ถามตอบกันพอรู้ความหมาย…

ถามตอบกันพอรู้ความหมาย…

392
0
แบ่งปัน

ถามตอบกันพอรู้ความหมาย

>>ลูกศิษย์ : “คนป่า” ภูมิความรู้ป่า ๆ เข้าใจอะไรยากหน่อย ครับ ขอนิมนต์อธิบายความ “อยู่” เพื่อสัจธรรม เป็นแบบไหน

“เพื่อ” ค้นหาสัจธรรม อธิบายอย่างไร

“เผยแผ่” สัจธรรม และอย่างไรเรียกว่า ประทุษร้าย สัจธรรม ครับ

คนมันไม่เข้าใจความหมาย เปิดใจ เปิดหูอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ครับ คนป่าเป็นบัวเหล่าที่ 3 หรือที่ 4 ก็ไม่รู้ อะครึ ๆ ๆ ใครมีปัญญาก็ช่วยสงเคราะห์คนป่าบ้างครับ

<<พระอาจารย์ : ตอบ.. คนป่า ในดงธรรม อยู่เพื่อสัจธรรม เป็นพระผู้เข้าถึงความจริง และสิ้นสงสัยในธรรมทั้งหลายแล้ว มีชีวิตอยู่เพื่อชี้แนะชี้นำ ความเป็นจริงทั้งหลายแก่เหล่าอนุชน ตามเหตุและปัจจัย อยู่เพื่อแสวงหาสัจธรรม เป็นผู้บวชเพื่อฝึกปฏิบัติค้นหาความจริง เพื่อมุ่งสู่ความพ้นทุกข์ อยู่เพื่อเผยแผ่สัจธรรม เป็นผู้บวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนทางธรรม นำมาเผยแผ่ให้คนทั้งหลาย ได้รู้เห็นและเข้าใจธรรมที่ตนได้ร่ำเรียนมา อยู่เพื่อประทุษร้ายพระสัจธรรม คือผู้บวชเข้ามาหากินในผ้าเหลืองและทุศีล

>>ลูกศิษย์ : กราบขอบพระคุณ พระอาจารย์ ที่เมตตา บัวเหล่าที่ 4 (ปทะปรมะ) คนป่าเป็นผู้บทอย่างยิ่ง (ปึกอิหลี) ครับ หากพระอาจารย์ ให้ความเมตตาคนป่าบ่อย ไม่แน่นะครับ บัวเหล่าที่ 4 อาจมีโอกาสพ้นน้ำได้ ครับ (สาธุ ๆ ๆ อนุโมทามิ) ขออีกสักหัวข้อครับ คือคนป่าเคยได้ยินมา แต่ไม่เหมือนกับของ พระอาจารย์เลยครับ 1 บวชตามประเพณี 2 บวชเพื่อศึกษา 3 บวชเลี้ยงชีพ(ไม่มีที่ไป) 4 บวชด้วยศรัทธา ครับ

<<พระอาจารย์ : การบวชแบบที่ได้ยินมา เป็นเรื่องของเหตุผลในการบวช แต่เมื่อบวชมาแล้ววิถีแห่งการบวช เราจะบวชเพื่อทำคุณหรือทำลาย นี่..เป็นเรื่องของจริตและปัญญาของแต่ละคน

>> : ขอถามครับ.. เรามาวัดเรามาทำตามประเพณีนิยมก็ถือว่า เราได้มากระทำความดีแล้วไม่ใช่หรือ เป็นการรักษาประเพณีไทย ได้มาสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญ แค่นี้ก็สบายใจแล้ว
ประเพณีไทยเรามันก็เป็นอย่างนี้นี่

<<พระอาจารย์ : บางคนคิดว่า การมาวัด ฟังพระสวดภาษาที่ตนไม่เข้าใจ ได้ถวายของ ใส่ซองแล้วต่างคนต่างกลับ เป็นประเพณีของคนไทย นี่…มองตื้นและปัญญาน้อย พุทธศาสนาหากมีปัญญาเป็นได้แค่ลัทธิ ทำได้แค่ศาสนพิธี คำว่า ” พุทธ” นี้ ก็เป็นแค่คำหลอกลวง พุทธะหมายถึง ปัญญา บ้าอยู่กับศาสนพิธี มันมีปัญญาตรงไหน เหมือนคนกำลังเดินทางไปเชียงไหม่ แค่เริ่มออกจากรังสิตแล้วลงเดินข้างทาง จะบอกว่านี่คือเชียงใหม่ นี่..มันคิดได้แค่นี้จริงๆ หรือ พุทธพิธี คือ การเจริญสติ

“..สติ..” ก็เจริญได้ด้วย “..การพิจารณา..”

“..พิจารณา..” เจริญได้ด้วย “..ศรัทธาที่พร้อมปัญญา..”

“..ศรัทธา..” เจริญได้ด้วย “..การรับฟังธรรมจากเหล่า สัตบุรุษ..”

นี่..ไม่ใช่จบอยู่แค่ศาสนพิธี แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน โดยไม่เกิดปัญญาอะไร กลับไปใจก็เลวเหมือนเดิม แล้วจะมาบอกว่าเป็นประเพณีไทย ที่เราคนไทยทำกันอย่างนี้ ทำอย่างนี้มันก็ดี เป็นแค่เปลือกดี แล้วเนื้อเยื่อแห่งความดีที่ใจนำมาหล่อเลี้ยงให้ก้าวพ้นทุกข์ มันอยู่ตรงไหน หรือเป็นได้แค่ใจ หยุดอยู่ตรงรังสิตแล้วเถียงจนคอเป็นเอ็น ว่านี่คือ เชียงใหม่..!!

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง ศรัทธาจนงมงายหรือ…!!! ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง ……………….. …………………. …………………..

>>พระอาจารย์ : ความพรากนี่ มันทำลายทำร้ายจิตใจหลายๆ ชอบไหม

<<ลูกศิษย์ : ชอบค่ะ โรคจิต

>>พระอาจารย์ : จำเอาไว้ให้ดี ข้าจะ กิ๊วๆ พวกโรคจิต ทุกวันนี้ ไม่มีวัตถุบุคคล มากระชากใจข้าได้แล้ว ข้าแสนเป็นสุขกับชีวิตที่ยังเหลืออยู่

พวกแกแค่ไม่พอใจ มันก็ทำลายและทำร้ายตนเองและผู้อื่น โดยไม่รู้ต้ว…

ที่ไม่รู้ตัวเพราะ…. มันไม่รู้

ที่ไม่รู้เพราะ…. มันหลง

ที่หลงเพราะ…. ขาดปัญญา

ที่ไม่มีปัญญาเพราะ…. ขาดสมาธิ

ที่ไม่มีสมาธิเพราะ…. ขาดสติ

ที่ขาดสติเพราะ…. ไม่มีการพิจารณา

ที่ไม่พิจารณาเพราะ…. ขาดศรัทธา

ที่ขาดศรัทธาเพราะ…. ขาดการชี้แนะธรรมจากสัตบุรุษ

เหอๆๆ เวลาโดนพรากจริงๆ แล้วแกจะรู้ซึ๊งถึงความเจ็บปวด ที่เกิดมาแล้วต้องเผชิญการพรากเป็นธรรมดา การพรากถึงทิฏฐิวันไหน วันนั้นความทุรนทุรายเจ็บปวดเจียนตาย มันก็จะมาสิงในใจแกละไอ้น้อง

พระธรรมเทศนา ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง

………… ………… …………..

>>ลูกศิษย์ : กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ….. ขอเรียนถามครับ….วิธีการตั้งจิตขณะที่เราทำบุญ หรือหลังจากทำบุญ ควรตั้งจิตแบบใดครับจึงจะถูกต้อง เพื่อไม่ให้จิตติดบุญ…. ที่ผมทำคือ ปล่อยให้จิตว่างแล้วอิ่มเอิบไปกลับมันโดยที่จะไม่อธิษฐานจิตขออะไร…ไม่ทราบถูกต้องหรือเปล่าครับ…กราบสาธุๆๆ

<<พระอาจารย์ : จิตติดบุญซิมันจึงจะดี Meena Mana

เราทำบุญก็เพื่อให้จิตมันติดบุญนี่แหละ ที่มีนาคิดนั้น เป็นเรื่องของตัวตนเข้าไปเป็นเจ้าของอาการ

กาทำบุญจะขอก็ได้ ไม่ขอก็ได้ มันเป็นเรื่องเสมอกัน มันเป็นแค่อาการแห่งจิตที่กระทำ

ถ้าขอ การบันทึกแห่งโปรแกรมจิตก็จะเริ่มสร้างกระบวนการ ปรุงไปตามเหตุปัจจัยเพื่อให้ได้สมดั่งคำอธิษฐาน

ถ้าไม่ขออะไร การทำบุญนั้นก็เป็นการสละใจ ในการที่จะเป็นผู้ให้ มันก็ชื่นปิติใจ

เราทำบุญที่ประเสริฐที่สุดก็คือ ใจที่ไม่คาดหวังอะไร แต่ก็จะทำให้ นี่..ใจเช่นนี้เป็นใจที่หาได้ยากยิ่ง
***********************************
พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง วิมานทิพย์…เกิดได้ทั้งๆ ที่ยังไม่ตาย ณ
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557
โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง