สละกายใจ ถวายไว้ต่อแผ่นดิน

สละกายใจ ถวายไว้ต่อแผ่นดิน

805
0
แบ่งปัน

การใช้แรงกายในการสร้างกุศล นี่… มันต้องใช้กำลังใจสูง

ที่นี่ตอนนี้ แดดร้อนและแห้งอบอ้าวมาก ยากที่พวกเราจะฝืนกำลังสู้

แต่พวกเราต่างก็ขอสู้ สู้ทั้งๆ ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลย

การได้เค้นแรงกายแรงใจเพื่อชดใช้แผ่นดิน โดยไม่มีสิ่งตอบแทนกลับคืนมาให้เห็น ตามกิเลสต้องการ

เป็นการฝืนและทวนกระแสแห่งหัวจิตหัวใจมากยิ่งนัก

การทำทานที่ยิ่งใหญ่ คือทานที่ออกไปจากแรงกาย แรงใจ ที่ไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน

เรานำน้ำมารดทิ้งที่โคนไม้ รู้ไหม ผลมันเกิดที่ปลาย

แต่ผลนั้น ช่างแม่งมัน ขอให้ใจดวงนี้ ได้มีน้ำรดไปยังโคนไม้อย่างไม่หวังผลขอแค่นั้นเป็นพอ

แม้เราจากไป ไม้เพิ่งจะมาให้ผล เหล่าลูกหลานเขาก็ยังได้ยล

ผลจะหอมจะหวานมากน้อยเพียงไร ไม่เป็นไร

เราขอรดโคนไม้ไว้ แค่ลำต้นพอแตกรากใบ แผ่ร่มเงาสาดไสวให้แก่ลูกหลานได้

เราพอใจที่ได้มีส่วนในเงาไม้นั้นก็เพียงพอ

นี่..ผู้มีใจในกระแสแห่งจาคานุสติกรรมฐาน

ใจที่เป็นทาน ใจที่เสียสละ เป็นปกติที่ตั้งแห่งใจ

ย่อมเป็นไปแห่งผู้ดำเนินไปในเส้นทางแห่ง ทานบารมี

ทานบารมี เกิดจากการสละที่ยิ่งใหญ่แห่งใจและกายเรานี้

บารมีคือ “กำลังใจ” เป็นกำลังแห่งภูมิให้เกิดการเสียสละที่ยิ่งใหญ่

ใจเช่นนี้มีรากฐานมาจาก ใจที่ดำเนินในร่องแห่งที่ตั้งแห่งใจที่ยอมเสียสละ

ที่ตั้งแห่งใจในร่องครรลองนี้ที่ยอม้สียสละ เป็น จาคานุสติกรรมฐาน

จาคานุสติกรรมฐานนี้ เป็นกองกรรมฐานที่ยิ่งใหญ่ เป็นกำลังแห่งความเป็นไปในกองกำลังแห่ง สีลานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน เป็นกองกำลังใหญ่มีความเป็นไปให้เกิด เทวตานุสติกรรมฐาน

กรรมฐานสามกองนี้อาศัยเกิดกำเนิดขึ้นมาได้ภายในใจเรา

ด้วยการที่เรา มีสติทรงไว้ใน ..พุทธานุสติกรรมฐาน ธรรมมานุสติกรรมฐาน และสังฆานุสติกรรมฐาน

นี่ กรรมฐานทั้งหกกอง มันปรากฏขึ้นในใจเราผู้เป็นเจ้าของนักรบไทย ที่ยิ่งใหญ่ในสมรภูมิธรรม ที่เราร่วมรบกันมาด้วยอาวุธคู่มือ ที่เรียกกันว่า ยอมสละ

การที่เรามาชดใช้แรงกายแรงใจในการขนหินขนทรายเพื่อตอบแทนคุณ คืนสู่แผ่นดิน

เป็นยอดแห่งนักกรรมฐานในกองอนุสติทั้งหกในสิบกอง พวกเรารู้ไหม

กองแรกที่ทำให้เราหลั่งไหลออกแรงจนเหงื่อทะลักทะลวงพรั่งพรูออกมาจากกาย ที่ใช้ทดแทนคุณก็คือ พระพุทธองค์

นี่..เป็นจุดเริ่มแรกของเราที่มีสติระลึกได้ ก่อนที่จะมาร่วมกันสละแรงกายแรงใจ ในการทำกุศล

หากเราระลึกถึงพระพุทธองค์ เราจะให้ความหมายเป็น ผู้มีที่ตั้งแห่งใจ ในกอง พุทธานุสติกรรมฐาน

พุทธานุสติกรรมฐาน นี่… ถ้าว่ากันตามความเป็นจริง ตามกระแสแห่งพระป่าๆอย่างข้

จะแปลว่าเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าเรา นี่ ..มันก็ไม่ถูกนัก

การระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้านี่ เป็น สังฆานุสติ

กล่าวอย่างนี้ พวกจำเขามามันก็คงได้โจมตีข้ายกใหญ่อีก

พุทธานุสติ นี่.. เป็นการระลึกถึง ..พระปัญญา.. เป็นพระปัญญาแห่งภูมิองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนี้ เรียกว่า เป็นใจที่มีกองกรามฐานแห่ง พุทธานุสติ

ส่วนกองกรรมฐานแห่ง ..ธรรมมานุสติ.. เป็นการระลึกถึง พระธรรมดา

พระธรรมดาคือ ความจริงอันเป็นธรรมดาอันประเสริฐ ที่เป็นธรรมดาของมันเช่นนั้นเอง เราอย่าได้ไปเสือกกับมันนัก นี่เป็นพระธรรม

ไม่ใช่คำบัญญัติธรรมในตำรา อย่างที่เรายึดหาและเข้าใจ

คำบัญญัติธรรมในตำรา เรียกว่า สังฆา เป็นอัตตาสมมุติที่บัญญัตขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจ ในพระธรรมดา ในพระปัญญา

การระลึกถึงพระพุทธองค์เจ้า เป็น ..สังฆานุสติ.. หรือแม้แต่ระลึกถึงธรรมคำในตำราทั้งหลาย ก็เป็น สังฆานุสติ

ระลึกถึงพระสงฆ์องค์ได ก็เป็น สังฆานุสติ

สังฆานี่ ความหมายมาจากหมู่เหล่า ในสรรพสิ่งที่เป็นอัตตาสมมุติ

อะไรที่บัญญัตืสมมุติกันขึ้นมา เป็นวัตถุบุคคลสิ่งของ ล้วนเป็นอัตตาที่สมมุติขึ้นมาทั้งสิ้น

กล่าวอย่างนี้ สำหรับนักจำทั้งหลาย คงได้โต้แย้งกันชิ๊บหาย

แต่ไม่เป็นไร ข้าเห็นประจักษ์ใจในธรรมแห่งการแปลทั้งหลาย ว่าธรรมทั้งหลาย ที่แปลๆกันออกมา ข้าเห็นอย่างชัดเจนเช่นนี้จริงๆ

นี่..เป็นผู้ที่มีใจอยู่ในกองกรรมฐานทั้งสาม

คือ พุทธานุสติ

ธรรมมานุสติ

สังฆานุสติ

ผู้มีใจแห่งความมีที่ตั้งแห่งใจในกองอนุสติทั้งสามนี้ ย่อมดำเนินไปในกองกรรมฐานแห่ง

จาคานุสติ

ศีลลานุสติ

และเทวตานุสติ

นี่..หากระลึกถึงความตายขึ้นมาเมื่อไหร่ เขาไม่หวั่นไหวในการจาก ที่กายนี้ต้องสลายไป

ผู้ที่ระลึกถึงความตายอยู่เนืองๆ เป็นผู้มีใจอันเป็นที่ตั้งแห่งกอง มรณานุสติ

มรณานุสติอันมีฐานมาจาก พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ ศีลลานุสติ และเทวตานุสติ

ย่อมมั่นใจว่า ใจดวงนี้ กายแตกสลายลงไปเมื่อไหร่ เขาย่อมได้ในส่วนแห่ง “สุคติ” คือไปสู่ภูมิแห่งความสว่างแต่ฝ่ายเดียว

หากเขาประคองใจ ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี รักษาความดีนี้ไห้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

กายแตกเมื่อไหร่ ใจประคองได้เช่นนี้ เรียกว่า พระโสดาบันประเภท สัตตักขัตตุง กลับมาเกิดเผชิญทุกข์อีกไม่เกิน 7 ชาติ..

ข้าขี้เกียจจิ้มแล้ว มีอะไรมาคุยกันซึ่งหน้าเลยดีกว่า

รายละเอียดปลีกย่อยแห่งธรรมมันมีเยอะ เอากันแค่หอมปากหอมคอ

วันนี้คงต้องขอสวัสดี

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง ” กำลังใจแห่งผู้มีกำลังบุญ ” ณ วันที่ 17 มีนาคม 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง