การมีดวงตาเห็นธรรม ใจต้องมีกำลัง

การมีดวงตาเห็นธรรม ใจต้องมีกำลัง

790
0
แบ่งปัน

การมีดวงตาเห็นธรรม ใจต้องมีกำลัง

แปงเขาพูดได้ถูกใจ..

ถูกใจนี่ เป็นอาการหนึ่งของจิต

ไม่ถูกใจ ก็เป็นอาการหนึ่งของจิต

หากมีตัวกูเข้าไปเป็นเจ้าของ โดยไม่มีสติรู้ว่า มันเป็นอาการของจิต

สมุทัยก็จะเกิดขึ้นกับใจเรา

คือ ถูกใจก็มีทุกข์ ไม่ถูกใจก็มีทุกข์

ทั้งสองตัว เป็นแหล่งแห่งเหตุทุกข์

ถ้าเข้าใจได้เช่นนี้ เราเอาสิ่งเหล่านี้มาทำวิปัสสนา

วิปัสสนาคือการกระทำให้แจ้ง การกระทำให้แจ้งคือการ พิจารณาเริ่มจากการสาวผลไปหาเหตุ

ทั้งถูกใจและไม่ถูกใจ มันมีแหล่งกำเนิดมาจาก ใจที่มีตัณหาผุดขึ้นมาไม่รู้จบ

และสิ่งนี้ เป็นเหตุของมัน เป็นเหตุแห่งมรรค และสมุทัย

หากไม่มีสติ ใจมันก็ไหลไปตามกระแส เรียกว่า สมุทัย คือถูกใจและไม่ถูกใจ

หากมีสติพิจารณาตรอง ยับยั้งไม่ไหลไปในกระแสตามเหตุและปัจจัย อย่างนี้เรียกว่ามรรค

เดินทางมรรค ผลมันก็ทุเลาเบาบางจางคลายไปตามกำลังแห่งปัญญา

ท่านเรียกผลนี้ว่า นิโรธะ

นี่..หลักอริยสัจมันเป็นหลักเหตุหลักผลแบบนี้

ใครเข้าใจแบบนี้ ประจักษ์ใจแบบนี้ เรียกว่าเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม

และธรรมทั้งหลาย อาศัยผัสสะ

ผัสสะเป็นแหล่งเกิด เป็นแหล่งกำเนิดแห่งธรรมทั้งหลาย

เพียงแต่คนทั้งหลายมันเข้าไม่ถึงความหมายแห่งการเกิดผัสสะ

ผัสสะนี่ มีมาก่อน อวิชา

พูดง่ายๆว่า เพราะผัสสะมี อวิชาจึงมี

อวิชาอาศัยผัสสะมาปรุงเป็นดวงจิต เรียกว่า จิตสังขาร

นี่.,ธรรมเหล่านี้ เอาแต่อ่านมา จำมาคิดเอา จะมีเหตุผลปัญญาเท่าไหร่

หากเหตุปัจจัยไม่พร้อม มันก็ผิดทั้งนั้น

อยากทราบเป็นความรู้ ก็หาโอกาสมา

ข้าจะแปลงกายเป็นขงเบ้งให้

หากตอบปัญหาธรรมที่พวกเราเรียนรู้จำๆกันมาไม่ได้

บวชไปก็อายหมามันไปเปล่าๆ

ถามมาเหอะ อยากรู้อยากทราบในสิ่งใด ในธรรมข้อไหน ที่เราสงสัย

แต่ความสงสัยนี้ ขอให้เกิดจากใจที่ปฏิบัติเถอะ เขี่ยหน่อยเดียวนี่ เข้าใจเลย

แต่พวกสงสัยด้วยความคิดที่จำมาอ่านมานี่ แก้สงสัยได้ไม่หมดจรด

เพราะพวกนี้ มันไม่รู้ลึกไปถึงเหตุที่มันสงสัยผล และไม่รู้ว่าผลที่ตนสงสัยนั้น มันเกิดจากเหตุและปัจจัยอะไร

อ่านมาจำมาแค่สงสัยว่า และแค่อยากรู้ว่า แต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติใจอะไร นี่..พวกมีกำลังไม่พอแต่อยากมีกำลังและได้อะไรที่เยอะๆ

พอได้เยอะๆมันก็รับกันไม่ได้อีก ผู้ให้ก็เลยเหนื่อยใจแทนน้องๆทั้งหลาย…

แบตหมดพอดีว่ะ

**************************

พระธรรมเทศนา จากคอมเม้นต์ รีบๆทำ ก่อนกายแตก
ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2557
โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง