คำแห่งผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา หล่อเลี้ยงจิต

คำแห่งผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา หล่อเลี้ยงจิต

566
0
แบ่งปัน

คำแห่งผู้มีศีลศิษย์ถาม : อาจารย์ขอคำชี้แนะเกี่ยวกับความหมาย
ของข้อความในประโยคนี้ เพื่อความเข้าใจ
ที่ถูกต้องค่ะ ขอความเมตตาธรรมด้วยค่ะ

ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้
ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก
ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรา กระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้
ตรงคำว่าจิตเป็นสมาธิอันเป็นภายใน จิตดำรงค์อยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้จิตเป็นเอก นะค่ะ

พระอาจารย์ตอบ : ทรงพล บุญเกตุ…

ประโยคที่ยกมานี้ ที่ถามมาว่า

“ตรงคำว่าจิตเป็นสมาธิอันเป็นภายใน จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้จิตเป็นเอก นะค่ะ”

ความหมายแห่งนัยยะธรรมที่ได้ทรงกล่าวออกมา ย่อมมีเหตุแห่งกาล ใช่ว่า จะทรงตรัสออกมา ประโยคใด แล้วควบคุมไปทุกนัยยะ

การศึกษาพุทธพจน์ ผู้ศึกษาต้องสาวผลนั้นไปหาเหตุ ต้องเข้าใจในเหตุที่เป็นปัจจัย ในกาลนั้นๆ ว่าทรงกล่าวและมีนัยยะจุดประสงค์เนื่องด้วยปัจจัยและเหตุอันใด

ปัญหาคือผู้นำมาชี้ต่อ มันมีปัญญาไม่พอ เข้าใจธรรมไม่เข้าถึงความหมายแห่งกาลที่กล่าวถึง

เดี๋ยวนี้พวกเราเลยยกมาทั้งดุ้นแล้วมาโจมตีกัน ว่าพระองค์ท่านทรงตรัสอย่างนั้น ทรงตรัสอย่างนี้ผิดไปจากตำราชี้นี่ ไม่ใช่ธรรม นี่..พวกไม่เข้าใจธรรม มีความคิดเห็นประมาณนี้

การตรัสแต่ละครั้ง ย่อมมีเหตุแห่งผัสสะ เป็นอุทานก็มี จากปัจจัยนอกก็มี จากปัจจัยภายในก็มี

จากคู่สนทนาก็มี จากการบอกกล่าวก็มี หยิบยกตัวอย่างก็มี สิ่งที่มี ท่านย่อมชี้ไปที่เหตุ

เรามาเรียนรู้ทีหลัง เรายังไม่เข้าใจว่าเหตุที่พระพุทธองค์ชี้ เป็นผลของอะไร พวกเรามันเป็นผู้มีธรรมจากการจำและอ่าน ตีความเอาเอง ธรรมทั้งหลายจึงเป็นได้แค่คิดเอา มรรคผล แทรกไม่เข้าถึงใจ…

ความหมายในวลี ที่ยกมาถาม โดยย่อท่านหมายถึงการมีสติ

เป็นสติที่พร้อมในพละห้า

คือ ปัญญา ศรัทธา สมาธิ วิริยะ และมีสติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงรวมเป็นกำลัง

กำลังนี้ เป็นความตั้งมั่นแห่งสติที่เป็นสมาธิ มีปัญญาญาณอันเกิดจากศรัทธาที่รู้แจ้งเห็นจริงเป็นเครื่องยืนยัน

คำว่าจิต อันเป็นสมาธิภายใน คือสมาธิที่มีกำลังแห่งสติ ไม่สอดส่ายออกนอก ทั้งทางกาย วาจา ใจ

จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้จิตเป็นเอก..

โยงประโยคความหมาย ถึงกำลังแห่งฌาน ที่เป็นความเคยชิน

เป็นปกติแห่งจิตที่ไม่สอดส่ายไปตามกระแสแห่งนิวรณ์

มีความตั่งมั่นในสมาธิจิตแห่งวลีและเรื่องราวที่กล่าวออกมา

คำว่ากระทำให้จิตเป็นเอก หมายความว่า เป็นอารมณ์เดียว

มีความรู้ตัวทั่วพร้อมแห่งปฐมฌานอันเป็นพุทธวิสัยในความเป็นพระสัมมา

ง่ายๆตามภาษาเราก็คือ จะพูด จะคิด จะทำ จะเคลื่อน จะไหว จะเหลียว จะคู้ จะเหยียด จะกิน จะขี้ จะอะไรก็ตามที่เนื่องด้วยกาย มีสัมปชัญญะ คือ ตามรู้

และระลึกรู้ได้ เมื่อหลุดจากสัมปชัญญะ นี่เรียกว่าเป็นผู้มีสติ

ผู้มีสติ ย่อมไม่พลาดที่จะกล่าวที่จะพูดที่จะแสดง ทางกาย วาจา ใจ

นี่เพราะเหตุอันเป็นปกติวิสัย แห่งการมีกำลังที่เรียกว่า พละห้า

อาการเช่นนี้ เป็นจิตที่ทรงกำลังแห่งสมาธิ ไม่สอดส่าย ไม่วอกแวก เป็นกำลังแห่งอารมณ์เดียว ตั้งมั่นอยู่ในสติปัสฐานสี่ ทุกอิริยาบถในการ

เดิน ยืน นอน นั่ง

กำลังเช่นนี้ ย่อมเห็น กายนอก กายใน กายในกาย

ย่อมเห็น เวทนานอก เวทนาใน เวทนาในเวทนา

ย่อมเห็น จิตนอก จิตใน จิตในจิต

ย่อมเห็น ธรรมนอก ธรรมใน ธรรมในธรรม

ทั้งหลายในอาการ ยอมตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว โดยสติที่หล่อเลี้ยงกำลังให้เกิดความสมดุล ที่เรียกกันว่า เป็นผู้มี พละห้า..ในอิทธิบาทสี่

ความหมายทั้งหมดที่เป็นวลีที่ถามมา สรุปง่ายๆก็คือ ทุกคำพูด ทุกคำตรัส พระพุทธองค์ มีสติสัมปชัญญะในการ คิด พูด ทำ ด้วยอำนาจแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา

ยิ่งขยายก็ยิ่งยาวแหละ พอดีว่างจากงานเพียงเล็กน้อยจึงมาตอบ…

**************************************************

พระธรรมะเทศนา จากคอมเนท์ ถาม-ตอบ เรื่อง ตัวแทนแห่งองค์พระปฐม
โดย พระอาจารย์ ธรรมกะ บุญญพลัง
วันที่ 15 ธันวาคม 2557