รู้จักกายก็เริ่มเป็นใจเข้าสู่ธรรมแห่งอริยะชน

รู้จักกายก็เริ่มเป็นใจเข้าสู่ธรรมแห่งอริยะชน

1048
0
แบ่งปัน

ศิษย์ถาม : ผมมีอีกเรื่องนึงที่จะเล่าให้พระอาจารย์ และเพื่อนๆฟัง… ฟังกันหนุกๆนะครับ ซึ่งเป็นเรื่องของความเหนื่อย จากการทำงาน. หากเป็นผู้มีภูมิธรรมซักนิด. ก็จะเข้าใจว่า กายนี้เป็นเครื่องมือแสดงผลให้กับอะไรอย่างหนึ่งที่อยู่ข้างใน.

การที่เราทำงานหนักๆบ่อยๆ.ยิ่งถ้าเป็นผู้มีสติเฝ้าดูอาการทางกาย อยู่เป็นปกติ จะเห็นว่า เวลาเราทำงานอะไรก็แล้วแต่ เรามักจะบอกว่า เรานี่เหนื่อย

เหนื่อยนั้นเป็นเวทนาอย่างหนึ่งคือความรู้สึก..ที่ยืนยันจากวิญญานขันธ์ แต่เหนื่อยนี้ หากเราพิจารณา เราจะเห็นว่า… ไอ้ที่เราเรียกว่าเหนื่อยนี้ มันเป็นอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก. แล้วทำไมถึงหายใจไม่สะดวก?

ก็เพราะเวลาเราทำงานหรือออกแรงยกของหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เราต้องพยายามยก เราจะต้องกลั้นลมหายใจ เคยสังเกตุไหมครับ… และเมื่อเรากลั้นลมหายใจมากๆเข้า บ่อยๆเข้า. ก็เป็นธรรมดาที่จะอึดอัด. หายใจไม่สะดวก เพราะกายนี้มันขาดลมหายใจไม่ได้ ลมหายใจเป็นอาหารของมัน.

“นี่ท่านผู้รู้เขาบอกไว้ครับ”

แล้วเราเรียกอาการอึดอัดเหล่านั้นว่าเป็นความเหนื่อย. แล้วเวลาเรายกของอะไรหนักๆทำไมเราต้องกลั้นลมหายใจล่ะ.. แต่ถ้าเราไม่กลั้นลมหายใจนี่ ผมเคยลองแล้ว มันยกของหนักๆไม่ขึ้นครับ เหมือนกับว่ารั่วลมแล้วจะไม่มีแรงดัน

แต่ถ้าเรากลั้นลมแล้วยกของขึ้น เพียงอึดใจเดียว! แล้วยกขึ้นเลย
ตรงนี้ผมพิจารณาลงไป มันเหมือนกับการปิดรูรั่วครับ. เหมือนกับรถที่ใช้ไฮโดรลิก. หากมีลอยรั่ว มันก็ยกของใหญ่ๆหนักๆ ไม่ค่อยได้เช่นกัน อันนี้เป็นเรื่องของกายที่เป็นเครื่องมือ มันเป็นไปตามระบบของมัน นี่คือกายเป็นนะครับ

ส่วนอาการเหนื่อยที่เป็นความรู้สึกนั้น มันอาศัยขบวนการแห่งขันต์แห่งปรุงขึ้นมา โดยวิญญานขันที่ผ่านขบวนการแล้วนั้นเป็นตัวยืนยันสมมุตินี้ ที่ปรุงแล้วนั้นให้บางอย่างที่อยู่ข้างในนั้นรู้อีกที.. ว่าอาการแบบนั้นคือความเหนื่อย

อันที่จริงเรานั้น ไม่ได้เหนื่อยหรอกครับ แต่เราไปหลงเป็นว่าอาการเหล่านั้นว่าเราเหนื่อย.. ก็แค่อึดอัด จากการกลั้นลมหายใจ จากการยกของหนักๆ บ่อยๆ ว่าเราเหนื่อย แต่ที่แน่ๆผมว่ากายมันไม่ได้เหนื่อยแน่ครับ

เมื่อกายมันไม่รู้ไม่ชี้ แล้วเราจะบอกว่ากายเหนื่อย ได้ยังไง. มันก็แค่แสดงผลจากการกลั้นลมบ่อยๆเท่านั้น. ที่เป็นอาการกายขาดลม นี่คือกายครับ.. และที่สำคัญ.. มันมีผู้สังเกตุ ผู้เห็น อาการพวกนี้อยู่ ที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่งผัสสะ นี่ครับ กายก็อย่างหนึ่ง ความรู้สึกที่ปรุงมาเป็นเวทนาก็อย่างหนึ่ง และเราก็อย่างหนึ่ง แต่เราไม่ใช่อาการเหล่านั้น อาการเหล่านั้น เป็นผู้ถูกรู้ ถูกสังเกตุ มันเป็นแค่สมมุติ ที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดครับ

และคำว่าแรงนี้ ก็เป็นแค่อากาศเช่นกัน. มันเป็นสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นมา.. แรง จริงๆ มันไม่มีครับ. ที่เขาเรียกว่าแรงกาย มันเป็นอาการของใจ ถ้าปรุงหนักไปทาง..ใจสู้ หรือใกล้จะเสร็จแระ อีกนิดเดียว!
มันก็เกิดมีแรงขึ้นมา. หากหนักไปฟากท้อแท้ หมดหวัง. หรือขี้เกียจ.. แรงมันก็ไม่มี.. ที่เราเรียกสิ่งนี้ว่าแรงนี้..ก็เป็นอารมณ์ใจเช่นกันครับ….. ไม่ใช่กายเป็นแน่นอน

ผมนี่พิมพ์ยาวเลย ขอบคุณครับที่อ่าน.. เป็นแค่ประสบการณที่อยากระบายออกมา.. ทางบ้านไม่มีใครรับฟังครับ ขออนุญาติระบายตรงนี้เลย สาธุ. _/\_

<< พระอาจารย์ตอบ : ที่บ่าวต้นสาธยายมานั้น ธรรมชาติมันเป็นความจริงเช่นนั้น เป็นธรรมดา

ผู้ที่เฝ้ามองกาย ตั้งสติพิจารณาด้วยอารมณ์แห่งสมาธิ เมื่อมีแนวทางแห่งผู้ชี้ ย่อมมองเห็นความเป็นธรรมดา แห่งเหตุปัจจัย

การมองเห็นอย่างเด่นชัดว่า กายนี้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ไม่รู้ไม่ชี้ ที่มันเป็นนั่นเป็นนี่ มันเกิดจากโปรแกรมอย่างหนึ่ง ใช้กายในการดำเนินและกระทำ

อาการต่างๆที่เป็น เช่นเหนื่อย เจ็บ ร้อน หิว อิ่ม อะไรต่างๆ ไม่ใช่กายเป็นตัวรู้สึก

แต่ตัวรู้สึก มันเป็นอีกตัวที่อาศัยกายแสดงอาการออกมา ให้มันรู้สึก

และยังมีอีกอาการหนึ่ง ที่เป็นตัวรู้ว่า มันเป็นเช่นนี้ ไม่เกี่ยวกับกาย ไม่เกี่ยวกับผู้รู้ แต่มันเป็นเรื่องของอาการอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า เวทนา

นี่เป็นการเข้าสู่การพิจารณา กายในกาย ก็ย่อมเห็นชัดถึงเวทนา

ผู้ที่เข้าถึงตรงนี้ได้ ปัญญา ต้องแหลมคม มันจึงสามารถแยกแยะก้อนแห่งตัวตนนี้ แยกออกจากกันได้

เมื่อเราเห็นชัดด้วยตัวเราเป็นปัจจัตตังแห่งตัวเราเอง

เราก็มีเครื่องยืนยันใจล่ะ

ให้เรานำเครื่องยืนยันใจนี้ มาหล่อเลี้ยงใจ

ตั้งสติระลึกไว้เสมอว่า อะไรก็ตามที่เราผัสสะแล้ว ทางกายก็ดี วาจาก็ดี ทางใจก็ดี

เมื่อถึงทิฏฐิเกิดความเร่าร้อน มันเป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวเราเป็น

โยนิโสไว้เป็นสติเครื่องเตือนใจ ให้ชำนาญ ให้ชิน จนเป็นฌาน

ฌานนี้คือความเคยชินแห่งใจ

ใจที่เข้าใจและระลึกได้ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งของจิต

ใจย่อมไม่ทุกข์ จากเวทนาทั้งหลาย

เวทนาทางกายย่อมมี เพราะมันอาศัยกายเป็นตัวแสดงตน นี่เป็นธรรมดา

แต่เวทนาทั้งหลาย มันเข้าไม่ถึงใจ ใจมันไม่ตกกระแสแห่งเวทนาตามไปด้วย

อย่างน้อยใจมันก็ต้านเวทนาได้ จนเป็นใจที่วางอุเบกขาในเวทนา

บุรุษผู้เห็นกายในกาย ประจักษ์ชัดว่า กายไม่ใช่เราดั่งที่เข้าใจ

นี่..เป็นผู้ตกกระแสธรรมแห่งกองสังขาร เป็นผู้ถึง สักกายทิฏฐิ

เป็นผู้ถึงความสิ้นสงสัยแห่งกายว่าเป็นเรา เป็นผู้ไม่งมงายว่าอาการทั้งหลายนั้นเราเป็น

ได้ชื่อว่า เป็นผู้ได้องค์ประกอบแห่งการเป็นพระอริยะบุคคล

แต่พระเป็นพระอริยะบุคคล มันประกอบด้วยศีล

ศีลนี้เป็นตัวสติปัญญาที่มีความละอายชั่วกลัวบาป ตามเหตุปัจจัยอย่างผู้มีภูมิ

เมื่อเห็นแล้ว ชัดแล้ว แจ้งแล้ว หมั่นระลึกและประคองใจในสิ่งที่เห็น ที่รู้ ที่ชัดนี้ ให้เป็นอารมณ์ต่อเนื่อง

วันใดที่กายแตก หากสติและปัญญายังไม่ถึงที่สุด ก็มีสิทธิ์ไม่กลับมาเกิด

ค้างแค่ภพจิตอยู่ภูมิเดียว และนิพพานในภูมินั้น..

นี่..เห็นไหม แม้ไม่ต้องบวชก็สามารถมีปัญญามองเห็นธรรมตรงตามความเป็นจริงได้

พวกบวชซะอีก มีเวลาแต่ไม่ค่อยจะพิจารณาและปฏิบัติให้เกิดการประจักษ์แจ้งแก่ใจ

บวชทำไม บวชเพื่อเอาผ้าเหลืองมาห่มตอ ไม่รู้ไม่ชี้แม่งอะไรเลย..

พระธรรมเทศนา จากคอมเม้นท์เรื่อง อารมณ์เปรียบดั่งไฟ

โดย พระอาจารย์ ธรรมกะ บุญญพลัง วันที่ 23 ธันวาคม 2557