ธรรม…อาศัยเหตุในการเกิด

ธรรม…อาศัยเหตุในการเกิด

1055
0
แบ่งปัน

>>คำถาม : ท่านอาจารย์ กระผมมีข้อสงสัย ว่าถ้าเราไม่เอาน้ำขี้ราดหัว ไม่ควักเอาขี้มาทาหัวทาหน้า เราจะไม่บรรลุธรรม ไม่สามารถทำ นิพพานให้แจ้ง อย่างนั้นหรือครับ ถ้าไม่อย่างนี้อย่างอื่นมีอีกไหมครับ เรียนถามด้วยความเคารพครับ สาธุ

<<พระอาจารย์ : ไม่ต้องเอาขี้มาราด เอาขี้มาละเลงหัว มันก็เข้าถึงธรรม...อาศัยเหตุในการเกิด นิพพานได้ Chalongchai Chaemchamrus

ที่อธิบายมานี้ เพื่อให้เห็นถึงวิธีทรมานจิตใจตนเองของข้านี่

จริตแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ของข้านี้มันดื้อด้านมาก ใจมันไม่ยอมลง ความถือมั่นยึดมั่นในตัวมันมีสูง

วิธีการสยบใจ มันก็แยกแยะหลากวิธีกันออกไป ตามกำลังและปัญญา

ธรรมะ หากทำแค่เพียงคิดเอา มันก็จะไม่แจ้งแทงธรรม มันเป็นแค่อากาศ…

และการเอาขี้ราดหัว ก็ใช่ว่าจะบรรลุธรรมได้ หากไม่มีปัญญาพิจารณา มันก็จะเป็นไอ้บ้าที่โง่ๆ เหลือหลาย ทำอะไรพิเรนๆอย่างโง่ๆ

แต่นี่ ข้าเอาสิ่งที่ใจผลักออก ที่เบือนหน้าหนี ยัดกลับเข้าไปให้ใจมันเห็น เพื่อเป็นผู้ดูให้รู้อาการแห่งใจ ที่มันดื้อด้านและรังเกียจ ดูว่ามันรังเกียจตรงไหน

เมื่อมันเห็นด้วยปัญญา มันก็เข้าใจ และถอดถอนอุปาทานได้

กรรมฐานกองอาหารเรปฏิกูลก็ได้ อสุภกรรมฐานก็ได้ พรหมวิหารก็ได้ ธาตุสี่ก็ได้

รูปและอรูปก็ได้ อนุสติก็ได้ กสิณก็ได้ รวมแล้ว กรรมฐาน 40 กอง ได้หมด

มันคลี่คลายออกมาได้ ที่สุดแห่งธรรมทั้งหลาย ลงที่ใจคลายอุปาทาน

มันเป็นช่องทางผ่าน เพื่อเอาใจออกไปสู่ความจริงที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

และความจริงนี้ มันจะไปประชุมรวมกันในวิปัสสนาญาณ เมื่อเราต้องทำสงครามขั้นแตกหัก

อุบายจิตของแต่ละคนที่ปฏิบัติ จริตย่อมไม่เสมอกัน

การชี้แนวทาง เพียงแค่เห็นแนวธารธรรมที่มันไหล

ใจผู้เห็นก็พอเดาเข้าใจได้ ว่าธารนี้ มุ่งหมายไปสู่ผืนน้ำกว้างใหญ่ แห่งทะเลแน่

เขาก็กล้าที่จะล่องลงมาตามลำธาร เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งเรือใจ ล่องไกลไปสู่ทะเล

การฝึกฝนหากเอาจริง มันย่อมเห็นกิเลสในใจเรา

เราจะฝืนทวน หรือจะไหลตาม อยู่ที่เราตัดสินใจ

บางอย่างโลกก็รับไม่ได้ เพราะมันฝืนโลก

อะไรที่มันฝืนโลก ก็ขอฝืนๆ ใจมันดู มันก็จะได้รู้ว่าทำไมโลกจึงฝืน

หากไม่ทำอะไร มันก็หยุดอยู่แค่ไม่ได้อะไร รู้เท่าที่มี ซึ่งก็โง่อย่างนั้น ตราบใดที่ยังมีสังขาร

การไม่ทำอะไร ก็คือคนที่ตายห่าไปแล้ว โดยไม่รู้ตัว คนตายมันไม่เพิ่มเติมอะไรแล้ว

ธรรมนั้นอาศัยเหตุปัจจัย ไม่ใช่จะทำอะไรแล้วคิดว่าเป็นการซ้อนกรรมเพิ่มกรรม อย่างพวกเดียรถีย์โบราณเขาคิด

พุทธนี้ เป็นเรื่องกระทำสาวผลไปหาเหตุด้วยปัญญา

ไม่ใช่ให้อยู่กับความว่าง ทั้งๆ ที่ตัณหาก็ยังผุดออกมา ไม่รู้จบอยู่อย่างนั้น

การบวชมาแล้วอยู่ว่างๆ ไม่ทำบาป ไม่ทำชั่ว อยู่นิ่งๆ เฉยๆ รอกายแตกตาย เพราะเข้าใจว่านี่คือ ความดี

ความดีอย่างโง่ๆ เพราะทำตัวว่างๆ มันไม่มีมรรคผลมาเจริญใจหรอก

เรา..ยังมีสังขารอยู่ เราต้องกระทำเพื่อหาเหตุแห่งผล เรา..จึงจะแจ้งในธรรมที่เหตุและผล มันแสดง ..!!

สมัยเราเด็กๆ บางคนอาจเคยขยำขี้เล่น แล้วเอามาทาหน้าบ้าง กินเข้าไปบ้าง และหัวเราะ แฮ่ๆๆ

นอนทับขี้ ตัวเปื้อนขี้ แม่ก็เช็ดถูให้ แม่ไม่รังเกียจ เราก็ไม่รังเกียจ

ไฉนพอรู้เรื่องรู้ราว เราดันไปรังเกียจเสียนี่

นี่แหละ มันอุปาทาน ยึดติดกับสมมุติโดยที่เราไม่รู้ตัว

เมื่อข้าได้กลับมาถอดถอนสิ่งที่ไม่มี ไม่เคยยึด แล้วมันมามี มันมายึด มันจะแปลกอะไร

ใครๆ ก็ทำกันได้ ก็แค่ทำความเข้าใจว่า เรา..มันยึดไปเอง

พวกบ้าความว่าง ลองเอาขี้ตัวเองปาดหน้าซักป๊าบ ลองดูซิ

ใจมันว่างจากความเหม็นที่มันน่าขยะแขยงสะอิดสะเอียนรึเปล่า

ถ้าใจมันเฉยๆ โดยไม่เกิดจากข่ม จากทิฏฐิ ก็แสดงว่า โม้ได้ เพราะใจมันว่างแล้ว

มันว่างแบบโง่ๆ เพราะเป็นใจที่ผิดปกติ มันเป็นอาการของใจที่วิปลาสผิดปกติ

ใจที่ปกติ ต้องว่างด้วยปัญญา และเข้าใจ ว่าที่ทำไปนี้ มันเหม็นโคตรๆ

ไม่ใช่ไม่เหม็น แต่ไอ้ที่มันทนได้และไม่คิดว่ามันเหม็นนั้น คือ “..ตัวปัญญา..”

ที่เข้าใจขึ้นมาว่า อ้อ…มันก็เป็นของมัน เช่นนั้นเอง

สมัยข้าไปอินเดีย … พวกแขกเขาจะเชื้อเชิญให้ไปที่ร้านของเขา

เขาจะบริการอย่างดี นมัสเตอาจารย์ เชิญทางนี้

ไอ้ข้านี่ มันไม่ใส่รองเท้า และย่ำไปบนพื้นดินที่แสนสกปรก

บางช่วงมันมีกองขี้ เป็นกับดัก แขกเขาก็คอยระวังให้ คอยชี้ให้ ว่านี่กองขี้ นั้นกองขี้

แขกห้าหกคนมันจะส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว จารย์ๆๆๆ นั่นขี้ อีนี่ขี้ ข้านี่หนวกหู

จึงเดินเหยียบขี้มันซะเลย ไม่ต้องหลบ.. แขกเงียบกริบมองหน้ากัน

ข้าเดินต่อไปไม่รู้ไม่ชี้ ขี้อยู่ข้างหน้าข้าเหยียบหมด แขกส่ายหน้าหงึกๆ ยักไหล่

มันก็ปล่อยให้ข้าเดินไปไม่ต้องมาคอยชี้ เข้าร้านทีมันหาผ้ามาให้ข้าเช็ดขี้ แทบไม่ทัน

“.. ธรรมะนั้น มันอาศัยสิ่งหนึ่ง เพื่อไป “รู้” อีกสิ่งหนึ่ง

ธรรมะนั้น มันอาศัยสิ่งหนึ่ง เพื่อไป “แก้” อีกสิ่งหนึ่ง

ธรรมะนั้น มันอาศัยการ “ดับ” สิ่งหนึ่ง เพื่อให้สิ่งหนึ่ง “ดับ”

ธรรมะนั้น มันอาศัยสิ่งหนึ่ง ”ดับ” สิ่งหนึ่งก็ “ดับ”

ธรรมะนั้น มันอาศัยการ “เข้าใจ“ ในเหตุและปัจจัย

ธรรมะนั้น มันอาศัย “ใจ” ของเจ้าของนั่นแหละ “เกิด” ..”

ธรรมะนั้น มันอาศัยการดับ ด้วยความเข้าใจในกฏ อิทัปปัจจยตา

อิทัปปัจจยตา อาศัยมูลธรรมแห่งอริยสัจ

อริยสัจ อาศัยมูลธรรม แห่งความเข้าใจ ในหลักเหตุหลักผล

หลักเหตุหลักผล อาศัยมูลธรรมแห่งสติ

สติ อาศัยมูลธรรมแห่งการพิจารณา

การพิจารณา อาศัยมูลธรรมแห่งศรัทธา

ศรัทธา อาศัยมูลธรรมแห่ง คำชี้แนะจากสัตบุรุษ

คำชี้แนะ อาศัยมูลธรรมแห่งปัญญา

ปัญญา อาศัยมูลธรรมแห่งสมาธิ

สมาธิ อาศัยมูลธรรมแห่งศีล

ศีล อาศัยมูลธรรมแห่งสติที่เป็นกุศลจิต

************************************

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง อาหารเรปฏิกูลสัญญา.. เอาธรรม ต้องเทขี้ราดหัวท่อน 2
ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2557
โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง