ถามตอบในเรื่อง ใจกับจิต

ถามตอบในเรื่อง ใจกับจิต

742
0
แบ่งปัน

>> ลูกศิษย์ : พระอาจารย์ ขอรับ เช้านี้อยากฟัง เรื่อง การพิจารณา เบื้องต้น ว่ามีวิธีอย่างไรอะครับ เพราะผมสับสนมากเลยอะครับ พิจารณานี้ ใช้การคิด หรือเปล่าครับ

เพราะ เวลานั่ง ปฏิบัติ ตามที่พระอาจารย์สอน แบบนับ ลมหายใจเข้าออก 1-10 กลับไปกลับมา พอ มันรู้สึก สงบ ก็ไม่รู้ จะทำอย่างไรต่อไปครับ  เลยกลายเป็นคิด นู่น คิดนี่ จิตฟุ้งซ่านไปเลยครับ

ขอความเมตตาช่วย ชี้แนะ วิธี ปฏิบัติเบื้องต้นให้หน่อยครับ. เพราะปัญญาผม มันยังโง่ และไม่เข้าใจอะครับสาธุ สาธุ สาธุ

<< พระอาจารย์ : วิธีการ มันเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นที่ตั้งให้ใจมันสงบ น่ะคนดีมั้ง

ส่วนความฟุ้งซ่านมันเป็นอาการของจิต เมื่อจิตมันฟุ้งซ่าน ก็ให้ดึงกลับมาเริ่มต้นนับใหม่ มันทำซ๊ำๆ อยู่เช่นนั้น จนความฟุ้งซ่าน มันหดตัวลงไปเรื่อยๆ มามีสมาธิอยู่กับการนับลมหายใจ

เมื่อสมาธิเกิด ปิติคือ อาการแห่งจิตก็จะเกิด เมื่อปิติเกิด ความสงบสุขก็จะเกิด เมื่อความสงบสุขเกิด อารมณ์อันเป็นหนึ่งก็จะเกิด

นี่..มันอาศัยกันมาอย่างนี้ ที่เราฟุ้งซ่านเพราะกำลังใจและสติเรามันยังอ่อนอยู่ จึงพ่ายแพ้ต่อการปรุงแต่งตามอาการแห่งจิต

แต่เช้านี้ไม่ว่างที่จะขยาย เพราะต้องไปทำแพยนตร์ ขอให้ฝึกๆ ทนๆ ไป ดีกว่าไปทำอะไรที่ไร้สาระอย่างอื่น

>> ลูกศิษย์ : สาธุค่ะ แต่ยังปัญญาน้อยอยู่ ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ สรุปสั้นๆ ได้ว่า จิตแท้นิ่งอยู่เมื่อมีสิ่งภายนอกกระทบกับใจทำให้จิตไหวใช่ป่าวค่ะ

<< พระอาจารย์ : ตอบ พณศร จิตแท้ มันไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด ที่หวั่นไหว เป็นใจล้วนๆ และใจนี้ เป็นอาการของจิต ที่เกิดจากเหตุปัจจัย จากการผัสสะ

>> ลูกศิษย์ : พอจ. สาธยายธรรมได้แจ่มแจ้งมากทำให้ผู้ปฏิบัติมีความหวังในมรรรคผลในปัจจุบันชาตินี้ได้..สาธุ

<< พระอาจารย์ : เราคาดหวังกับนิพพานได้อยู่แล้ว เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์ Pratak Starnikom

ที่เหลืออยู่ที่เราจะใช้เครื่องมือชิ้นนี้ยังไงให้เข้าถึงความหลุดพ้นเท่านั้น แต่ก็ต้องมีผู้ชี้แนะด้วย สิ้นผู้ชี้แนะ หลุดพ้นไม่ได้ แม้มีเครื่องมืออันยอดเยี่ยมแห่งจักรวาลนี้แล้วก็ตาม

>> ลูกศิษย์ : กราบเรียนถามพระอาจารย์ตามความเข้าใจครับ คำว่าใจในที่นี้ของพระอาจารย์นั้นก็คือผู้รู้ ผู้ที่ไปเสือกรู้ทุกเรื่องใช่หรือไม่ครับ

ซึ่งจิตที่ถูกครอบอยู่ด้วยอวิชชาก็เป็นตัวยึดความรู้จากใจมาเป็นตัวเป็นตนซะทุกอย่างที่ผัสสะเนื่องด้วยความไม่รู้ความเป็นจริงตามธรรมชาต

แต่จิตที่มีปัญญาย่อมเข้าใจและเห็นธรรมดาของผัสสะ ย่อมไม่ยึดใจหรือผู้รู้นั้นว่ามาเป็นเรารู้ มาเป็นเราเป็นของเรา

ตามขั้นของปัญญาที่มี จิตย่อมอยู่ในสภาวะรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องเข้าไปรู้ แต่ก็รู้ของมันอย่างนั้นเอง

ตามนี้ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ ถ้าผิดประการใด กราบรบกวนพระอาจารย์ชี้แนะด้วยครับ

<< พระอาจารย์ : ผู้รู้นี้ไม่ใช่ใจครับ BigBen Fam

ผู้รู้นี่ เป็นอาการแห่งใจ ที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิด และผู้รู้นี้ ก็ไม่ใช่จิต จิต ไม่มีผู้รู้อยู่ในนั้น ที่กล่าวว่า จิตรู้นั้น เป็นอาการหนึ่งของใจ ที่เข้าไปย้อมตัวจิต

เรื่องพวกนี้ รู้ไปก็ปวดหัวเปล่า มันสงสัยกันจนตายไปข้าง ช่างแม่มันเถอะครับ ฟังหนุกๆ ก็พอ

>> ลูกศิษย์ : กราบขอบพระคุณสำหรับคำสอนครับพระอาจารย์ ผมลองพิจารณาอีกครั้ง ถ้าพูดในความหมายที่ว่า

ใจมันคือ การผัสสะของจิตที่ยังเคลือบด้วยอวิชชา ส่วนผู้รู้มันก็คืออาการของจิตที่ยังเคลือบด้วยอวิชชา จะถูกต้องมั้ยครับพระอาจารย

<< พระอาจารย์ : BigBen Fam จะกล่าวเช่นนั้นก็ได้

ในนิยามแห่งธรรม เราเข้าใจยังไง เราตั้งสมมุติใจ กล่าวออกมาได้หมด มันถูกอยู่แล้ว เพียงแค่ความถูกนั่น มันเป็นแค่ กาลใดกาลหนึ่งที่ถูกกาล

เมื่อใดที่เราแจ้งแทงตลอด นิยามแห่งธรรม ก็จะกล่าวได้ลงตัว กับกาลใดกาลหนึ่ง ที่เราต้องการแสดง

ตอนไม่แจ้ง ถูกทุกกาล เมื่อแจ้งแล้ว ผิดทุกกาล เพราะธรรมก็สมมุติ กาลก็สมมุติ เพียงแต่เราไม่รู้ว่า มันสมมุติยังไง

>> ลูกศิษย์ : จิตกับใจ  ไม่เคยสังเกตครับ  แต่พออ่านๆ ไปก็พอจะเข้าใจในมุมของผมนะครับ  ผัสสะแล้วแล้วรู้ในสมมุตินั้นว่าคือสิ่งนั้นสิ่งนี้  คือจิตเพราะดับแค่ผัสสะ

พิจารณาจนผัสสะนั้นดับลง  ยังไม่เลยไปเป็นเวทนา  จึงยังไม่เป็นเราหรือใจ  เห็นท้องฟ้าก็รู้ว่าท้องฟ้า

แต่ยังไม่มีเราหรือใจเกิดไปชอบในท้องฟ้านั้น  สรุปว่าเมื่อเราได้แสดงตัวเป็นเจ้าของหรือรู้นั้นคือใจครับ

ส่วนคอมเม้นแรกคืออ่านแล้วก็โพส์ตามความเข้าใจ  แต่เมื่อกี้ขับมอไซค์ไปรับนักเรียน  โอ้โห้  ใจของพระอาจารย์นี้  มันรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเราในภพนี้เลย

เพราะใจมันแสดงตัวทุกอย่างจิตมันอยู่เฉยๆ  เห็นความต่างในสมมุติ  ใจนี้มันหยาบจริงๆ ครับ

ขยะอย่างที่พระอาจารย์ว่าจริงๆ  ฮ่าๆๆ  จิตมันแอบอยู่ในใจเมื่อใจมันหยุดจิตจึงแสดงตัว  เกี่ยวเนื่องไปถึงวิมุติเลยครับ  โหพระอาจารย์เห็นได้ยังงัยครับนี้  กราบๆๆๆ

<< พระอาจารย์ : สุเทพ ขำสุวรรณ นี่ถ้าสุเทพ ปลีกจากอุปาทานทั้งหลาย ที่เป็นเครื่องร้อยรัด

สุเทพจะเป็นผู้ที่มีปัญญาวินิจฉัยธรรมได้สูงยิ่ง ถ้าไม่ยึดธรรมที่วินิจฉัย ว่าเจ้าของเป็นผู้รู้ธรรมที่วินิจฉัย

พุทธศาสนาก็จะมีผู้มีกำลังทางปัญญา อีกหนึ่งคน แม้จะรั่วๆ ซักหน่อยก็เหอะ

>> ลูกศิษย์ : ด้วยความสงสัยจากการที่พิจารณามา รบกวนสอบถามพระอาจารย์กับพี่สุเทพครับ

เท่าที่ผมศึกษาและฝึกปฏิบัติมา เมื่อเกิดผัสสะย่อมเกิดวิญญาณผ่านสัญญาย่อมเกิดเวทนา โดยอัตโนมัติ เราไม่สามารถห้ามกระบวนการนี้ได้

บางผัสสะอาจไม่ได้เห็นเป็นสุขขเวทนาหรือทุกขเวทนา แต่ก็ยังมีเวทนาที่เป็นอารมณ์เฉยๆ (อทุกขมสุข) เช่นกัน

แต่เราสามารถถอดถอนการยึดเวทนานั้น ได้ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ วางอุเบกขาต่ออารมณ์นั้น

จิตย่อมไม่เสวยเวทนานั้น แม้อารมณ์เฉยๆ เราก็ต้องมองมันให้เห็นและเข้าใจมันตามธรรมชาติแห่งพระไตรลักษณ์เช่นกัน

ดังนั้น คำว่าดับเวทนาที่พี่สุเทพกล่าวถึง  น่าจะหมายถึงการวางอุเบกขาต่อเวทนา ไม่นำจิตไปยึดเวทนามาเป็นตัวตน

อย่างที่ผมเข้าใจใช่หรือไม่ครับ รบกวนด้วยนะครับ ผมก็ครูพักลักจำ อาศัยอ่านแล้วมาปฏิบัติพิจารณาเอาเอง

ไม่มีครูอาจารย์คอยสอนให้คำแนะนำอย่างชัดเจนสักที เพิ่งจะมีมาได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ธรรมกะและญาติธรรมในเพจนี้แหละครับ ขอขอบคุณครับ

<< พระอาจารย์ : การวางอุเบกขานี้ มันมีสองอุเบกขา  BigBen Fam

อุเบกขาอย่างเราๆ มันเป็นอุเบกขาด้วย อำนาจแห่งความหลง ภาษาป่าๆ อย่างข้าก็คือ อุเบกขาอย่างควายๆ

ส่วนอุเบกขาในทางพุทธ เป็นอุเบกขาที่แก้ปม เหตุและผลลึกลงไปตามกำลังแห่งปัญญาที่มีแล้ว เรียกง่ายๆ ว่า การยอมรับ เหตุและผลด้วยปัญญา

ไม่ใช่ยอมรับด้วยความอับจนหนทาง หรือตัดความรำคาญ หรือยึดดียึดธรรมที่คิดว่า ไม่เป็นไร

อุเบกขานี้ ไม่ใช่ความไม่รู้สึกทุกข์ร้อนกับผัสสะ มาซิ..มานั่งฟังอธิบายสดๆ จากปากกันดีกว่า จิ้มทีละตัว โง่ทั้งคนจิ้มและคนอ่านว่ะ

อักษรมันขาดองค์ประกอบกาล

พระธรรมเทศนา จากบทธรรม เรื่อง ใจกับจิต……….เป็นอาการแห่งอวิชชา ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2557 โดย พระอาจารย์ธรรมกะ บุญญพลัง