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว

ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ”

ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจ และแสดงความประสงค์ ที่จะเดินทางไปเฝ้า พระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพระสูตรนี้

ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มาก จนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุน จึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่

และหลังจากที่ได้จัดแจง ให้มีผู้ดูแลมารดาแล้ว ท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที

ท่านใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย

เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหยิ่น ท่านก็ถามว่า

“เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร”

“กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์

และต้องการ หาหนทางความเป็นธรรมชาติ แห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย”

“เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน”

“ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่ กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้น แต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ไม่แตกต่างกันเลย”

ท่านสังฆปริณายกรู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านนอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรมระดับหนึ่งแล้ว แต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว

นี่..คนจีนเขาถือว่า เมื่อพบเพชร มันต้องนำไปหลบซ่อนและปกป้อง

เดี๋ยวต่ออีกหน่อย

วันหนึ่งท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียน “โศลก” โศลกนี่ก็คือวาทะวลีร้อยแก้วร้อยกรอง บรรยายธรรมคนละบทเพื่อทดสอบภูมิธรรม

“ชินเชา (ชินชิ่ว)” หัวหน้าศิษย์ เป็นผู้ที่ใครๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น

และมีหวังจะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ๆ ได้แต่งโศลกบทหนึ่ง เขียนไว้ที่ผนังว่า

“กาย คือต้นโพธิ์
ใจ คือกระจกเงาใส
จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์
อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ”

ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง

(แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพังบอกว่าชินเชา “ยังไม่ถึง” ให้พยายามต่อไป)

นี่..ความเป็นพระอาจารย์ ไม่ทำร้ายทำลายน้ำใจศิษย์ ต่อหน้าผู้อื่น

เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า ผู้แต่งโศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง

จึงแต่งโศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า

“เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์

ไม่มีกระจกเงาใส

เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น

ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร”

ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว จึงถามใครเป็นคนแต่ง

พอทราบว่าเว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่นๆ ว่า

“หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก”

แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียกเว่ยหล่างเข้าพบมอบบาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก

นี่..ประวัตตอนต้นๆ ของท่าน เว่ยหล่าง

นี่…เป็นวิถีเซน เขาเอาความหมายและเซน แสดงออกมาผ่านวาทะ ท่าทาง และใจ ต่อความเป็นไปในความหมายสมมุติของธรรมชาติ

การที่เห็นความหมายแค่เล็กน้อย แม้หมดจรดด้วยถ้อยความ

นี่…เป็นเรื่องแนวคิดและปัญญา นี่…เป็นแค่เข้าถึงความหมายแห่งธรรมชาติ

ของเหตุผล ที่อาศัยเหตุปัจจัยในห้วงคิด

แต่จิตที่ไม่ได้ฟอกด้วยปัญญาที่ตีอวิชชา อย่างแจ่มแจ้งแทงตลอดสาย

จะตัดสินใจโดยความหมายว่านี่.. เป็นผู้เข้าถึง สัจจธรรมสูงสุดแห่งวิถีพุทธะ

วิถีเซนนี้ คงเข้าใจอะไรที่ผิดๆ อยู่

นี่…ว่ากันตามความเห็นอย่างพระป่าๆ นะ ไม่ได้คัดค้านและเป็นศัตรูกับผู้นับถือเซน

แต่หากวิถีเซนเล็งความเห็นแห่งการเข้าถึงธรรมด้วยความเห็น แห่งความหมาย

เช่นนี้ คงเป็นได้แค่กิ่งหนึ่งของของกิ่งใบแห่งผู้มีปัญญาเท่านั้น

ข้าธรรมกะขอยืนยัน เอาวิถีแห่งเซนทุกตำรา มากางและโต้แย้งได้เลย

ความหมายแห่งเซนของท่าน เว่ยหล่าง ที่ท่านอาจารย์ หงเหยิ่น มองเห็น

เป็นภูมิธรรมปัญญาแห่งผู้เข้าถึงขั้นศีลแห่งมวลมนุษย์ชาติ

พระโมคลานะ พระสารีบุตรเมื่อได้ฟังธรรม ภาวะแห่งพุทธิจิต ก็เข้าถึงได้เช่นนี้

ท่านเว่ยหล่างก็เช่นกัน ท่านมีดวงตาเห็นธรรมในความเป็นจริงของประโยคที่ได้รับฟัง

ธรรมะนั้น เมื่อถึงเวลาสุกงอมตามกำลังบารมีและเหตุวิสัย

มันเป็นดุจผลไม้ที่สุกงอมพร้อมหอมหวาน ผัสสะแค่แผ่วลม ก็ร่วงหล่นลงมาให้ความสำราญ ให้ความหวานแก่เหล่าสรรพสัตว์อิ่มเอมแสนปรีย์ดา

ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นตรง แต่ยังคงประคองใจไม่ได้

ยังไหลไปตามกระแสแห่งอารมณ์ ก็ยังไม่เรียกได้ว่าเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม

แต่เมื่อเห็นธรรมแล้ว ประคองและสืบสารลงไปตามเหตุและปัจจัยแห่งผัสสะ

จนกายแตกสลายไปตามกาล

นี่ได้ชื่อว่าเป็นอาริยชน นับแต่ภูมิธรรมที่เรียกว่า พระโสดาบันไล่ไปถึงพระอรหันต์ ตามกำลังแห่งภูมิเลยทีเดียว

ไม่มีใครบรรลุอรหันต์ นี่เซนเข้าใจถูก แต่ความเป็นอรหันต์ใช้เรียกนามใจที่เข้าถึงความเป็นผู้เข้าถึงปัญญา ตรงตามความเป็นจริง

แม้ความเป็นจริงมันจะไม่เท่ากัน

แต่ทุกอย่างที่ไม่เท่ากัน มันก็ไปลงที่ความเป็นของมันเช่นนั้นเอง

พระธรรมเทศนาจากบทธรรม เรื่อง ” วิถีเซ็น ท่อนสี่ ” ท่อนที่ 2 ณ วันที่ 16 เมษายน 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง