รู้ธรรมปฏิบัติ ต่างจากรู้ธรรมจากตำรา

รู้ธรรมปฏิบัติ ต่างจากรู้ธรรมจากตำรา

636
0
แบ่งปัน

ลูกศิษย์ : ติดตามอวิชชาของท่าน ได้รสชาติที่ยอดเยี่ยมที่สุดเลยครับผม กระผมได้สดับมาดังนี้ครับกระผม

ขอยก ตา รูป หู เสียง ขอยกมา ๒ อายตนะใน-นอก ตา ชายหนุ่ม ถึงเข้ากับ รูปคือญิงสาวสวย และ อีกคราวหนึ่ง ตาชายหนุ่มถึงเข้ากับ รูปหญิงชรา หรือถึงเข้ากับก้อนหิน

“รูป” เป็นหญิงสาวสวยนั้น เป็นรูปทีมีความหมาย และเป็นรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอวิชชา โดยธรรมชาติ ตา ก็มีโดยธรรมชาติ อวิชชาก็มีโดย ธรรมชาติ

“ทีเด็ด” ตา ชายหนุ่มถึงเข้ากับ รูป หญิงสาวสวย อันเป็นรูปที่มีความหมายตามธรรมชาติกับเขา และเป็นทีตั้งแห่งอวิชชาโดยธรรมชาติ เกิด จักขุวิญญาณ ภายใต้อำนาจ อวิชชา
เรียงลำดับได้ดังนี้

อวิชชาปรุงแต่งให้เกิด สังขาร
สังขาร ปรุงแต่งให้เกิด จักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณ ปรุงแต่ง นามรูป เป็นนามรูปที่พึ่งเกิดใหม่ ภายใต้อำนาจ อวิชชา และจะดำเนินปรุงแต่งต่อไปจนตลอดสายของ ปฏิจจสมุปบาท เรียงลำดับได้ดังนี้

อวิชชา – สังขาร สังขาร – จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณ – นามรูป
นามรูป- สฬายตนะ สฬายตนะ- ผัสสะ ผัสสะ- เวทนา เวทนา- ตัณหา ตัณหา- อุปาทาน อุปาทาน- ภพ ภพ- ชาติ ชาติ- ทุกข์ และดับลงในที่สุด

ส่วนตาชายหนุ่มถึงเข้ากับรูปคือ หญิงชราหรือก้อนหิน ซึ่งเป็นรูปที่ไม่ได้มีความหมายและไม่เป็นที่ตั้งแห่งอวิชชาโดยธรรมชาติ เกิด จักขุวิญญาณ เช่นกัน แต่อวิชชาไม่มี อวิชชาดับ จึงดับตลอดสายของปฏิจจสมุปบาท ไม่เกิดทุกข์

การเห็นครังนี้เป็นการเห็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติไม่เกิดมีอวิชชา จึงเป็นการเห็นชนิด เห็น -สักว่า-เห็น สำหรับ หู และเสียง

เสียงที่มีความหมายและเป็นทีตั้งแห่งอวิชชาตามธรรมชาติคือ เสียงหวานจากหญิง ถึงเข้ากับหูชายหนุ่ม เป็นต้น
เสียงที่ไม่ได้มีความหมายและไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งอวิชชาตามธรรมชาติคือ เช่น เสียงนกร้อง เสียงไก่ขัน เป็นต้น

สรุป : ความเกี่ยวข้องกันตามธรรมชาติ ของอายตนะภายในเช่นตา หู จมูก กับ อายตนะภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น เป็นต้น นั้น เป็นตัวปรุงแต่งให้เกิดอวิชชา

พระธรรมนำมาแห่งอายตนะ ภายในและภายนอก การถึงกันเข้าของ แต่ละคู่ ใน แต่ละครั้ง ของอายตนะ ใน-นอก บางคราว เป็นเหตุแห่งการเกิดอำนาจของ อวิชชา ปรุงแต่งต่อไปจนถึงทุกข์

พระอาจารย์ : คำอธิบายธรรมร้อยเรียงของ ท่าน รร. อนาคามิมรรคนั้น เข้าใจความกมายแหางอวิชาไม่ถูก อาการทั้งหลายที่กล่าวมา เป็นอวิชาทั้งนอกและในนั่นแหละ

เมื่อผัสสะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหญิงสาวที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ

จะเป็นหญิงชรา จะเป็นก้อนหินหรืออะไร

พวกนี้ล้วนเป็นอาการแห่งอวิชชาทั้งนั้น ไม่มีอะไรดับ มีแต่ก่อ

ที่ท่านกล่าวมาน่ะ หากให้แคบลงไปอีก มันเป็นกระบวนการแห่งนามขันธ์

อาศัยผัสสะกระทบ ผลเป็นเวทนา และอาศัยกันมาเป็นผล

จะพอใจหญิงสาวหรือเฉยๆ กับก้อนหิน มันก็เป็นอาการของอวิชชา

เพียงแต่ ในหญิงสาวที่พอใจในรูป มันมีความทะยานอยาก เรียกว่าภวตัณหามันเจือมากหน่อย

ส่วนก้อนหิน มันมันเป็นรูปที่ไม่รู้ไม่ชี้ต่อทิฏฐิ ตัณหาความอยากมันก็น้อยลง

แต่ถ้าเป็นผู้กำลังแสวงหาก้อนหินสวยๆ หินที่เป็นธรรมชาติธรรมดาเหล่านั้น มันก็เป็น ภวตัณหาเช่นกัน คือความทะยานอยาก ที่จะไขว่คว้าให้ได้มา

ที่ท่านยกตัวอย่างอุปมามานั้น กว้างไป มีช่องโหว่ให้สงสัยเยอะ

จะเรียงให้ใหม่ เพราะที่ท่านร้อยเรียงมานั้นมันเอาหัวข้อเขามาเรียง มันไม่ถูกกาล ท่านเอากระบวนการแห่งอวิชาไปเป็นเจตสิก

ตาชายหนุ่มเข้าถึงรูป ที่บอกว่าเกิดจักขุวิญญาณนั้น มันผ่านกระบวนนามขันธ์การเรียบร้อยไปแล้ว จึงรู้ในสิ่งที่เห็น

นี่ มันเป็นเวทนาไปโน่นแล้ว

เมื่อเป็นเวทนา ตัณหามันก็เกิด

อยากก็ตัณหา

ไม่อยากก็ตัณหา

เฉยๆ ก็ตัณหา

ที่เป็นตัณหาเพราะมันผ่านกระบวนการปรุงของมันมาเรียบร้อยแล้ว

ที่กล่าวว่า การเห็นหญิงสาวที่เกิดพอใจรูป เป็นอวิชชา

การเห็นก้อนหินหรือหญิงชรา ไม่ใช่อวิชชา อวิชชาไม่มี

นี่มันเอาตัณหาไปเป็นตัวอวิชชา

และที่สรุปมานั้นก็ไม่ถูกอีก อายตนะภายในนอก เป็นตัวปรุงแต่งให้เกิด อวิชชา

อวิชชาซิ เป็นตัวปรุงแต่งให้เกิด อายตนะภายในภายนอกถึงจะถูก

เหตุแห่งอายตนะภายในนอก มันคือนามรูป

เหตุแห่งนามรูป คือวิญญาณ

เหตุแห่งวิญญาณคือ จิตสังขาร

เหตุแห่งจิตสังขารคือ อวิชชา นี่ว่ากันตามตำรา

อวิชชาไม่ใช่ความถูกใจ หรือไม่ถูกใจ หรือเฉยๆ

เหล่านี้มันเป็นกิเลส เป็นอาการของจิตที่ยังไม่ได้ฟอกให้เห็นความจริงแห่งสัจจธรรม

ปัญหาขอชาวพุทธเราก็คือ จับตำราที่อ่านมาตีความด้วยการนึกคิดเอา อย่างเรื่องที่ว่าที่กล่าวมานี้ เอาความถูกใจไม่ถูกใจ ชอบใจไม่ชอบใจ มาเป็นอวิชา

สิ่วเหล่านี้มันเป็นกิเลส เป็นอาการของใจ ใจมันก็เป็นอาการของจิต และจิตก็เป็นอาการของอวิชา

นี่เราเข้าไม่ถึงภาวะแห่งความหมายสมมุติบัญญัต เราจึงเอาความคิดเข้าไปตีและเข้าใจเอาเองว่า มันเป็นอย่างนี้ๆๆๆ เพราะอาศัยเข้าใจตามตำรา

ตำรานั้นมีไว้เพื่อเป็นแนวทาง เมื่อปฏิบัติรู้แล้ว จะได้นำมาเทียบเคียง ว่าที่รู้ที่เห็น มันไม่หลุดออกไปจากแนวทาง

บางคนมาเพ่งโทษธรรมกะ ยกตำราที่เขาเขียนกันมาทั้งดุ้น มาฟาดฟันธรรมกะซะนี่ บอกว่าตำราเขาเขียนว่า ให้เราเอาสิ่งที่พูดที่คิดที่ทำที่ปฏิบัติ ไปเทียบเคียงตำรา หากผิดไปจากตำรานี่ ไม่ใช่

ไอ้การเทียบเคียงน่ะถูก แต่ไม่ใช่เข้าใจความหมายอย่างเด็กน้อยเช่นนั้น โดยการเอาภาษาอักษรการชี้ ไปเทียบกันเป็นประโยควลีแบบบาลีอย่างนั้น

ทำและคิดอย่างนั้น มันโง่หลายและอวดโง่ให้ใครเขารู้ไปทั่ว ว่าเป็นคนปัญญาอ่อนทางธรรมเอามากๆ

ที่เขาให้เทียบเคียงนั้น เขาให้ดูภาพรวมว่าสิ่งที่กล่าว มันมีแนวทางมีเหตุมีผลตรงตามหลักสัจจธรรม ที่อธิบายกันมาอย่างหลากหลายหรือเปล่า

นี่..เขาให้ความหมายอย่างนี้ ภาษามันไม่เหมือนแต่ความหมายนั้น เป็นไปในร่องธรรมของผู้เห็นธรรมทางพุทธเขากล่าวมา ไม่ได้ฉีกออกไปจากตำราด้วยเหตุผลแห่งตัวตน

เพราะธรรมก็คือธรรม การให้ความหมายนิยามต่างกัน ผู้รู้ธรรมเข้ามาฟังเข้ามาอ่าน ท่านก็รู้โดยปัญญาญานตรงตามความเป็นจริงได้ ว่าอะไรคือธรรม อะไรคือคิดเอา

หากผู้รู้เห็นเข้า ท่านก็จะขยับขยายธรรมนั้นให้ ไม่ใช่เอาภาษาอักษรต้องไบ่เบี้ยและเรียงตัวกันแบบบาลีอย่างที่เข้าใจ

คนเราพอเจออะไรที่มันไม่เคยฟัง มันรับกันไม่ค่อยได้ มันก็แย้งมันก็ค้าน นี่เป็นธรรมดา

อีกฝ่ายปฏิบัติมาเอาความตายเข้าไปแลกธรรม อีกฝ่ายเอาแต่อ่านเอาความรู้สึกเข้าไปเป็นธรรมตามตำรา

พูดให้ตายยังไงมันก็ไม่เข้าใจ หากทิฏฐิแห่งใจมันหนาด้วยอุปาทานไม่ยอมวาง

ปัญหาของผู้ฟังธรรมที่ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมก็คือ กูรู้แล้ว

อธิบายมาพอสังเขป ขอเป็นกำลังใจ
วันนี้ ไม่ว่างเข้ามาโมทนาสาธุคุณ

ค่ำเย็นๆ นี้ ของสาธุคุณให้มีแต่ความร่ำรวยกันทุกคน

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง รวมพลกำลังแหง่ปัญญา ตีอวิชชา ณ วันที่ 7 มกราคม 2558 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง