วิถีเซน ตอนหนึ่ง

วิถีเซน ตอนหนึ่ง

575
0
แบ่งปัน

มีน้องๆ ที่ศึกษาวิถีเซน และเขาคิดเขาอยู่อย่างเซน ได้มาตั้งคำถามว่า วิถีเซนที่เขาดำเนินอยู่นี้ นิพพานได้ไหม…!!!

เรื่องเซนนี่ เคยฟังมาเหมือนกัน ว่าเป็นศาสนาของท่านมหา วีระ แต่ท่านมหาวีระนี่ เป็นศาสดาของเจนหรือเชน ก็ไม่รู้ว่าเป็นศาสนาเดียวกันรึเปล่า

พวกเชนนี่ มีวิถีอยู่กับความพอเพียงด้วยความว่างเปล่าเป็นเหตุ พวกเคร่งจัด แม้เสื้อผ้าก็ไม่ใส่

เกิดกำเนิดขึ้นมาพอๆ กับศาสนาพุทธ บ้างก็บอกว่าเป็นพุทธที่แยกตัวออกไป

ใช้วิถีคิดเอาผลปัจจุบันด้วยสติปัญญา ด้วยความเข้าใจง่ายและตรงๆ

สำหรับเซนนี้ ดูเหมือนว่า เป็นวิถีที่เรียบง่าย ใช้ปัญญาพลิกปัญหาอย่างแหลมคม

ในศาสนาพุทธเอง ก็มีลัทธินิกายที่เรียกว่า วิถีพุทธอย่างเซน

ใช้การดำเนินชีวิตอย่างพุทธ แต่ใช้วิธีคิดอย่างเซน

จริงๆ แล้วข้าเองมันแค่รับฟังน้องเขาพูด ไม่ได้เจาะลึกลงไปในรายละเอียด

เมื่อน้องมันมาให้เกียรติถามด้วยความอยากรู้ ในความเห็นต่าง เพราะเห็นว่าข้ามีปัญญา นี่…น้องมันให้เกียรติกัน

การคิดและพลิกผลที่ปรากฏไปสู่ความจริงอีกด้าน ที่คนทั้งหลายคาดไม่ถึง
และย้อนคำตอบให้ผู้ถามเป็นผู้คิดและตอบคำถามเอง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีพุทธ เป็นวิถีของคนที่มีปัญญา

ความเป็นปราชญ์ ความเป็นบัณฑิตนั้น ในวิถีพุทธ สำหรับผู้ที่อ่านมาก ฟังมาก ต่างก็มีวิถีการตอบและพลิกผันได้ไม่ต่างกับเซน

การมีปัญญามีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ เป็นอาการแห่งเปลือกของความจริงอยู่

ไม่ว่าเราจะมีปัญญาพลิกผันแค่ไหน มันก็เป็นแค่ความรู้

เข้ามรรคผลในความหมายแห่งพุทธนั้นไม่ได้

ที่เข้าไม่ได้เพราะความเป็นเจ้าของแห่งความรู้ทั้งหลาย มันมีอยู่เต็มประตูหัวใจ

นักบวชเซนที่มีอายุเยอะๆ ท่านจะอยู่ด้วยสติที่มีความว่าง

ท่านมองว่างทุกอย่างว่างเปล่าจากความหมายทั้งปวง

การมองเช่นนี้ ดูเหมือนเป็นผู้เข้าถึงความเป็น สูญญตา

แต่นักบวชเซนไม่รู้ว่า สูญญตาไม่ใช่ความว่างเปล่าจากความหมายทั้งปวง อย่างที่เข้าใจ ในแบบที่เขาเข้าใจ

อยู่อย่างเซนก็คือ อยู่อย่างมีสติ อยู่อย่างวิถีผู้มีปัญญาคิดตรง ถูกต้อง และยืนยันได้

ความหมายเช่นนี้น่ะมันถูก แต่เป็นการถูกอย่างเซน ไม่ใช่ถูกอย่างพุทธ

ความเป็นพุทธะนี่ ไม่ได้แช่อยู่กับปัจจุบัน

ที่ชี้ๆ กันว่าให้เราอยู่กับปัจจุบันนั้น เป็นคำชี้อย่างศาสนาเซน

พวกเรามันจำเขามาพูด ความเป็นครูบาอาจารย์ที่สักแต่ว่าพูดเพราะจำเขามา

ไม่ได้อธิบายอะไรเลยว่า ปัจจุบันนั้น คืออะไร

นี่..ชาวเซนนั้น ก็เอาความเป็นปัจจุบันอย่างเช่นที่โลกเขาเข้าใจนี่แหละ มาเป็นวิถีเครื่องดำเนิน

ผู้เรียนรู้ตามหลังมา จึงแยกไม่ออก ว่าอะไรคือปัจจุบันแบบวิถีพุทธ อะไรคือปัจจุบันแบบวิถีเซน

ยิ่งเหล่าครูบาอาจารย์ที่แหกปากสอน ให้ทุกคนอยู่กับปัจจุบัน

ตัวครูบาอาจารย์ ยังอยู่กับปัจจุบันยังไม่ถูกเลย

การชี้ทางเซนกับวิถีพุทธนี้ ดูว่าเป็นทางเดียวกัน เป็นผลเดียวกัน แต่เหตุไม่เหมือนกัน

ผลทั้งหลายที่ประจักษ์ วิถีพุทธ เกิดจากความเข้าใจที่สาวผลลงไปหาเหตุ ที่ลึกลงไป ตามเหตุแห่งปัจจัย นี่เป็นวิถีพุทธ

ส่วนวิถีเซน แสดงผลที่มาจากเหตุ แค่ชั้นเดียว รู้เรื่องและเข้าใจที่มาแห่งผลและเข้าถึงความเป็นเหตุและผลนั้น

เซนรู้ว่า ผลนี้คือทุกข์ เหตุคือสมุทัย

ผลนี้คือนิโรธ เหตุคือมรรค

นี่ ลัทธิเซนรู้กันแค่นี้ นี่เป็นหลักอริยสัจที่เป็นนิยามแห่งพุทธศาสนา

แต่เซนเขาไม่เรียก อริยสัจ เขาเรียกว่าเป็นหลักเหตุหลักผล

ที่น้องๆ ถามมา ว่าวิถีเซนเข้าถึงนิพพานได้ไหมนั้น ขอตอบอย่างเห็นตรงว่า รู้แค่หลักเหตุหลักผลแค่นี้ เข้าถึงความดับไม่ได้

ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ ที่เซนไม่รู้ลึกลงไปก็คือ

ทั้งทุกข์และสมุทัยก็คือผล เหตุแห่งสมุทัยและทุกข์ มันคืออะไร

นิโรธะเป็นผล มรรคเป็นเหตุ เซนไม่รู้ลึกลงไปว่า

ทั้งนิโรธะและมรรคก็คือผล เหตุแห่งมรรคและนิโรธ มันคืออะไร

และที่ลึกลงไป ทั้งเหตุแห่งมรรคและสมุทัย ก็คือผล เหตุที่ลึกลงไปจากเหตุแห่งมรรคและสมุทัย คืออะไร

และที่ลึกลงไปแห่งเหตุที่เป็นผลทั้งหลาย ที่เป็นเหตุแห่งผลที่เป็นเหตุของมรรคและสมุทัยนั้น คืออะไร

นี่..วิถีพุทธ ท่านชี้ลึกลงไปตามหลักเหตุหลักผลเช่นกัน อย่างที่เซนดำเนินวิถี

แต่ความลึกของการสาวผลและเหตุ มันดำเนินเรื่องราวแตกต่างกัน

เซนจบแค่เหตุผลในปัจจุบัน

พุทธจบเหตุและผลไปตามกาลแห่งเหตุปัจจัย ที่คล้องจองลึกลงไปตามกฏแห่งอธิทัปปัจยตา

คือสิ่งหนึ่งมี สิ่งหนึ่งก็มี สาวลึกลงไปวนจนครบรอบกาลแห่งวัฏฏะ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท จนเกิดปัญญาเข้าใจทั้งฟากเกิดและดับ ว่ามันเป็นธรรมชาติของมันเช่นนี้

วิถีพุทธชี้ ความหลุดพ้นที่ออกจากวัฏฏะ ทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต

เซนชี้ ความหลุดพ้น ที่เป็นปัจจุบันด้วยสติ แต่เป็นความหลุดพ้นที่วนอยู่ในวัฏฏะ

นี่เป็นความแตกต่างและชี้ให้เห็นวิถี ตรงตามความเป็นจริง

นี่คือความเป็น ”พุทธะ” นี่… คือความเป็นพุทธะแห่งบุญญพลัง

ชนผู้เป็นปัญญาธิกะ รู้ได้ฉับพลัน เพื่อก้าวไปสู่ความหลุดพ้นที่ไม่หวลคืน

นี่..ภาพที่แสดงนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งผู้มีปัญญา

สักติดกายแล้วก็ขอให้มีปัญญาดั่งเครื่องหมายตีตรานะไอ้น้องๆ ทั้งหลาย

เช้าแห่งวันเสาร์นี้ขอสาธุคุณ.

สัญลักษณ์เลขแปดนี่ มันวนเวียนไปมาไม่รู้จบ

ตรงนี้จึงนำแปดแห่งการ วนเวียนมาเป็นฐานของแปดแห่งองค์พุทธ

เป็นแปดเวียนวนด้วยโลกธรรมแปด ซึ่งเป็นแปดที่ต้องไหลเวียนอยู่ในวัฏฏะ

ส่วนองค์พระพุทธ เป็นแปดที่มีปลายแยกขาดจากการเวียนวน

ที่สุดแห่งการเวียนวน เป็นเศียรที่พุ่งมุ่งออกจากวัฏฏะ

นี่เป็นหนทางแห่งอริยมรรคแปด เป็นแปดเพื่อดำเนินไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ด้วยความเป็นองค์พระ

สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความหลุดพ้นด้วยปัญญา ด้วยหนทางแห่งมรรคแปด

แต่เราก็ยังอยู่ได้ในหนทางแห่งโลกธรรมแปด

มรรคแปดและโลกธรรมแปด มันอยู่ที่เราจะเลือกเดิน

พระธรรมเทศนาจากบทธรรม เรื่อง” สัญลักษณ์แห่งพระปัญญา ” ณ วันที่ 11 เมษายน 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง